ตลาดน้อย Guidebook เดินเมือง
0
กำลังได้รับความสนใจ
สถานที่น่าสนใจ 27 แห่ง

แผนที่

ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง ศาลเจ้าโรงเกือก
ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง ศาลเจ้าโรงเกือก ศาลเจ้าโรงเกือก หรือศาลเจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง อีกหนึ่งมุมที่ผสมผสานความเก่าแก่เข้ากับบรรยากาศริม แม่น้ำเจ้าพระยา ศาลเจ้าเก่าแก่ของคนจีนฮากกาที่สร้างขึ้น ศาลเจ้าโรงเกือก“ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัย ร. 5 ซึ่งมีอายุกว่าร้อยปีมาแล้ว ชาวฮากกา(จีนแคะ) ฮักกา หรือ ฮากกา ตามภาษา จีนแต่จิ๋วที่เรียกว่า แขะแก หมายถึง ครอบครัวผู้มาเยือน เป็นชาวจีนที่อพยพไปในถิ่นชาวจีนเชื้อสายอื่นๆ นั่นเอง จากข้อมูลบนป้ายศิลาภายในศาลเจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุงซึ่งบันทึก เมื่อรัชสมัยจักรพรรดิกวางสู ปีที่ 15 ตรงกับปี พ.ศ.2432 กล่าวว่า พ่อค้าชาวจีนฮากกา (จีนแคะ) ได้เชิญองค์เจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง จากเมืองจีนมาประดิษฐานบูชาในประเทศไทยเป็นเวลากว่า หนึ่งร้อยปีก่อนที่จะมีการสร้างศาลเจ้าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน#ชุมชนตลาดน้อย #ตลาดน้อยเจริญกรุง #วัดเก่าแก่
0
ศาลเจ้าเซียงกง
ศาลเจ้าเซียงกง เซียงกง ตลาดค้าขายเครื่องจักร เครื่องยนต์ และของใช้อื่นๆ ที่เกี่ยวกับเหล็ก ที่ตั้งอยู่ที่ถนนทรงวาด ใกล้กับวัดสำเพ็ง หรือวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร พระอารามหลวง ที่อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ ครองหัวใจคนที่แสวงหาอะไหล่รถยนต์ หรือเครื่องยนต์มือสองตลอดเวลา จนชื่อเซียงกงกลายเป็นเครื่องหมายแหล่งการค้าสินค้ามือ 2 ที่มีคุณภาพ ---------------- เซียงกง เป็นกลุ่มธุรกิจจำหน่ายอะไหล่ ชิ้นส่วนประกอบ และเครื่องยนต์สำหรับรถใช้แล้ว คำว่า เชียงกง เพี้ยนมาจากคำว่า เซียงกง อันเป็นชื่อของศาลเจ้าเซียงกงเอง ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนทรงวาดส่วนที่ติดกับถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ มหานคร เป็นชุมชนชาวจีน ในย่านนี้ถูกเรียกว่า เซียงกง ---------------- ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ชุมชนเซียงกงได้เริ่มทำธุรกิจเก็บของเก่า เช่น จักรยาน นำมาซ่อมปรับปรุง หรือแยกชิ้นส่วนออกไปจำหน่าย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ธุรกิจนี้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีรถที่ใช้ในสงครามปลดประจำการลงเป็นอันมาก แต่ธุรกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนต้องมีการนำเข้าอะไหล่จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอะไหล่ใช้แล้วมีบทบาทสำคัญในการผลิตรถต่างๆ เช่น รถสามล้อเครื่อง หรือรถตุ๊กตุ๊ก รถอีแต๋น ---------------- ศาลเจ้าเซียงกง สร้างขึ้นในสมัยเสียนฟง แห่งราชวงศ์ชิง เมื่อ พ.ศ. 2397 หรือ ค.ศ. 1854 และชาวฮกเกี้ยนได้นำรูปปั้นท่านมาประดิษฐานที่นี่ ส่วนอาคารศาลเจ้าที่ตั้งริมถนนทรงวาดได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายยุค ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยได้สร้างทีกง หรือลายมังกรสำเร็จ เป็นศาลเจ้าที่โอ่อ่าโดดเด่นแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
0
รถเฟียตโบราณ ตลาดน้อย
รถเฟียตโบราณ ตลาดน้อย หากทุกท่านได้มีโอกาสมาที่ตลาดน้อย หนึ่งในจุดถ่ายรูปที่เป็นแลนด์มาร์คสำคัญที่พลาดไม่ได้ นั่นก็คือ "รถโบราณ" ที่จอดอยู่ใกล้ๆกับบ้านโซว เฮง ไถ่ รับรองได้เลยครับว่าถ้าได้มาถ่ายรูป ณ จุดนี้เพื่ออัพโหลดลงโลกโซเชียลเเล้ว เพื่อนๆ จะรู้ได้ทันทีเลยครับว่าอยู่ที่ตลาดน้อยอย่างเเน่นอน แล้วเคยสงสัยกันไหมครับว่ารถคันนี้มาจอดอยู่ที่นี่ได้อย่างไร? วันนี้ @Point T Ridestore จะขออนุญาตไขข้อสงสัยนี้กันครับ... รถโบราณสีส้มแสนน่ารักคันนี้นั้นคือรถ Fiat 500 รถยนต์สัญชาติอิตาเลียน เจ้าของรางวัลสุดยอดการออกแบบ Compasso d'Oro ประจำปี 1959 ออกเเบบโดย Dante Giacosa วิศวกรเเละนักออกเเบบรถยนต์ชื่อกระฉ่อน ที่มีการผลิตในช่วงปี ค.ศ.1957-1975 หรือราวๆ 64 ปีที่เเล้ว หนึ่งในรถคลาสสิคในฝันของหลายๆท่าน โดยเจ้าของรถคันนี้นั่นคือคุณสมศักดื์ แห่งร้านสมศักดิ์คลัช ร้านจำหน่ายอะไหล่รถยนต์มือสองเก่าแก่คู่ชุมชนตลาดน้อยที่ได้มอบรถคันนี้ไว้ให้เป็นของชุมชน ผ่านกาลเวลากว่าสามสิบปี ความลงตัวระหว่างความคลาสสิคของตัวรถ ที่มีฉากหลังเป็นกำแพงบ้าน โซว เฮง ไถ่ คฤหาสน์จีนโบราณอายุกว่า 200 ปี นั้นช่างลงตัวเป็นอย่างยิ่ง @Point T Ridestore และชาวชุมชนตลาดน้อยต้องขอขอบพระคุณอาเฮียสมศักดิ์ไว้ ณ โอกาสนี้อีกครั้งหนึ่งครับที่กรุณามอบรถ Fiat 500 คันนี้ไว้ให้เป็นอีกหนึ่งสถานที่ต้องห้าม(พลาด) ของเหล่านักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือนตลาดน้อยครับ @Point T Ridestore บริการให้เช่า สกูตเตอร์ไฟฟ้า E-Scooter เพื่อเป็นเครื่องมือการท่องเที่ยวชุมชนตลาดน้อย ยุคใหม่ เป็นมิตรกับชุมชนมากๆ พบกับโปรโมชั่น เช่าสกูตเตอร์ไฟฟ้าเพื่อการท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพฯ เเละต่างจังหวัด ในราคา 1 วัน 200 บาท 3 วัน 500 บาท 5 วัน 800 บาท 7 วัน 1000 บาท สามารถรับรถได้ที่ @Point T Ridestore ตลาดน้อยหรือ บริการจัดส่งได้ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ในกรณีใช้รถ 3 วันขึ้นไป โดยมีค่ายริการจัดส่งตามระยะทางจริงผ่าน application Grab เช่าง่ายๆ เพียงใช้บัตรประชาชน 1 ใบ (หรือมีบัตรนักเรัยนนักศึกษารับส่วนลดพิเศษ 10%) และกรอกเอกสารสัญญาเช่าก็สามารถรับรถพร้อมแผนที่ท่องเที่ยวภายในชุมชนตลาดน้อยได้เลย... ทัก IB ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม... โทรศัพท์และ ID LINE 0839794878 Point T ตลาดน้อย ... Feel like you never before ข้อมูลจากเพจ Point T Ride Store
0
ศาลเจ้าโจวซือกง (วัดซุนเล่งยี่)
ศาลเจ้าโจวซือกง (วัดซุนเล่งยี่) ศาลเจ้าโจวซือกง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อายุ 200 ปี ย่านตลาดน้อย ที่เหมาะแก่การมากราบไหว้ ขอพร ในเรื่องโชคลาภ สุขภาพ ไม่เจ็บป่วย แข็งแรงตลอดทั้งปี อีกทั้งยังสามารถชมความสวยงามของศาลเจ้าได้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของศาลเจ้าโจวซือ เป็นแบบปลายราชวงศ์ชิง (ค.ศ.๑๕๘๙-๑๙๑๑) เดิมสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นก่ออิฐผสมไม้ แม้จะมีการซ่อมแซมหลายครั้งแต่ก็คงแบบอย่างเดิมไว้ได้อย่างดี หลังคาศาลเจ้าเป็นแบบซานเหมินติ่ง บริเวณบนสุดบนสันหลังคาประดับด้วยมังกรคู่ชูลูกแก้ว และหงส์คู่ชูดอกโบตั๋น มีการเปิดช่องหลังคาทั้งสองข้างให้เป็นพื้นที่โล่ง เพื่อให้แสงแดดส่องและลมเย็นเข้ามาในศาลเจ้า ประตูอาคารหลักมีสามประตู แตกต่างจากศาลเจ้าจีนแต้จิ๋วในพื้นที่เยาวราชทั่วไป ศาลเจ้าโจวซือกง เป็นศาลเจ้าที่มีเทพเจ้ามากมายให้มากราบไหว้ ขอพร ได้แก่ เทพเจ้าโจวซือกง พระหมอโจวซือกง มีใบหน้าสีน้ำตาลเข้ม เป็นเทพประธานประจำกลุ่มฮกเกี้ยน ซึ่งคนใหญ่นิยมมาขอพรสามอย่างคือ "สุขภาพ อยู่เย็นเป็นสุข โชคลาภ" ตามคติความเชื่อแบบจีน การกราบไหว้เทพในศาลเจ้า สามารถขอพรได้เลย ไม่จำเป็นต้องบนบาล โดยจะจำแนกเป็นเรื่องๆ ไป พระหมอโจวซือกง เป็นเทพที่มีตัวตนเกิดในสมัยราชวงศ์ซ่ง เมื่อท่านอุปสมบทเป็นสามเณร ได้ธุดงค์และถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อหมิงกงฉานซือ รักษาผู้เจ็บป่วยทุกข์ยาก และเผยแพร่ธรรมะ ชื่อเสียงของท่านเป็นที่กล่าวขานว่าที่ใดประสบภัยพิบัติ นิมนต์ท่านช่วยปัดเป่าขจัดภัยต่างๆได้ พระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ผู้ทรงนำมาซึ่ง ความอุดมสมบูรณ์ โชค ลาภ นั้น เชื่อว่า ผู้ใดบูชา ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ปัญญา ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรือง ด้านหลังประดิษฐานพระประธาน 3 องค์ คือ พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระอมิตาภพุทธเจ้า และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในอดีต เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ ผู้ทรงมีพระเมตตากราบไหว้ขอพรใดๆ หากตั้งมั่นในความดี ต่างก็สำเร็จทุกประการ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ใครที่บนบานศาลกล่าวสิ่งใด ต่างก็สำเร็จสมหวังไปตาม ๆ กัน ด้านข้างๆ เป็นองค์ไฉซิ้งเอี้ย เป็นเทพเจ้าของจีนที่ให้คุณทางด้านเงินทอง และโชคลาภ (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) อีกทั้งยังมีเจ้าพ่อกวนอู เจ้าพ่อเสือ เทพเจ้า 36 องค์ เทพเจ้าฟ้าดิน ตี่จู้เอียะ ฯลฯ ให้ได้มากราบไหว้กัน ศาลเจ้าโจวซือกง (วัดซุนเล่งยี่) เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ของชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตลาดน้อย อายุกว่า 200 ปี สร้างในปี พ.ศ.2347 สมัยรัชกาลที่1 โดยเศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยน ที่เข้ามาพึ่งพิงพระบรมโพธิสมภารเปิดโรงเผาถ่าน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านตลาดน้อย ตอนนั้นเขานำเทพเจ้าที่นับถือมาจากเมืองจีน จึงได้ตั้งศาลเจ้าให้ท่านประทับ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าโจวซือกง และเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือ
0
พิพิธตลาดน้อย (Talad Noi Museum)
พิพิธตลาดน้อย (Talad Noi Museum) “ตลาดน้อย” หรือ “ตะลักเกี้ยะ” เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นตลาดใหม่ที่ขยายพื้นที่มาจากตลาดสำเพ็ง ชาวจีนฮกเกี้ยนหรือจีนแคะเป็นชนกลุ่มแรกๆ ที่เริ่มเข้ามาตั้งรกรากกันในแถบนี้ ---------------- ตลาดน้อย “บ้านเกิด”ของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ โดยเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากย่านเยาวราชอันเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานของกรุงเทพมหานครเป็นส่วนหนึ่งของอู่อารยธรรม (Natural Feature) ที่สะท้อนการตั้งถิ่นฐานในยุคเริ่มต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยายาวต่อเนื่องถึง 750 เมตร ---------------- “สวนศิลป์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์” หรือ “พิพิธภัณฑ์ชุมชนตลาดน้อย” เป็นพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ล่าสุด อดีตโรงกลึงเก่าที่ขณะนี้กลายเป็นอาคารกระจกสะท้อนร่มเงาสีเขียวชอุ่มของไม้ใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในอนาคตพื้นที่ตรงนี้จะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์และพื้นที่ชุมชนเอาไว้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ให้ชุมชนตลาดน้อยไม่เงียบเหงา ---------------- สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ ริเริ่มโครงการนี้ ร่วมกับกรมธนารักษ์และชาวชุมชนตลาดน้อย ด้วยตระหนักในคุณค่าและศักยภาพของพื้นที่ตลาดน้อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์โครงการนำร่องในการสร้างการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ ปิด บริเวณโรงกลึงเก่าให้พื้นที่สีเขียวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เกิดประโยชน์กับสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ---------------- สร้างสรรค์พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่ ปิด บริเวณโรงกลึงเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้เกิดเป็นพื้นที่ เปิด เพื่อการออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจ การพบปะพูดคุยและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวชุมชนตลาดน้อย และสาธารณะ ---------------- พิพิธภัณฑ์ชุมชนตลาดน้อย พื้นที่เผยแพร่เรื่องราวของชุมชนตลาดน้อยชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา “ย่านเชียงกง” ทำการค้าขายอะไหล่และเครื่องยนต์เก่าที่มีประวัติศาตร์มายาวนานมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ริเริ่มด้วยคนจีนที่มาตั้งรกรากในประเทศไทย ของดีของชุมชนตลาดน้อย เรื่องราวที่เป็นความภูมิใจ และแสดงชีวประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครูแห่ง ความจริง ความงาม และ ความดี แบบอย่างของสามัญชนที่ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติและส่วนรวม และบุคคลสำคัญของตลาดน้อยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของคนในชุมชน นักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป
0
ท่าน้ำภาณุรังษี
ท่าน้ำภาณุรังษี ท่าเรือภาณุรังษี ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ชุมชนตลาดน้อย มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สะท้อนการตั้งถิ่นฐานของยุคเริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กรมเจ้าท่าได้เห็นความสำคัญ จึงพัฒนารูปลักษณ์ท่าเรือภาณุรังษีขึ้นใหม่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ณ ท่าน้ำภาณุรังษี ตลาดน้อย จุดยืนเดียวกันแค่หันซ้ายและหันขวา ความสวยยามพระอาทิตย์ตกดิน มีความต่างกัน แต่เป็นจุดชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงามที่สุดเพราะเหมือนเราอยู่กลางลำน้ำ ----------------จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช องค์ต้นราชสกุล”ภาณุพันธุ์” พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๐๒ บุคคลทั่วไปออกพระนามเรียก “สมเด็จวังบูรพา” ด้วยเพราะทรงมีวังที่ประทับคือ”วังบูรพาภิรมย์” (ย่านวังบูรพาในปัจจุบัน) ทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชร่วมพระครรโภทรเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระกรณียกิจสำคัญ ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ไทย และทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย
0
Liverpool Mural (กราฟิตี้)
Liverpool Mural (กราฟิตี้) สุดยอดกราฟฟิตี้ตำนานนักเตะ ลิเวอร์พูล ฝีมือนักศึกษาไทย ที่ถูกวาดบนกำแพง ซอย เจริญกรุง 33 นำโดย เจสัน แม็คเคเทียร์, ร็อบบี ฟาวเลอร์, ซามี ฮูเปีย, หลุยส์ การ์เซีย, โฆเซ เอ็นริเก ปิดท้ายด้วย กัปตันทีม คนปัจจุบัน อย่าง จอร์แดน เฮนเดอร์สัน... ‘เต็มดวง ซึ้งกมลพิสุทธิ์’ เจ้าของร้าน พรชัย อ๊อกซิเยน ได้เล่าให้ฟังว่า “ก่อนหน้านี้ มีน้องๆ ศิลปากร 4-5 คน เดินเข้ามาขออนุญาต ว่าจะขอวาดกำแพง ซึ่งน้องนักศึกษากลุ่มนี้หาพื้นที่มาแล้วกว่า 1 เดือน เราก็เลยถามว่า จะวาดรูปอะไร เขาก็บอกนักฟุตบอล ส่วนตัวไม่ได้ติดตามข่าวกีฬาสักเท่าไหร่ แต่เราเห็นความตั้งใจของน้องๆ จึงอนุญาต แล้วก็ไปขอเจ้าของบ้านอีกหลังนึงให้ ขอแค่อย่าเก็บเงินคนที่มาถ่ายรูปก็พอ”...
0
บ้านโซวเฮงไถ่
บ้านโซวเฮงไถ่ โซวเฮงไถ่ หรือ บ้านดวงตะวัน คฤหาสน์เก่าแก่ ที่มีอายุกว่า 220 ปี คฤหาสน์สร้างตามสถาปัตยกรรมแบบฮกเกี้ยนแต้จิ๋ว วางผังบ้านแบบคหบดีที่มั่งคั่งในสมัยนั้น ที่เรียกว่า 4 เรือนล้อมลาน ลักษณะลาน จะเป็นลานหินกว้างตรงกลาง ล้อมรอบไปด้วยอาคาร 4 ด้าน ด้านหน้าเป็นซุ้มประตูสีแดงโดดเด่น คฤหาสน์มี 2 ชั้น พื้นชานยกระดับตามแบบฉบับของเรือนไทยโบราณ พื้นบ้านเป็นไม้สักทองทั้งหลัง ปัจจุบันพื้นที่ตรงลานโล่งชั้นล่าง ถูกปรับให้เป็นสระว่ายน้ำ เพื่อสอนดำน้ำ และมุมหนึ่งยังทำเป็นฟาร์มเพาะพันธุ์สุนัขบีเกิลขาย "ภู่ศักดิ์ โปษยะจินดา" เจ้าของบ้าน บอกเล่ากับ ไทยรัฐออนไลน์ ว่า ทุกวันนี้ บ้านโซวเฮงไถ่ เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทย ชาวต่างชาติ คนจีน ก็พากันมาดูบ้านหลังนี้ ซึ่งก็แปลกใจอย่างมาก แต่ก็รู้สึกดีใจที่มีคนเห็นคุณค่าในสถาปัตยกรรมโบราณ และเราก็เปิดให้ทุกคน มาเที่ยวชมบ้านได้
0
วัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์
วัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์ ‘วัดแม่พระลูกประคำ’ วัดคาทอลิกเคียงคู่กรุงรัตนโกสินทร์ วัดกาลหว่าร์คือวัดของชาวคริสต์โปรตุเกสที่ไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของประมุขมิสซังสยามชาวฝรั่งเศส พวกเขาแยกตัวออกมาจากวัดซางตาครู้ส ก่อนที่รัชกาลที่ 1 จะพระราชทานที่ดินสำหรับสร้างวัดของพวกเขาเอง คำว่า ‘กาลหว่าร์’ มีที่มาจากคำว่า Calvary ซึ่งเป็นเนินเขาที่เชื่อว่าเป็นสถานที่ตรึงกางเขนพระเยซู วัดกาลหว่าร์หลังแรกสร้างขึ้นในปี 2330 ก่อนที่จะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘วัดแม่พระลูกประคำ’ ในปี 2382 วัดแห่งนี้จึงอาจถือได้ว่าเป็นวัดคาทอลิกแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ https://themomentum.co/holy-rosary-church/
0
สะพานนี้จงสวัสดี
สะพานนี้จงสวัสดี สะพานจงสวัสดี เมื่อ ๔๓-๔๖ ปีก่อนบริเวณพื้นที่ตลาดสวัสดีเป็นของกรมธนารักษ์ ตั้งแต่ซอยโชฎึกถึงกำแพงศาลเจ้าไท่ฮั้วเป็นโรงน้ำแข็งทั้งหมด ภรรยาคุณเสงี่ยม ฮุนตระกูล เป็นเจ้าของตลาดเปิดโรงน้ำแข็งโหงวฮั้ว เป็นโรงน้ำแข็งที่ใหญ่มาก ไม่มีโรงน้ำแข็งอื่นอยู่ติดแถบนี้ด้วย แต่โรงน้ำแข็งนายเลิศจะตั้งอยู่อีกด้านหนึ่งของสะพานพิทยเสถียร ตรงโรงน้ำแข็งเก่ามีสะพานไม้ใหญ่ เพราะมีรถ ๖ ล้อแล่นเข้า-ออก เพื่อส่งน้ำแข็ง เลยสะพานไม้เล็กน้อยจะมีบันไดไม้ขึ้นลงจากคลองผดุงกรุงเกษมยังปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้ ถ้าเข้าไปจะเป็นโรงถ่านที่เตรียมนำมาลงเรือในคลองผดุงกรุงเกษม ส่วนโรงถ่านที่ขึ้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ตลาดน้อย และสามารถทะลุไปยังซอยโชฎึกได้ นายเชิด(คนทำงานโรงถ่าน)มาขึ้นถ่านที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม อายุรุ่นคราวเดียวคุณวิเชียร กมลงามพิพัฒน์ ประธานชุมชนสวัสดี สมัยก่อนตลาดสวัสดีคึกคักมากเหมือนแพ้ตลาดมหานาค แม้แต่ตลาดน้อยยังสู้ไม่ได้ เพราะตลาดสวัสดีเป็นตลาดขายส่ง โปริสภามีสะพานปูนไม่สูง ลงมาเป็นสะพานไม้ที่๑ ลงมาอีกเป็นสะพานปูนสวัสดีเล็กน้อย สะพานไม้สวัสดีที่จะวิ่งเข้าสลัม สมัยก่อนคลองผดุงกรุงเกษมน้ำไหลขึ้นลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้สะดวกทั้งด้านริเวอร์ซิตี้และเทเวศน์ และสะพานไม้แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง เช่น ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เรื่อง“เต้าฮวยไล้เหลี่ยว” ของ กำธร ทัพคัลไลย กำกับ ฉากที่ สมบัติ เมทะนี หาบเต้าฮวยเดินขึ้นสะพานไม้แห่งนี้ที่ทั้งผุทั้งจะพัง ดูน่าสงสารมาก แต่ก่อนเรือบรรทุกสินค้าจากมีนบุรี สวนในย่านฝั่งธน ตลาดมหานาค เข้ามาสู่คลองผดุงกรุงเกษมเยอะมาก เพราะมีสะพานสูงสามารถเข้าได้หมด ปี พ.ศ.๒๕๐๓ สร้างสะพานปูนนี้จงสวัสดีสูงชัน สมัยนั้นรถยนต์แล่นมาจากบางรักต้องมาขึ้นสะพานพิทยเสถียร เพื่อแล่นเข้าสู่ตลาดน้อย ไปเยาวราชหรือย่านถิ่นบางกอก ส่วนรถยนต์ที่แล่นมาจากเยาวราชต้องแล่นขึ้นสะพานสวัสดีที่สูงชัน เพื่อไปบางรัก วันเลวคืนร้าย รถยนต์เกิดเบรกแตก หรือคนขับหลับใน รถแล่นเข้าในร้านค้าที่อยู่เชิงสะพานฝั่งวัดมหาพฤฒาราม สินค้าในร้านพังพินาศเสียหายมากมาย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า“สวัสดี” บางแหล่งข่าวก็ว่า นายสวัสดิ์ เหตระกูล เจ้าของโรงพิมพ์ประชาช่างมีส่วนออกทุนทรัพย์ จึงได้ตั้งชื่อเป็นเกียรติไว้เป็นอนุสรณ์ สมัยนั้นรถเมล์ประจำทางเก็บค่าโดยสารคนละ ๗๕ สตางค์ รถเมล์จะต้องเกิดอุบัติเหตุแล่นเข้าร้านค้าเชิงสะพานบ่อยมาก อย่างน้อยก็ปีละครั้ง มากหน่อยก็เดือนเว้นเดือน บางทีเกิดขึ้นทุกเดือนหรือเดือนละสองครั้งก็เคยเห็น หลัง พ.ศ.๒๕๑๕ จึงรื้อสะพานนี้จงสวัสดี พ.ศ.๒๕๒๐ สร้างสะพานให้เป็นพื้นราบติดถนน เมื่อสะพานนี้จงสวัสดียุบ รถยนต์เปลี่ยนทิศไปแล่นข้ามสะพานโปริสภา ฮวงจุ้ยตลาดสวัสดีก็เริ่มเปลี่ยน กิจการก็เริ่มซบเซา อาจจะเกิดจากห้ามรถเมล์วิ่ง ผู้คนก็เลยไม่ค่อยเดินผ่าน จนกลายสถานที่นอกสายตา ปัจจุบันร้านขายผลไม้สำหรับงานมงคลสมรสก็ยังเหลืออยู่สองเจ้า ร้านเฮียจั๊วเสียชีวิตไปแล้ว เป็นร้านเก่าแก่ที่สุด ทุกวันนี้ลูกหลานก็ดำเนินกิจการต่อสามสามชั่วคนแล้ว ร้านดอกไม้ก็มีเป็นร้านยายเยย เสียชีวิตตอนอายุ ๘๐-๙๐ ปี ปัจจุบันลูกหลานรับช่วงต่อจากยายเยย สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น เมื่อมีเขื่อนระบาย(โรงกรองน้ำ)กั้นทุกอย่างก็จบสิ้น วัตถุประสงค์การสร้างเขื่อนระบาย(โรงกรองน้ำ)นี้ เพื่อให้พื้นที่บริเวณคลองผดุงกรุงเกษมน้ำไม่ท่วม แต่พอปิดก็ไม่มีเรือวิ่ง น้ำในคลองผดุงกรุงเกษมก็มีแต่น้ำในเขตพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในระบายลงมา จุดนี้คลองผดุงกรุงเกษมรองรับน้ำ แล้วก็ระบายออกอย่างเดียว ทำให้น้ำในคลองผดุงกรุงเกษมดูความสะอาดไม่เจอ สมัยก่อนนอกจากพื้นที่ตลาดสวัสดี นอกนั้นมีรั้วสังกะสีกั้นหมด แถวนี้มีสำนักพิมพ์ดาวสยาม โรงพิมพ์ตงฮั้ว ประชาช่าง(นสพ.เดลินิวส์เดิม) มีอยู่ช่วงหนึ่งประมูลพิมพ์แบบเรียนชั้นประถมเกือบทั้งหมด ของกระทรวงศึกษาการได้ แต่ต่อมาอาจจะประมูลไม่ได้ ตัวเลขไม่มี หนังสือแบบเรียน ก.ไก่ ข.ไข่ เริ่มล้าสมัย จึงไม่มีหนังสือหลักเลี้ยงชีพ ในที่สุดต้องเลิกกิจการไปเอง แล้วก็ดาวสยาม ในซอยยังมีโรงพิมพ์เล็กๆอีก ๑ แห่งอีก พิมพ์สมุดขาย นสพ.ดาวสยาม มาตั้งอยู่ที่นี้เพียง ๓ ปี เพราะครั้งแรกขอเป็นตั้งเป็นสำนักงาน แต่ได้แอบเอาเครื่องพิมพ์เข้ามาตั้ง พอตกกลางคืนพิมพ์หนังสือพิมพ์ดังสนั่นหวั่นไหว ชาวบ้านเดือดร้อนไม่เป็นอันหลับนอน จึงได้มีการฟ้องร้องกัน ในที่สุดก็ต้องถอยออกไปตามระเบียบ
0
วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวน ตลาดน้อย)
วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวน ตลาดน้อย) ประวัติความเป็นมา ภูมิหลังของวัดญวนในประเทศไทยพอจะประมาณได้ว่า เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากมีการตั้งหลักแหล่งของชาวญวน ที่อพยพลี้ภัยสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยธนบุรี เมื่อมีการตั้งวัดญวนขึ้น ก็ได้นิมนต์พระสงฆ์ ซึ่งบวชมาจากประเทศญวนมาประจำในประเทศไทย อุโบสถ วัดอุภัยราชบำรุง ตลาดน้อย กรุงเทพฯ อุโบสถ วัดอุภัยราชบำรุง ตลาดน้อย กรุงเทพฯ คณะสงฆ์ญวนชุดแรกๆ มีพระผู้ใหญ่ ที่สำคัญ ๒ องค์ คือ พระครูคณาณัมสมณาจารย์ (ฮึง) และพระครูสมณานัมสมณาจารย์ (เหยี่ยวกร่าม) เป็นผู้นำของคณะสงฆ์อนัมนิกาย ในประเทศไทย ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ คณะสงฆ์ญวนในประเทศไทย ได้ขาดการติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวน และได้กลับมาติดต่อสัมพันธ์กันอีกครั้ง ในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ในสมัยนั้น มีพระสงฆ์ญวนเข้ามาในประเทศไทยอีก แต่เนื่องจากขณะนั้นญวนตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยไม่สามารถติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวนได้สะดวกนัก พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบประเพณี และวัตรปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับพระสงฆ์ไทยหลายประการ เช่น การออกบิณฑบาต การทำวัตรเช้าและเย็น การถือวิกาลโภชนา และการผนวกพิธีกรรมฝ่ายเถรวาท เช่น การมีพิธีทอดกฐิน และทอดผ้าป่า พิธีบวช พิธีเข้าพรรษา อุโบสถวัดอุภัยราชบำรุงหลังเก่า อุโบสถวัดอุภัยราชบำรุงหลังเก่า วัดญวนในประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นก่อนวัดจีน ในรัชกาลที่ ๓ ระหว่างที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงพระผนวชอยู่ ทรงสนพระทัย ในลัทธิประเพณี และการปฏิบัติของพระสงฆ์ฝ่ายมหายาน ซึ่งในขณะนั้น พระสงฆ์ฝ่ายมหายานมีแต่ฝ่ายอนัมนิกายยังไม่มีฝ่ายจีนนิกาย จึงโปรดให้นิมนต์ องฮึง เจ้าอาวาสวัดญวนตลาดน้อยในขณะนั้นมาเข้าเฝ้า ซึ่งทรงถูกพระราชอัธยาศัยเป็นอย่างดี เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกาย เข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และอยู่ในสถานะดังกล่าวเรื่อยมา แม้จะมีการผลัดเปลี่ยนรัชกาลมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงแรกที่วัดญวนได้เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร วัดญวนแห่งแรกๆ เช่น วัดญวนตลาดน้อย ก็ได้รับพระราชทานเงินช่วยเหลือในการปฏิสังขรณ์ และยังโปรดเกล้าฯ ให้พระสงฆ์ญวนเข้าเฝ้าเป็นประจำ รวมทั้งให้มีพิธีกรรมตามความเชื่อของฝ่ายอนัมนิกาย ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงปฏิบัติตามแบบอย่างสมเด็จพระบรมชนกนาถ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ การอุปถัมภ์ และการปฏิสังขรณ์วัดญวน โดยพระราชทานเงินช่วยเหลือ ในการปฏิสังขรณ์วัดญวนตลาดน้อยอีกครั้ง และได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดอุภัยราชบำรุง คำว่า "อุภัย" แปลว่า สอง แสดงให้เห็นถึงความหมายว่า เป็นวัดที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ จากพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ขององฮึง เจ้าอาวาสวัด เป็นที่ "พระครูคณานัมสมณาจารย์" เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอนัมนิกาย ในประเทศไทย ต่อมายังได้พระราชทานนามวัดญวน และวัดจีนอื่นๆ อีกหลายวัดด้วย
0
River City Bangkok
River City Bangkok ศูนย์รวมศิลปะและแอนทีคของนักสะสม ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก เป็นศูนย์รวมศิลปะและแอนทีค ที่เหล่าอาร์ตเลิฟเวอร์สและนักสะสม สามารถมาสำรวจแกลเลอรี ชมนิทรรศการระดับนานาชาติ พบปะกับศิลปิน เข้าร่วมการสนทนา ชมภาพยนตร์ ประมูลชิ้นงานแอนทีค เพลิดเพลินไปกับดนตรี หรือ เรียนรู้ถึงคุณค่าของงานศิลปะไทยร่วมสมัย ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2527 โดยการร่วมทุนระหว่างกลุ่มอิตัลไทย และกลุ่มแมนดาริน โอเรียนเต็ล เป็นศูนย์การค้าแห่งแรกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อยู่ใกล้กับโรงแรมชั้นนำ ระดับห้าดาว เช่น โอเรียลเต็ล, เพนนินซูลา, แชงกรีลา, รอยัลออคิด เชอราตัน และ มิลเลนเนียม ฮิลตัน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาได้ทั้งทางรถและทางเรือ ริเวอร์ซิตี้เป็นอาคาร 4 ชั้น ออกแบบโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา เป็นอาคารที่ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ด้านการออกแบบในปี พ.ศ. 2527 และมีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มท่าเรือขึ้นอีก 1 ท่า จากนั้นปี พ.ศ. 2543 ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ได้เพิ่มบริเวณ Antique Arcade บริเวณชั้น 1 อาคารจอดรถ เป็นศูนย์รวมร้านค้าแอนทีค ภายในศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ ชั้น 1 ประกอบด้วยร้านจำหน่ายของที่ระลึกจากทั่วภูมิภาคของไทย, ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม, เครื่องหนัง, เครื่องประดับอัญมณี, ร้านตัดเสื้อผ้า สูท บูติก ทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี พร้อมอาหารรสเลิศ ร่วมชมการแสดงนาฏศิลป์จากร้านศาลาไทย และร้านอาหารฝรั่งเศสและเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ลา กรองซ์ แปร์ และบริเวณแกรนด์ฮอลล์ สำหรับจัดกิจกรรมตามเทศกาลต่าง ๆ ชั้น 2 ประกอบด้วยร้านค้าจำหน่ายผ้าไหม, เครื่องหนัง, เครื่องประดับอัญมณี, เครื่องเบญจรงค์, ร้านตัดเสื้อ, ร้านเสริมสวยสำหรับสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี รวมทั้งร้านอาหารบาร์บีคิว คอร์เนอร์ เปิดให้บริการ ชั้น 2 ทั้งมื้อกลางวันและมื้อค่ำ ชั้น 3 และชั้น 4 ประกอบด้วยร้านค้าด้านศิลปวัตถุที่รวบรวมศิลปวัตถุจากทั่วมุมโลก ทั้ง ศิลปะจีน, ศิลปะไทย และศิลปะยุโรป รวมทั้งของแต่งบ้านสไตล์แอนทีค กว่า 80 ร้าน และห้องนิทรรศการ ที่ใช้จัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินแนวหน้า โดยจัดสลับหมุนเวียนไปตลอดทั้งปี นอกจากนี้ทุกวันเสาร์แรกของเดือน โดยการบริหารงานของบริษัท รีเวอร์ไซค์ อ๊อคชั่น เฮ้าส์ จำกัด ได้จัดให้มีการประมูลศิลปะและโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่า ณ บริเวณห้องประมูล ชั้น 4 ซึ่งเป็นการประมูลต่อเนื่องมาตลอดระยะที่เปิดดำเนินการมากว่า 20 ปี นับได้ว่าเป็นผู้ดำเนินการประมูลที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด
0
อาคารเก่า ซอยแฟลตทรัพย์สิน ตรอกผีดิบ
อาคารเก่า ซอยแฟลตทรัพย์สิน ตรอกผีดิบ ตรอกผีดิบ(ซอยแฟลตทรัพย์สิน) ในอดีตที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสัมพันธวงศ์อยู่ในวัดสัมพันธวงศ์(วัดเกาะ) โดยต้องมีสถานตำรวจนครบาลสัมพันธวงศ์(สถานตำรวจนครบาลพลับพลาไชย เขต ๒ ทุกวันนี้)อยู่ติดกับ เวลาออกปฏิบัติงานต้องไปด้วยกันทั้งคู่ ข้าราชการตำรวจเป็นฝ่ายจับกุม ส่วนข้าราชการอำเภอเป็นฝ่ายสอบสวน สำหรับท้องที่ของโรงพักวัดเกาะนั้น แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่มีคนอยู่อย่างอึกทึก มีโรงมหรสพ มีโรงแรม มีภัตตาคาร มีร้านอาหาร มีโรงยาฝิ่น มีสถานที่เล่นการพนัน มีสถานที่บริการทางกามารมณ์ มีผู้คนไปมาตลอดคืนตลอดวัน มีเสียงดังตลอดเวลา ส่วนนี้ก็คือในย่านถนนเยาวราชไปจนถึงถนนปทุมคงคา อีกส่วนหนึ่งคือ ในส่วนของตลาดน้อย เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ประกอบอาชีพต่างๆที่ไม่ค่อยมีเสียง เมื่อหมดเวลาแล้วก็เงียบสงบ ปราศจากเสียงดังรบกวน มีวัดพระพุทธศาสนาก็คือ วัดปทุมคงคา(วัดสำเพ็ง) วัดคริสต์ คือ วัดกาลหว่าร์(วัดแม่พระลูกประคำ) โรงเรียนมัธยมมีโรงเรียนวัดปทุมคงคา ดังนั้นการตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยของตำรวจ จึงต้องหนักมาในทางส่วนมาก โรงพักวัดเกาะก็ตั้งอยู่ในส่วนที่อึกทึกนี้ ในส่วนนี้ถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบก็น้อย ถนนเยาวราชที่จะต้องดูแลก็มีตั้งแต่ตรอกกระทะไปถึงหน้าโรงภาพยนตร์โอเดียน นอกนั้นก็มี ถนนทรงวาด ถนนทรงสวัสดิ์ ถนนพาดสาย ถนนเซียงกง ถนนปทุมคงคา แต่ละถนนก็ยาวไม่เกิน ๕๐๐ เมตร ยานพาหนะที่แล่นไปมาประจำก็มีแต่รถราง สมัยนั้นรถมีไม่มากนัก คนเดินถนนก็ไม่ต้องระวังรถมากนัก รถจักรยานสามล้อพึ่งจะเกิด ยังมีไม่มาก ส่วนรถลากที่คนจีนลากก็เริ่มหายไปเรื่อยๆ โรงยาฝิ่นหรือสถานที่ซึ่งจัดไว้สำหรับให้คนที่ติดยาสูบฝิ่นในท้องที่ของโรงพักวัดเกาะมีสามแห่ง คือที่ถนนพาดสายหนึ่งแห่ง ที่ตรอกน่ำแช(ใกล้กับโรงภาพยนตร์เทฌกซัส)หนึ่งแห่ง และอีกแห่งหนึ่งที่ตลาดน้อย ผู้คนที่ติดฝิ่นเมื่อต้องการที่จะสูบฝิ่นก็ไปหาซื้อและสูบได้ ณ สถานที่สามแห่งนี้ โรงฝิ่นจึงเป็นสถานที่รวมผู้คนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีทั้งคนดีและคนร้าย จะมีคนในท้องที่ คนจรมาจากที่อื่น ข่าวดี ข่าวไม่ดี จึงมักจะได้ทราบจากโรงยาฝิ่น ในสมัยนั้นการเป็นคนสูบยาฝิ่นติด ถือกันว่าเป็นคนไม่ดี ไม่น่าคบหาสมาคม เป็นที่รังเกียจของสังคม แต่ก็ไม่ทั่วไป คนมีเงิน คนมีฐานะที่ติดฝิ่นยังมีอยู่ก็เข้าสังคมได้ ยังมีคนนับหน้าถือตาอยู่ ทางราชการเริ่มจะรังเกียจคนสูบฝิ่นแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ห้ามเด็ดขาดว่า แต่ถ้าข้าราชการคนใดติดฝิ่นจะต้องถูกออกจากราชการไป โรงยาฝิ่นลักษณะเหมือนอาคารหรือโรงเรียน มองดูทึมๆเหมือน“ซ่อง”อะไรสักอย่าง แสงสว่างมีไม่มากนัก ภายในแบ่งเป็นห้องเล็กๆ ค่อนข้างแคบ บรรจุคนได้ไม่เกิน ๔-๕ คน ยกแคร่สูงแค่หัวเข่า บนแคร่ปูเสื่อผิวไผ่ มีหมอนหิน(ทำด้วยกระเบื้อง) รูปสามเหลี่ยม ขนาดพอรองต้นคอ บ้องสูบยาฝิ่น ตะเกียงน้ำมันมะพร้าวชนิดหลอดหนา อัฐบริขารการสูบฝิ่น แผ่นใบลานขนาดเล็กปลายฝ่ามือ ๒-๓ ชิ้น เหล็กแหลมเรียวรูปร่างคล้ายเข็มโคร์เชต์ยาวราว ๑ คืบ เรียกว่า ไม้ตะเกียะ ใช้เขี่ยคลึงขณะย่างลนฝิ่นหรือใช้ทุ่มหรือเจาะเม็ดฝิ่น แล้วก็ยังมีกา ถาดถ้วยน้ำชาจีน กระเบื้องเล็กๆอีกชุดหนึ่ง ฝาหนังห้องมีตะขอแขวนเสื้อกางเกง ขณะสูบฝิ่นต้องถอดเสื้อกางเกง เหลือแต่กางเกงในหรือเสื้อกล้ามตัวเดียว ข้าวของในห้องสูบฝิ่น ล้วนแต่เก่าโบราณ นักเลงยาฝิ่นถือกันว่ายิ่งเก่าเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูขลังศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเท่านั้น ตอนนั้นกฎหมายอนุญาตสูบฝิ่น จัดที่จัดทางไว้ให้ แต่ก็ไม่นิยมแพร่หลาย ตรงข้ามกับเป็นสิ่งที่ถูกดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีคนรุ่นใหม่เข้าไปเฉียดใกล้ ในโรงยาฝิ่น ส่วนมากจะเป็นคนรุ่นเก่า และจีนรุ่นเก่าแก่ๆ ยกเว้น คนอีกพวกหนึ่ง นักเลงหัวไม้ ทรชน กากคน และนักสืบสายลับ และพวกนักอยากรู้ที่จงใจเข้าไปหาข่าว ใครจะไปจี้ ฆ่า กันไว้ที่ใด ใครจะคิดวางแผน จะทำอะไร ส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ได้จากจากแหล่งข่าวโรงยาฝิ่น หากจะสูบ อาแปะขี้ยาประจำโรงยาฝิ่น ก็จะเอาเงินจากเราไปซื้อฝิ่น ซึ่งเป็นฝิ่นของสรรพสามิต ในหลอดตะกั่วสีขาวหม่น รูปร่างเหมือนกระสุนปืนออโตฯ ๑๑ มม. แต่ปลายยาวเรียวกว่า ฝิ่นดำคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม หลอดหนึ่งสูบคำใหญ่ได้ ๘-๙ คำ ถ้าเป็นคำใหม่ ก็ต้องดูดได้ ๑๒ ถึง ๑๕ คำ สำหรับคอใหม่ยังดูดไม่ชำนาญ พอขี้ยาบริกรประคองกระเป๋าให้เข้าไปลนไฟ ก็จะดูดแบบกระตุกๆ อาการนี้ฝิ่นจะไหม้ไม่หมด ดูดต่อไปไม่ได้ พี่เลี้ยงต้องเอาไม้ตะเกียะทิ่มเม็ดฝิ่นให้เป็นรู ให้ดูดฝิ่นเผาใหม่ ฝิ่นได้ต่อไป ใครดูดฝิ่นเป็นหรือไม่เป็น สูบชำนาญแค่ไหน เขาดูกันตรงนี้ บรรยากาศโรงยาฝิ่น ต่างกันขาวกับดำกับโรงเหล้า ไม่มีอะไรวุ่นวายเอะอะมะเทิ่ง เงียบสงบ สุขุมเยือกเย็น มีแต่เสียงคุยกันพึมพำแผ่วเบา ความคิดความอ่าน ข้อความสนทนา ล้วนแต่เป็นแผนการชนิดดีดลูกคิดรางแก้ว ใครมีความลับอะไร มาเปิดเผยกันตรงหน้าบ้องฝิ่น โรงฝิ่นจึงเป็นแหล่งข่าวสำคัญของผู้คนในยุคนั้น ทางการไทย ประกาศเลิกเสพฝิ่นเด็ดขาด เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีการเผาฝิ่นและอุปกรณ์สูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวง นับเป็นการเผาฝิ่นครั้งที่ ๒ ของไทย หลังจากการประกาศเผาครั้งแรกในรัชกาลที่ ๓ การจับฝิ่นครั้งนั้น เป็นชนวนบาดหมาง สะสมหมักหมมจนต้องแก้แค้นเอาคืน ด้วยการปฏิวัติ เมื่อบ้านเมืองไม่มีโรงยาฝิ่นให้หาข่าวแล้ว แต่ข่าวปฏิวัติก็ยังพอมีให้อ่านสนุกสนาน จากสารพัดช่องทางสื่อสารสมัยใหม่ ส่วนข้างโรงยาฝิ่นตลาดน้อยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของวัดกาลหว่าร์(วัดแม่พระลูกประคำ) ในอดีตเป็นที่ตั้งของโป่วโล่ง(โรงทอผ้า) ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นสลัมเรียกว่า“ย่งเฮงลี่” ยังมีประตูปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้ ส่วนที่สองเป็นของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้งของโรงยาฝิ่นตลาดน้อย ส่วนสุดท้ายมีเนื้อที่ ๑๐๐ วาเป็นของตระกูลโปษยจินดา ซึ่งเป็นสลัมมีจำนวน ๓๐ หลัง เสียค่าเช่าเดือน ๑๐-๒๐ บาท วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๒ เวลา ๒๔.๐๐ น.เป็นวันและเวลาสุดท้ายที่จะมีการสูบฝิ่นในประเทศไทย และให้ถือว่าฝิ่นเป็นของต้องห้าม การกำจัดการสูบฝิ่นครั้งนั้น ทางการได้จัดทำอย่างชนิดกวาดล้างจริงๆ คือ ได้รวบรวมเอากลักฝิ่น บ้องสูบฝิ่นทั้งหลายมาเผาที่สนามหลวง เมื่อเวลา ๐๑.๐๐ น.ของวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ เมื่อฝิ่นกลายเป็นของต้องห้าม ยาเสพติดตัวใหม่ออกมาเป็นอัศวินในหมู่สิงห์อมควัน นั่นคือ “เฮโรอิน” ลูกเล็กเด็กแดงหากใครได้ลองสัมผัสจะมีสภาพคล้ายผีดิบที่เคลื่อนไหวได้ ดังนั้นในตรอกที่เคยเป็นที่ตั้งโรงยาฝิ่น จึงมีบรรดาสิงห์อมควันพลุ่กพล่านกันเป็นประจำ พอตกดึกบรรยากาศไม่ต่างจาก”ผีกัด”ในภาพยนตร์จีนแม้แต่นิดเดียว ในราวปี พ.ศ.๒๕๒๕ ตระกูลโปษยจินดาได้ประกาศขายที่ดินแห่งนี้ไปในราคา ๑ ล้านบาท ตอนไล่ที่ต้องจ่ายค่าขนย้ายหลังละ ๑ หมื่นบาท เสียไปจำนวน ๓ แสนบาท แต่มีเรือนไม้สักอยู่หลังหนึ่งสวยงามมาก ผลปรากฏคนที่อยู่ปล่อยเงินกู้ เก็บดอกเบี้ยโหด เป็นพ่อค้ายาเสพติดกันทั้งตระกูล ป้าดวงตะวันไปเจรจาด้วยวาจาว่า ที่ดินตรงนี้ฉันโอนให้เขาไปแล้วนะ โดยเฉพาะบ้านนี้ต้องจ่ายค่าขนย้ายไปสามหมื่นบาท ก็เป็นจำนวนไม่น้อย บ้านไม้สักเธอรื้อไปเลย เอาไปปลูกใหม่ที่ไหนก็ได้ แต่ลูกสาวบ้านหลังนี้ไปซื้อที่ดินแห่งหนึ่ง ออกปากว่า“ยังๆๆๆ” ยังจะขอตื้ออาศัยอยู่ ป้าดวงตะวันบอก เฮ้ยคนที่ซื้อมีอิทธิพลนะ ถ้ามันจ้างคนมาเผาบ้านจะหาว่าฉันไม่เตือน ปรากฏว่าครอบครัวนั้นไม่ยอมไป ครั้นวันอังคารที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๗ เวลาประมาณ ๐๔ น. เป็นช่วงฤดูหนาวอากาศชวนให้อยากจะนอนต่อภายใต้ผ้าห่มที่แสนอบอุ่น แต่ชาวบ้านเป็นพ่อค้าแม่ขายต้องรีบลุกขึ้นมาประกอบภารกิจเตรียมตัวไปขายของที่ตลาด แต่แล้วสายตาบางคนก็เหลือบไปเห็นคนถือปี๊ปใบหนึ่ง เที่ยวสาดตามฝากระดานบ้านในความมืด ซึ่งครั้งแรกก็ไม่มีใครให้ความสนใจ ชั่วพริบตาเดียวสลัมไม้แห่งนั้นได้กลายเป็นทะเล ท่ามกลางความโกลาหลของชาวบ้าน แต่ก็ไม่มีผู้เสียชีวิต เพราะคนส่วนใหญ่ตื่นกันเกือบหมดแล้ว ป้าดวงตะวันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยดับ เพราะเป็นหัวหน้าบรรเทาสาธารณะภัย เคยได้รับโล่ห์จากสมเด็จพระบรมโอรสิราช ที่วัดจักวรรดิราชาวาส สมัยนั้นหม่อมเจตน์จันทร ประวิทย์ ซึ่งเป็นเพื่อนกัน บอกว่าช่วยกันหน่อยตรงนี้มีโรงงานน้ำมันหอย(บ้านรัชบริรักษ์) นักดับเพลิงถึงได้เลี้ยงบ้านหลังนั้นไว้ ชาวบ้านบางรายได้กล่าวโทษป้าดวงตะวันว่า“เป็นผู้ว่าจ้างวางเพลิง” ป้าดวงตะวันบอก “ถ้าฉันเผาจะจ่ายเงินให้ไปทำไม” หลังจากนั้นไม่นานคนที่เป็นแม่ก็เป็นอัมพาต นอนนิ่งเฉยไม่กระดิกเคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ ลูกหลานไม่เหลียวแล ในที่สุดก็เสียชีวิต ต่อมาคนที่เป็นลูกสาวก็ล้มป่วยเสียชีวิตตามไป แต่เดิมโรงฝิ่นเป็นของทรัพย์สินส่วนสินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อได้มีการปลูกสร้างใหม่ จึงตั้งชื่อว่า“แฟลตทรัพย์สิน”จนถึงปัจจุบัน
0

Your STAMM Book

มาสะสม STAMM เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวดีๆ ระหว่างทางกัน

วงเวียนมังกร ตลาดน้อย

ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง ศาลเจ้าโรงเกือก

ท่าเรือกรมเจ้าท่า

ศาลเจ้าเซียงกง

รถเฟียตโบราณ ตลาดน้อย

ศาลเจ้าโจวซือกง (วัดซุนเล่งยี่)

พิพิธตลาดน้อย (Talad Noi Museum)

ท่าน้ำภาณุรังษี

Street Art ย่านตลาดน้อย

บ้านตัดเล็บสุขภาพ ตลาดน้อย

Liverpool Mural (กราฟิตี้)

The Warehouse Talat Noi

บ้านโซวเฮงไถ่

Mother Roaster

วัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์

สะพานนี้จงสวัสดี

วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวน ตลาดน้อย)

Art Gallery - Rudy Meyer - Open Artist Studio

River City Bangkok

อาคารเก่า ซอยแฟลตทรัพย์สิน ตรอกผีดิบ

The Corner House Bangkok

Citizen Tea Canteen of Nowhere

ฮงเซียงกง Hong Sieng Kong

Timo and Tintin

Recordoffee

Very Nice Bar

ตลาดน้อยย่านเก่าที่ยังเก๋าอยู่ ย่านนี้ถือเป็นย่านชุมชนคนจีนเลยก็ว่าได้ เพราะคนจีนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ขยับขยายมาจากย่านสำเพ็งและเยาวราช ที่สำคัญที่นี่การเดินทางมาก็ง่ายและสะดวกมาก ทั้ง MRT หัวลำโพง หรือมาจากย่านเยาวราชทางวัดไตรมิตร และหรือมาทางบางรักเจริญกรุงก็ได้เช่นกัน

วงเวียนมังกร ตลาดน้อย

ย่านตลาดน้อย เป็นชุมชนจีนที่เกิดขึ้นมาจากการขยายตัวของสำเพ็ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยที่บรรดาชาวจีนต่างพากันเรียกตลาดแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสำเพ็ง ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่ในขณะนั้นว่า ‘ตะลัคเกียะ’ ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ‘ตลาดน้อย’ และด้วยความที่อยู่ใกล้กับสำเพ็งมากในบางครั้ง ตลาดน้อยจึงถูกเรียกในฐานะส่วนหนึ่งของสำเพ็งด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก : wikicommunity

ศาลเจ้าโรงเกือก

เมื่อรัชสมัยจักรพรรดิกวางสู ปีที่ 15 ตรงกับปี พ.ศ.2432 กล่าวว่า พ่อค้าชาวจีนฮากกา (จีนแคะ) ได้เชิญองค์เจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง จากเมืองจีนมาประดิษฐานบูชาในประเทศไทยเป็นเวลากว่า หนึ่งร้อยปีก่อนที่จะมีการสร้างศาลเจ้าที่เห็นอยู่ในปัจจุบันแล้วโดยศาลเจ้าหลังเดิมตั้งอยู่บริเวณด้านขวามือ ต่อมาเมื่อมีการจัดงานแห่เจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุงขึ้น ผู้ที่มาร่วมพิธีแห่เจ้า เห็นว่าสถานที่ของศาลเจ้าหลังเดิมคับแคบไม่เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรม ใน ปี พ.ศ.2431 คณะกรรมการศาลเจ้าซี่งเป็นกลุ่มพ่อค้าชาวจีนฮากกา ประกอบด้วย นายหลิ่วเขี่ยนฮิน นายหยี่จงซึ้น นายอึ้งเมี่ยวเหงี่ยน นายฉึ่นไท้เหงี่ยน นายจูกว้องยี้ นายหลิ่วเขี่ยนซุ้น นายเลี้ยวเหงี่ยนซุ้น นายเท้นวั้นฮับ และนายไล้หยิ่นจี๊


ขอบคุณข้อมูลจาก : hlpvirtualtour

ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง ศาลเจ้าโรงเกือก
ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง ศาลเจ้าโรงเกือก ศาลเจ้าโรงเกือก หรือศาลเจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง อีกหนึ่งมุมที่ผสมผสานความเก่าแก่เข้ากับบรรยากาศริม แม่น้ำเจ้าพระยา ศาลเจ้าเก่าแก่ของคนจีนฮากกาที่สร้างขึ้น ศาลเจ้าโรงเกือก“ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัย ร. 5 ซึ่งมีอายุกว่าร้อยปีมาแล้ว ชาวฮากกา(จีนแคะ) ฮักกา หรือ ฮากกา ตามภาษา จีนแต่จิ๋วที่เรียกว่า แขะแก หมายถึง ครอบครัวผู้มาเยือน เป็นชาวจีนที่อพยพไปในถิ่นชาวจีนเชื้อสายอื่นๆ นั่นเอง จากข้อมูลบนป้ายศิลาภายในศาลเจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุงซึ่งบันทึก เมื่อรัชสมัยจักรพรรดิกวางสู ปีที่ 15 ตรงกับปี พ.ศ.2432 กล่าวว่า พ่อค้าชาวจีนฮากกา (จีนแคะ) ได้เชิญองค์เจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง จากเมืองจีนมาประดิษฐานบูชาในประเทศไทยเป็นเวลากว่า หนึ่งร้อยปีก่อนที่จะมีการสร้างศาลเจ้าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน#ชุมชนตลาดน้อย #ตลาดน้อยเจริญกรุง #วัดเก่าแก่
0
ท่าเรือกรมเจ้าท่า

พื้นที่ของกรมเจ้าท่า เป็นท่าเรือและมีที่นั่งให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้พื้นที่กินลมชมวิวของแม่น้ำเจ้าพระยาได้มุมกว้างๆ ชมเรือสัญจรไปมา สถานที่สวย สะอาดตา


ขอบคุณข้อมูลจาก : th.trip.com/m

ศาลเจ้าเซียงกง

ศาลเจ้าเซียงกง (เซียนกง) ชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยนของประเทศจีนกลุ่มหนึ่ง อพยพเข้ามายังกรุงเทพมหานครตั้งถิ่นฐานและได้พัฒนาเป็นการค้าขายเครื่องยนต์เก่าที่ใช้แล้วเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่เรียกกันว่า “เซียงกง” ก่อนที่จะแพร่หลายไปสู่แหล่งอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ชาวฮกเกี้ยนกลุ่มนี้ได้ร่วมกันสร้างศาลเจ้าแห่งนี้เรียกกันว่า "ศาลเจ้าเซียงกง"เป็นศาลที่มีความสวยงาม และเป็นที่เคารพศรัทธาของคนจำนวนมาก


ขอบคุณข้อมูลจาก : Chinatown Yaowarach ไชน่าทาวน์ เยาวราช

ศาลเจ้าเซียงกง
ศาลเจ้าเซียงกง เซียงกง ตลาดค้าขายเครื่องจักร เครื่องยนต์ และของใช้อื่นๆ ที่เกี่ยวกับเหล็ก ที่ตั้งอยู่ที่ถนนทรงวาด ใกล้กับวัดสำเพ็ง หรือวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร พระอารามหลวง ที่อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ ครองหัวใจคนที่แสวงหาอะไหล่รถยนต์ หรือเครื่องยนต์มือสองตลอดเวลา จนชื่อเซียงกงกลายเป็นเครื่องหมายแหล่งการค้าสินค้ามือ 2 ที่มีคุณภาพ ---------------- เซียงกง เป็นกลุ่มธุรกิจจำหน่ายอะไหล่ ชิ้นส่วนประกอบ และเครื่องยนต์สำหรับรถใช้แล้ว คำว่า เชียงกง เพี้ยนมาจากคำว่า เซียงกง อันเป็นชื่อของศาลเจ้าเซียงกงเอง ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนทรงวาดส่วนที่ติดกับถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ มหานคร เป็นชุมชนชาวจีน ในย่านนี้ถูกเรียกว่า เซียงกง ---------------- ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ชุมชนเซียงกงได้เริ่มทำธุรกิจเก็บของเก่า เช่น จักรยาน นำมาซ่อมปรับปรุง หรือแยกชิ้นส่วนออกไปจำหน่าย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ธุรกิจนี้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีรถที่ใช้ในสงครามปลดประจำการลงเป็นอันมาก แต่ธุรกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนต้องมีการนำเข้าอะไหล่จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอะไหล่ใช้แล้วมีบทบาทสำคัญในการผลิตรถต่างๆ เช่น รถสามล้อเครื่อง หรือรถตุ๊กตุ๊ก รถอีแต๋น ---------------- ศาลเจ้าเซียงกง สร้างขึ้นในสมัยเสียนฟง แห่งราชวงศ์ชิง เมื่อ พ.ศ. 2397 หรือ ค.ศ. 1854 และชาวฮกเกี้ยนได้นำรูปปั้นท่านมาประดิษฐานที่นี่ ส่วนอาคารศาลเจ้าที่ตั้งริมถนนทรงวาดได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายยุค ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยได้สร้างทีกง หรือลายมังกรสำเร็จ เป็นศาลเจ้าที่โอ่อ่าโดดเด่นแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
0
รถเฟียตโบราณ ตลาดน้อย

รถโบราณสีส้มแสนน่ารักคันนี้นั้นคือรถ Fiat 500 รถยนต์สัญชาติอิตาเลียน เจ้าของรางวัลสุดยอดการออกแบบ Compasso d'Oro ประจำปี 1959 ออกเเบบโดย Dante Giacosa วิศวกรเเละนักออกเเบบรถยนต์ชื่อกระฉ่อน ที่มีการผลิตในช่วงปี ค.ศ.1957-1975 หรือราวๆ 64 ปีที่เเล้ว หนึ่งในรถคลาสสิคในฝันของหลายๆท่านโดยเจ้าของรถคันนี้นั่นคือคุณสมศักดื์ แห่งร้านสมศักดิ์คลัช ร้านจำหน่ายอะไหล่รถยนต์มือสองเก่าแก่คู่ชุมชนตลาดน้อยที่ได้มอบรถคันนี้ไว้ให้เป็นของชุมชน ผ่านกาลเวลากว่าสามสิบปี ความลงตัวระหว่างความคลาสสิคของตัวรถ ที่มีฉากหลังเป็นกำแพงบ้าน โซว เฮง ไถ่ คฤหาสน์จีนโบราณอายุกว่า 200 ปี นั้นช่างลงตัวเป็นอย่างยิ่ง


ขอบคุณข้อมูลจาก : Point T Ride Store

lemon8 : lemon8

รถเฟียตโบราณ ตลาดน้อย
รถเฟียตโบราณ ตลาดน้อย หากทุกท่านได้มีโอกาสมาที่ตลาดน้อย หนึ่งในจุดถ่ายรูปที่เป็นแลนด์มาร์คสำคัญที่พลาดไม่ได้ นั่นก็คือ "รถโบราณ" ที่จอดอยู่ใกล้ๆกับบ้านโซว เฮง ไถ่ รับรองได้เลยครับว่าถ้าได้มาถ่ายรูป ณ จุดนี้เพื่ออัพโหลดลงโลกโซเชียลเเล้ว เพื่อนๆ จะรู้ได้ทันทีเลยครับว่าอยู่ที่ตลาดน้อยอย่างเเน่นอน แล้วเคยสงสัยกันไหมครับว่ารถคันนี้มาจอดอยู่ที่นี่ได้อย่างไร? วันนี้ @Point T Ridestore จะขออนุญาตไขข้อสงสัยนี้กันครับ... รถโบราณสีส้มแสนน่ารักคันนี้นั้นคือรถ Fiat 500 รถยนต์สัญชาติอิตาเลียน เจ้าของรางวัลสุดยอดการออกแบบ Compasso d'Oro ประจำปี 1959 ออกเเบบโดย Dante Giacosa วิศวกรเเละนักออกเเบบรถยนต์ชื่อกระฉ่อน ที่มีการผลิตในช่วงปี ค.ศ.1957-1975 หรือราวๆ 64 ปีที่เเล้ว หนึ่งในรถคลาสสิคในฝันของหลายๆท่าน โดยเจ้าของรถคันนี้นั่นคือคุณสมศักดื์ แห่งร้านสมศักดิ์คลัช ร้านจำหน่ายอะไหล่รถยนต์มือสองเก่าแก่คู่ชุมชนตลาดน้อยที่ได้มอบรถคันนี้ไว้ให้เป็นของชุมชน ผ่านกาลเวลากว่าสามสิบปี ความลงตัวระหว่างความคลาสสิคของตัวรถ ที่มีฉากหลังเป็นกำแพงบ้าน โซว เฮง ไถ่ คฤหาสน์จีนโบราณอายุกว่า 200 ปี นั้นช่างลงตัวเป็นอย่างยิ่ง @Point T Ridestore และชาวชุมชนตลาดน้อยต้องขอขอบพระคุณอาเฮียสมศักดิ์ไว้ ณ โอกาสนี้อีกครั้งหนึ่งครับที่กรุณามอบรถ Fiat 500 คันนี้ไว้ให้เป็นอีกหนึ่งสถานที่ต้องห้าม(พลาด) ของเหล่านักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือนตลาดน้อยครับ @Point T Ridestore บริการให้เช่า สกูตเตอร์ไฟฟ้า E-Scooter เพื่อเป็นเครื่องมือการท่องเที่ยวชุมชนตลาดน้อย ยุคใหม่ เป็นมิตรกับชุมชนมากๆ พบกับโปรโมชั่น เช่าสกูตเตอร์ไฟฟ้าเพื่อการท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพฯ เเละต่างจังหวัด ในราคา 1 วัน 200 บาท 3 วัน 500 บาท 5 วัน 800 บาท 7 วัน 1000 บาท สามารถรับรถได้ที่ @Point T Ridestore ตลาดน้อยหรือ บริการจัดส่งได้ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ในกรณีใช้รถ 3 วันขึ้นไป โดยมีค่ายริการจัดส่งตามระยะทางจริงผ่าน application Grab เช่าง่ายๆ เพียงใช้บัตรประชาชน 1 ใบ (หรือมีบัตรนักเรัยนนักศึกษารับส่วนลดพิเศษ 10%) และกรอกเอกสารสัญญาเช่าก็สามารถรับรถพร้อมแผนที่ท่องเที่ยวภายในชุมชนตลาดน้อยได้เลย... ทัก IB ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม... โทรศัพท์และ ID LINE 0839794878 Point T ตลาดน้อย ... Feel like you never before ข้อมูลจากเพจ Point T Ride Store
0
ศาลเจ้าโจวซือกง

ศาลเจ้าโจวซือกง (วัดซุนเล่งยี่) เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ของชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตลาดน้อย อายุกว่า 200 ปี สร้างในปีพ.ศ.2347 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าโจวซือกง และเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือ อาทิ เจ้าพ่อกวนอู เจ้าแม่ทับทิม เจ้าพ่อเสือ เทพเจ้า 36 องค์ เทพเจ้าฟ้าดิน ตี่จู้เอียะ ฯลฯ


ขอบคุณข้อมูลจาก : bangkokbiznews

ศาลเจ้าโจวซือกง (วัดซุนเล่งยี่)
ศาลเจ้าโจวซือกง (วัดซุนเล่งยี่) ศาลเจ้าโจวซือกง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อายุ 200 ปี ย่านตลาดน้อย ที่เหมาะแก่การมากราบไหว้ ขอพร ในเรื่องโชคลาภ สุขภาพ ไม่เจ็บป่วย แข็งแรงตลอดทั้งปี อีกทั้งยังสามารถชมความสวยงามของศาลเจ้าได้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของศาลเจ้าโจวซือ เป็นแบบปลายราชวงศ์ชิง (ค.ศ.๑๕๘๙-๑๙๑๑) เดิมสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นก่ออิฐผสมไม้ แม้จะมีการซ่อมแซมหลายครั้งแต่ก็คงแบบอย่างเดิมไว้ได้อย่างดี หลังคาศาลเจ้าเป็นแบบซานเหมินติ่ง บริเวณบนสุดบนสันหลังคาประดับด้วยมังกรคู่ชูลูกแก้ว และหงส์คู่ชูดอกโบตั๋น มีการเปิดช่องหลังคาทั้งสองข้างให้เป็นพื้นที่โล่ง เพื่อให้แสงแดดส่องและลมเย็นเข้ามาในศาลเจ้า ประตูอาคารหลักมีสามประตู แตกต่างจากศาลเจ้าจีนแต้จิ๋วในพื้นที่เยาวราชทั่วไป ศาลเจ้าโจวซือกง เป็นศาลเจ้าที่มีเทพเจ้ามากมายให้มากราบไหว้ ขอพร ได้แก่ เทพเจ้าโจวซือกง พระหมอโจวซือกง มีใบหน้าสีน้ำตาลเข้ม เป็นเทพประธานประจำกลุ่มฮกเกี้ยน ซึ่งคนใหญ่นิยมมาขอพรสามอย่างคือ "สุขภาพ อยู่เย็นเป็นสุข โชคลาภ" ตามคติความเชื่อแบบจีน การกราบไหว้เทพในศาลเจ้า สามารถขอพรได้เลย ไม่จำเป็นต้องบนบาล โดยจะจำแนกเป็นเรื่องๆ ไป พระหมอโจวซือกง เป็นเทพที่มีตัวตนเกิดในสมัยราชวงศ์ซ่ง เมื่อท่านอุปสมบทเป็นสามเณร ได้ธุดงค์และถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อหมิงกงฉานซือ รักษาผู้เจ็บป่วยทุกข์ยาก และเผยแพร่ธรรมะ ชื่อเสียงของท่านเป็นที่กล่าวขานว่าที่ใดประสบภัยพิบัติ นิมนต์ท่านช่วยปัดเป่าขจัดภัยต่างๆได้ พระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ผู้ทรงนำมาซึ่ง ความอุดมสมบูรณ์ โชค ลาภ นั้น เชื่อว่า ผู้ใดบูชา ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ปัญญา ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรือง ด้านหลังประดิษฐานพระประธาน 3 องค์ คือ พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระอมิตาภพุทธเจ้า และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในอดีต เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ ผู้ทรงมีพระเมตตากราบไหว้ขอพรใดๆ หากตั้งมั่นในความดี ต่างก็สำเร็จทุกประการ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ใครที่บนบานศาลกล่าวสิ่งใด ต่างก็สำเร็จสมหวังไปตาม ๆ กัน ด้านข้างๆ เป็นองค์ไฉซิ้งเอี้ย เป็นเทพเจ้าของจีนที่ให้คุณทางด้านเงินทอง และโชคลาภ (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) อีกทั้งยังมีเจ้าพ่อกวนอู เจ้าพ่อเสือ เทพเจ้า 36 องค์ เทพเจ้าฟ้าดิน ตี่จู้เอียะ ฯลฯ ให้ได้มากราบไหว้กัน ศาลเจ้าโจวซือกง (วัดซุนเล่งยี่) เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ของชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตลาดน้อย อายุกว่า 200 ปี สร้างในปี พ.ศ.2347 สมัยรัชกาลที่1 โดยเศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยน ที่เข้ามาพึ่งพิงพระบรมโพธิสมภารเปิดโรงเผาถ่าน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านตลาดน้อย ตอนนั้นเขานำเทพเจ้าที่นับถือมาจากเมืองจีน จึงได้ตั้งศาลเจ้าให้ท่านประทับ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าโจวซือกง และเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือ
0
พิพิธตลาดน้อย

“พิพิธตลาดน้อย” ภายในอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้น 3 นิทรรศการ : ย่านเชียงกง อัตลักษณ์ชุมชนตลาดน้อยหลากศรัทธาสถาปัตยกรรมบ้านจีน ศาลเจ้า วัดญวน วัดไทย ตึกฝรั่ง และโบสถ์คริสต์ รวมกันอยู่ที่ตลาดน้อย โดยมีศาลเจ้าโจวซือกง เป็นศูนย์กลางชุมชนฟังเรื่องเล่าครั้งเก่าของตลาดน้อยในแบบใหม่ที่ไม่เคยหยุดนิ่งชั้น 2 นิทรรศการ : ตลาดน้อยชุมชนช่างจีนต้นรัตนโกสินทร์ ท้องถิ่นวัฒนธรรมหลากหลายย้อนประวัติศาสตร์ตลาดน้อยจาก “บ้านโรงกระทะ” เป็น “บ้านช่างหลอมจีน” ก่อนจะมาเป็น “ตะลักเกี้ยะ” ในปัจจุบันชั้น 1 พื้นที่ประชาสัมพันธ์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เหรียญและของที่ระลึก และพื้นที่เอนกประสงค์


ขอบคุณข้อมูลจาก : museumthailand

พิพิธตลาดน้อย (Talad Noi Museum)
พิพิธตลาดน้อย (Talad Noi Museum) “ตลาดน้อย” หรือ “ตะลักเกี้ยะ” เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นตลาดใหม่ที่ขยายพื้นที่มาจากตลาดสำเพ็ง ชาวจีนฮกเกี้ยนหรือจีนแคะเป็นชนกลุ่มแรกๆ ที่เริ่มเข้ามาตั้งรกรากกันในแถบนี้ ---------------- ตลาดน้อย “บ้านเกิด”ของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ โดยเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากย่านเยาวราชอันเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานของกรุงเทพมหานครเป็นส่วนหนึ่งของอู่อารยธรรม (Natural Feature) ที่สะท้อนการตั้งถิ่นฐานในยุคเริ่มต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยายาวต่อเนื่องถึง 750 เมตร ---------------- “สวนศิลป์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์” หรือ “พิพิธภัณฑ์ชุมชนตลาดน้อย” เป็นพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ล่าสุด อดีตโรงกลึงเก่าที่ขณะนี้กลายเป็นอาคารกระจกสะท้อนร่มเงาสีเขียวชอุ่มของไม้ใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในอนาคตพื้นที่ตรงนี้จะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์และพื้นที่ชุมชนเอาไว้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ให้ชุมชนตลาดน้อยไม่เงียบเหงา ---------------- สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ ริเริ่มโครงการนี้ ร่วมกับกรมธนารักษ์และชาวชุมชนตลาดน้อย ด้วยตระหนักในคุณค่าและศักยภาพของพื้นที่ตลาดน้อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์โครงการนำร่องในการสร้างการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ ปิด บริเวณโรงกลึงเก่าให้พื้นที่สีเขียวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เกิดประโยชน์กับสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ---------------- สร้างสรรค์พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่ ปิด บริเวณโรงกลึงเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้เกิดเป็นพื้นที่ เปิด เพื่อการออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจ การพบปะพูดคุยและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวชุมชนตลาดน้อย และสาธารณะ ---------------- พิพิธภัณฑ์ชุมชนตลาดน้อย พื้นที่เผยแพร่เรื่องราวของชุมชนตลาดน้อยชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา “ย่านเชียงกง” ทำการค้าขายอะไหล่และเครื่องยนต์เก่าที่มีประวัติศาตร์มายาวนานมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ริเริ่มด้วยคนจีนที่มาตั้งรกรากในประเทศไทย ของดีของชุมชนตลาดน้อย เรื่องราวที่เป็นความภูมิใจ และแสดงชีวประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครูแห่ง ความจริง ความงาม และ ความดี แบบอย่างของสามัญชนที่ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติและส่วนรวม และบุคคลสำคัญของตลาดน้อยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของคนในชุมชน นักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป
0
ท่าน้ำภาณุรังษี

สถานที่ท่องเที่ยวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เต็มไปด้วยสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมากมาย กรมเจ้าท่า เป็นหน่วยงานราชการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยวย่านชุมชนตลาดน้อย นับเป็นศูนย์กลางการเดินทางเพื่อเชื่อมต่อการท่องเที่ยวทางน้ำเพิ่มขึ้น กรมเจ้าท่าได้เห็นความสำคัญต่อสถานที่ทั้งสองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จึงมีแนวคิดเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนย่านฝั่งธนกับชุมชนย่านตลาดน้อยฝั่งพระนคร โดยใช้ท่าเรือกรมเจ้าท่า เป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวเพื่อเชื่อมต่อสถานทีประวัติศาสตร์ ระหว่าง ท่าน้ำภานุรังษี – ตลาดน้อย – กรมเจ้าท่า – ท่าเรือปากคลองสาน – ท่าเรือหวั่งหลี (ล้ง 1919) เพื่อเผยแพร่ศูนย์กลางสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เรียนรู้ เข้าใจประวัติศาสตร์อย่างเข้าถึง เข้าใจ พร้อมร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนา


ขอบคุณข้อมูลจาก :thailandplus

ท่าน้ำภาณุรังษี
ท่าน้ำภาณุรังษี ท่าเรือภาณุรังษี ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ชุมชนตลาดน้อย มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สะท้อนการตั้งถิ่นฐานของยุคเริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กรมเจ้าท่าได้เห็นความสำคัญ จึงพัฒนารูปลักษณ์ท่าเรือภาณุรังษีขึ้นใหม่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ณ ท่าน้ำภาณุรังษี ตลาดน้อย จุดยืนเดียวกันแค่หันซ้ายและหันขวา ความสวยยามพระอาทิตย์ตกดิน มีความต่างกัน แต่เป็นจุดชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงามที่สุดเพราะเหมือนเราอยู่กลางลำน้ำ ----------------จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช องค์ต้นราชสกุล”ภาณุพันธุ์” พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๐๒ บุคคลทั่วไปออกพระนามเรียก “สมเด็จวังบูรพา” ด้วยเพราะทรงมีวังที่ประทับคือ”วังบูรพาภิรมย์” (ย่านวังบูรพาในปัจจุบัน) ทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชร่วมพระครรโภทรเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระกรณียกิจสำคัญ ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ไทย และทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย
0
Street Art ย่านตลาดน้อย

เดินทะลุผ่านตรอกซอกซอยภายในย่านตลาดน้อย นอกจากจะยังคงเห็นร่องรอยในอดีตผ่านผนังอิฐและหลังคาทรงจีน รวมถึงเครื่องรางที่ชาวจีนติดไว้เหนือประตูบ้านก็สะท้อนวิถีความเป็นอยู่ของคนจีนในชุมชนได้เป็นอย่างดี รวมถึงสตรีทอาร์ทที่ถูกวาดขึ้นจากงงานเทศกาลเมืองศิลปะ 2016 บุกรุก ครั้งที่ 2 ที่ได้ศิลปินไทยและต่างประเทศมาสร้างสรรค์ไว้ตามตรอกซอกซอย


ขอบคุณข้อมูลจาก : bkkmenu

บ้านตัดเล็บสุขภาพ ตลาดน้อย

บ้านตัดเล็บ Nail by N. เป็นการตัดเล็บที่ถูกวิธีตามหลักการสากล โดยเฉพาะผู้ที่มีรูปทรงและการงอกของเล็บที่ผิดปกติด้วยเครื่องมือและใช้หลัก Sterile technique ในการทำ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการต่อยอดจากงานเดิมทีทำงานในด้านพยาบาลผู้ชำนาญการพิเศษ ด้านเล็บและเท้า ณ โรงพยาบาลใหญ่ของภาครัฐแห่งหนึ่งจนเกษียณอายุราชการ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลเล็บและเท้าโดยเฉพาะผู้ที่แพทย์ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการตัดเล็บและดูแลเท้าอย่างถูกต้อง


ขอบคุณข้อมูลจาก : บ้านตัดเล็บสุขภาพ ตลาดน้อย

iverpool Mural (กราฟิตี้)

สุดยอดกราฟฟิตี้ตำนานนักเตะ ลิเวอร์พูล ฝีมือนักศึกษาไทย ที่ถูกวาดบนกำแพง ซอย เจริญกรุง 33 นำโดย เจสัน แม็คเคเทียร์, ร็อบบี ฟาวเลอร์, ซามี ฮูเปีย, หลุยส์ การ์เซีย, โฆเซ เอ็นริเก ปิดท้ายด้วย กัปตันทีม คนปัจจุบัน อย่าง จอร์แดน เฮนเดอร์สัน.


ขอบคุณข้อมูลจาก : dailynews

Liverpool Mural (กราฟิตี้)
Liverpool Mural (กราฟิตี้) สุดยอดกราฟฟิตี้ตำนานนักเตะ ลิเวอร์พูล ฝีมือนักศึกษาไทย ที่ถูกวาดบนกำแพง ซอย เจริญกรุง 33 นำโดย เจสัน แม็คเคเทียร์, ร็อบบี ฟาวเลอร์, ซามี ฮูเปีย, หลุยส์ การ์เซีย, โฆเซ เอ็นริเก ปิดท้ายด้วย กัปตันทีม คนปัจจุบัน อย่าง จอร์แดน เฮนเดอร์สัน... ‘เต็มดวง ซึ้งกมลพิสุทธิ์’ เจ้าของร้าน พรชัย อ๊อกซิเยน ได้เล่าให้ฟังว่า “ก่อนหน้านี้ มีน้องๆ ศิลปากร 4-5 คน เดินเข้ามาขออนุญาต ว่าจะขอวาดกำแพง ซึ่งน้องนักศึกษากลุ่มนี้หาพื้นที่มาแล้วกว่า 1 เดือน เราก็เลยถามว่า จะวาดรูปอะไร เขาก็บอกนักฟุตบอล ส่วนตัวไม่ได้ติดตามข่าวกีฬาสักเท่าไหร่ แต่เราเห็นความตั้งใจของน้องๆ จึงอนุญาต แล้วก็ไปขอเจ้าของบ้านอีกหลังนึงให้ ขอแค่อย่าเก็บเงินคนที่มาถ่ายรูปก็พอ”...
0
The Warehouse Talat Noi

จากโกดังร้าง 30 ปี สู่ Community Entertainmentเราจะพบกับตึกขนาด 5 คูหาเรียงชิดติดกัน หน้าตาคล้ายโกดังเก่า แต่พอเดินเข้ามาจะเจอทั้ง คาเฟ้ ร้านอาหาร ร้านเสื้อผ้า บาร์โดยภายในยังคงใช่โครงสร้างเดิมที่แข็งแรง


ขอบคุณข้อมูลจาก : lemon8

Facebook : The Warehouse

บ้านโซวเฮงไถ่

บ้านโซวเฮงไถ่ เป็นบ้านเก่าสถาปัตยกรรมแบบจีน แต่มีใต้ถุนสูงแบบไทย สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีอายุกว่าสองร้อยปี สร้างบนเนื้อที่ประมาณกว่า 300 ตารางวาในย่านตลาดน้อย เป็นบ้านของคหบดีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองไทย โดยต้นตระกูลเป็นนายภาษีอากรรังนก คอยเก็บภาษีให้ทางราชการ และยังมีอาชีพค้าขายทางเรือสำเภาอีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก : baanlaesuan

บ้านโซวเฮงไถ่
บ้านโซวเฮงไถ่ โซวเฮงไถ่ หรือ บ้านดวงตะวัน คฤหาสน์เก่าแก่ ที่มีอายุกว่า 220 ปี คฤหาสน์สร้างตามสถาปัตยกรรมแบบฮกเกี้ยนแต้จิ๋ว วางผังบ้านแบบคหบดีที่มั่งคั่งในสมัยนั้น ที่เรียกว่า 4 เรือนล้อมลาน ลักษณะลาน จะเป็นลานหินกว้างตรงกลาง ล้อมรอบไปด้วยอาคาร 4 ด้าน ด้านหน้าเป็นซุ้มประตูสีแดงโดดเด่น คฤหาสน์มี 2 ชั้น พื้นชานยกระดับตามแบบฉบับของเรือนไทยโบราณ พื้นบ้านเป็นไม้สักทองทั้งหลัง ปัจจุบันพื้นที่ตรงลานโล่งชั้นล่าง ถูกปรับให้เป็นสระว่ายน้ำ เพื่อสอนดำน้ำ และมุมหนึ่งยังทำเป็นฟาร์มเพาะพันธุ์สุนัขบีเกิลขาย "ภู่ศักดิ์ โปษยะจินดา" เจ้าของบ้าน บอกเล่ากับ ไทยรัฐออนไลน์ ว่า ทุกวันนี้ บ้านโซวเฮงไถ่ เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทย ชาวต่างชาติ คนจีน ก็พากันมาดูบ้านหลังนี้ ซึ่งก็แปลกใจอย่างมาก แต่ก็รู้สึกดีใจที่มีคนเห็นคุณค่าในสถาปัตยกรรมโบราณ และเราก็เปิดให้ทุกคน มาเที่ยวชมบ้านได้
0
Mother Roaster

Mother Roaster ร้านกาแฟเล็ก ๆ ในย่านตลาดน้อย ที่ก่อนหน้านี้เคยเป็น Slow Bar อยู่ริมถนนมหาพฤฒาราม โดยยังคงโดดเด่นด้วยรสชาติ ความหอมอร่อยที่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพไว้เช่นเดิม พร้อมเพิ่มเติมด้วยพื้นที่กว้างขวางของโลเคชันใหม่ ให้คุณได้แวะมาดื่มด่ำกาแฟคุณภาพดีจากเครื่อง ROK Presso ที่ดริปและคั่วเองจากฝีมือ Mother บาริสต้าสุดเท่ประจำร้าน


ขอบคุณข้อมูลจาก : bkkmenu

facebook : Mother Roaster

วัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์

วัดแม่พระลูกประคำวัดแม่พระลูกประคำ หรือ โบสถ์กาลหว่าร์ ตั้งอยู่ที่ ตลาดน้อย เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2434 โดย คุณพ่อแดซาลส์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศส และทำพิธีเสกวัดใหม่ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งโบสถ์หลังนี้มีอายุรวมกว่า 120 ปีเลยทีเดียวและยังได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์เป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรอีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก : trueid

วัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์
วัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์ ‘วัดแม่พระลูกประคำ’ วัดคาทอลิกเคียงคู่กรุงรัตนโกสินทร์ วัดกาลหว่าร์คือวัดของชาวคริสต์โปรตุเกสที่ไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของประมุขมิสซังสยามชาวฝรั่งเศส พวกเขาแยกตัวออกมาจากวัดซางตาครู้ส ก่อนที่รัชกาลที่ 1 จะพระราชทานที่ดินสำหรับสร้างวัดของพวกเขาเอง คำว่า ‘กาลหว่าร์’ มีที่มาจากคำว่า Calvary ซึ่งเป็นเนินเขาที่เชื่อว่าเป็นสถานที่ตรึงกางเขนพระเยซู วัดกาลหว่าร์หลังแรกสร้างขึ้นในปี 2330 ก่อนที่จะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘วัดแม่พระลูกประคำ’ ในปี 2382 วัดแห่งนี้จึงอาจถือได้ว่าเป็นวัดคาทอลิกแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ https://themomentum.co/holy-rosary-church/
0
สะพานนี้จงสวัสดี

สะพานจงสวัสดีเมื่อ ๔๓-๔๖ ปีก่อนบริเวณพื้นที่ตลาดสวัสดีเป็นของกรมธนารักษ์ ตั้งแต่ซอยโชฎึกถึงกำแพงศาลเจ้าไท่ฮั้วเป็นโรงน้ำแข็งทั้งหมด ภรรยาคุณเสงี่ยม ฮุนตระกูล เป็นเจ้าของตลาดเปิดโรงน้ำแข็งโหวฮั้ว เป็นโรงน้ำแข็งที่ใหญ่มาก ไม่มีโรงน้ำแข็งอื่นอยู่ติดแถบนี้ด้วยแต่โรงน้ำแข็งนายเลิศจะตั้งอยู่อีกด้านหนึ่งของสะพานพิทยเสถียรตรงโรงน้ำแข็งเก่ามีสะพานไม้ใหญ่ เพราะมีรถ ๖ ล้อแล่นเข้า-ออก เพื่อส่งน้ำแข็งเลยสะพานไม้เล็กน้อยจะมีบันไดไม้ขึ้นลงจากคลองผดุงกรุงเกษมยังปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้


ขอบคุณข้อมูลจาก : ย่านจีนถิ่นบางกอก-Bangkok Chinatown

สะพานนี้จงสวัสดี
สะพานนี้จงสวัสดี สะพานจงสวัสดี เมื่อ ๔๓-๔๖ ปีก่อนบริเวณพื้นที่ตลาดสวัสดีเป็นของกรมธนารักษ์ ตั้งแต่ซอยโชฎึกถึงกำแพงศาลเจ้าไท่ฮั้วเป็นโรงน้ำแข็งทั้งหมด ภรรยาคุณเสงี่ยม ฮุนตระกูล เป็นเจ้าของตลาดเปิดโรงน้ำแข็งโหงวฮั้ว เป็นโรงน้ำแข็งที่ใหญ่มาก ไม่มีโรงน้ำแข็งอื่นอยู่ติดแถบนี้ด้วย แต่โรงน้ำแข็งนายเลิศจะตั้งอยู่อีกด้านหนึ่งของสะพานพิทยเสถียร ตรงโรงน้ำแข็งเก่ามีสะพานไม้ใหญ่ เพราะมีรถ ๖ ล้อแล่นเข้า-ออก เพื่อส่งน้ำแข็ง เลยสะพานไม้เล็กน้อยจะมีบันไดไม้ขึ้นลงจากคลองผดุงกรุงเกษมยังปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้ ถ้าเข้าไปจะเป็นโรงถ่านที่เตรียมนำมาลงเรือในคลองผดุงกรุงเกษม ส่วนโรงถ่านที่ขึ้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ตลาดน้อย และสามารถทะลุไปยังซอยโชฎึกได้ นายเชิด(คนทำงานโรงถ่าน)มาขึ้นถ่านที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม อายุรุ่นคราวเดียวคุณวิเชียร กมลงามพิพัฒน์ ประธานชุมชนสวัสดี สมัยก่อนตลาดสวัสดีคึกคักมากเหมือนแพ้ตลาดมหานาค แม้แต่ตลาดน้อยยังสู้ไม่ได้ เพราะตลาดสวัสดีเป็นตลาดขายส่ง โปริสภามีสะพานปูนไม่สูง ลงมาเป็นสะพานไม้ที่๑ ลงมาอีกเป็นสะพานปูนสวัสดีเล็กน้อย สะพานไม้สวัสดีที่จะวิ่งเข้าสลัม สมัยก่อนคลองผดุงกรุงเกษมน้ำไหลขึ้นลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้สะดวกทั้งด้านริเวอร์ซิตี้และเทเวศน์ และสะพานไม้แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง เช่น ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เรื่อง“เต้าฮวยไล้เหลี่ยว” ของ กำธร ทัพคัลไลย กำกับ ฉากที่ สมบัติ เมทะนี หาบเต้าฮวยเดินขึ้นสะพานไม้แห่งนี้ที่ทั้งผุทั้งจะพัง ดูน่าสงสารมาก แต่ก่อนเรือบรรทุกสินค้าจากมีนบุรี สวนในย่านฝั่งธน ตลาดมหานาค เข้ามาสู่คลองผดุงกรุงเกษมเยอะมาก เพราะมีสะพานสูงสามารถเข้าได้หมด ปี พ.ศ.๒๕๐๓ สร้างสะพานปูนนี้จงสวัสดีสูงชัน สมัยนั้นรถยนต์แล่นมาจากบางรักต้องมาขึ้นสะพานพิทยเสถียร เพื่อแล่นเข้าสู่ตลาดน้อย ไปเยาวราชหรือย่านถิ่นบางกอก ส่วนรถยนต์ที่แล่นมาจากเยาวราชต้องแล่นขึ้นสะพานสวัสดีที่สูงชัน เพื่อไปบางรัก วันเลวคืนร้าย รถยนต์เกิดเบรกแตก หรือคนขับหลับใน รถแล่นเข้าในร้านค้าที่อยู่เชิงสะพานฝั่งวัดมหาพฤฒาราม สินค้าในร้านพังพินาศเสียหายมากมาย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า“สวัสดี” บางแหล่งข่าวก็ว่า นายสวัสดิ์ เหตระกูล เจ้าของโรงพิมพ์ประชาช่างมีส่วนออกทุนทรัพย์ จึงได้ตั้งชื่อเป็นเกียรติไว้เป็นอนุสรณ์ สมัยนั้นรถเมล์ประจำทางเก็บค่าโดยสารคนละ ๗๕ สตางค์ รถเมล์จะต้องเกิดอุบัติเหตุแล่นเข้าร้านค้าเชิงสะพานบ่อยมาก อย่างน้อยก็ปีละครั้ง มากหน่อยก็เดือนเว้นเดือน บางทีเกิดขึ้นทุกเดือนหรือเดือนละสองครั้งก็เคยเห็น หลัง พ.ศ.๒๕๑๕ จึงรื้อสะพานนี้จงสวัสดี พ.ศ.๒๕๒๐ สร้างสะพานให้เป็นพื้นราบติดถนน เมื่อสะพานนี้จงสวัสดียุบ รถยนต์เปลี่ยนทิศไปแล่นข้ามสะพานโปริสภา ฮวงจุ้ยตลาดสวัสดีก็เริ่มเปลี่ยน กิจการก็เริ่มซบเซา อาจจะเกิดจากห้ามรถเมล์วิ่ง ผู้คนก็เลยไม่ค่อยเดินผ่าน จนกลายสถานที่นอกสายตา ปัจจุบันร้านขายผลไม้สำหรับงานมงคลสมรสก็ยังเหลืออยู่สองเจ้า ร้านเฮียจั๊วเสียชีวิตไปแล้ว เป็นร้านเก่าแก่ที่สุด ทุกวันนี้ลูกหลานก็ดำเนินกิจการต่อสามสามชั่วคนแล้ว ร้านดอกไม้ก็มีเป็นร้านยายเยย เสียชีวิตตอนอายุ ๘๐-๙๐ ปี ปัจจุบันลูกหลานรับช่วงต่อจากยายเยย สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น เมื่อมีเขื่อนระบาย(โรงกรองน้ำ)กั้นทุกอย่างก็จบสิ้น วัตถุประสงค์การสร้างเขื่อนระบาย(โรงกรองน้ำ)นี้ เพื่อให้พื้นที่บริเวณคลองผดุงกรุงเกษมน้ำไม่ท่วม แต่พอปิดก็ไม่มีเรือวิ่ง น้ำในคลองผดุงกรุงเกษมก็มีแต่น้ำในเขตพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในระบายลงมา จุดนี้คลองผดุงกรุงเกษมรองรับน้ำ แล้วก็ระบายออกอย่างเดียว ทำให้น้ำในคลองผดุงกรุงเกษมดูความสะอาดไม่เจอ สมัยก่อนนอกจากพื้นที่ตลาดสวัสดี นอกนั้นมีรั้วสังกะสีกั้นหมด แถวนี้มีสำนักพิมพ์ดาวสยาม โรงพิมพ์ตงฮั้ว ประชาช่าง(นสพ.เดลินิวส์เดิม) มีอยู่ช่วงหนึ่งประมูลพิมพ์แบบเรียนชั้นประถมเกือบทั้งหมด ของกระทรวงศึกษาการได้ แต่ต่อมาอาจจะประมูลไม่ได้ ตัวเลขไม่มี หนังสือแบบเรียน ก.ไก่ ข.ไข่ เริ่มล้าสมัย จึงไม่มีหนังสือหลักเลี้ยงชีพ ในที่สุดต้องเลิกกิจการไปเอง แล้วก็ดาวสยาม ในซอยยังมีโรงพิมพ์เล็กๆอีก ๑ แห่งอีก พิมพ์สมุดขาย นสพ.ดาวสยาม มาตั้งอยู่ที่นี้เพียง ๓ ปี เพราะครั้งแรกขอเป็นตั้งเป็นสำนักงาน แต่ได้แอบเอาเครื่องพิมพ์เข้ามาตั้ง พอตกกลางคืนพิมพ์หนังสือพิมพ์ดังสนั่นหวั่นไหว ชาวบ้านเดือดร้อนไม่เป็นอันหลับนอน จึงได้มีการฟ้องร้องกัน ในที่สุดก็ต้องถอยออกไปตามระเบียบ
0
วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวน ตลาดน้อย)

วัดญวนตลาดน้อย อีกหนึ่งวัดที่เก่าแก่ย่านตลาดน้อย เป็นวัดปฏิมากรรมแบบจีน สร้างขึ้นโดยชาวเวียดนามวัดนี้ก็มีชื่อในภาษาเวียดนามเช่นกันว่า วัดคั้นเวิน หรือ คั้น เวิน ตื่อ สันนิษฐานกันว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชหลัง พ.ศ. 2330 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่องเชียงสืออพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของในหลวงรัชกาลที่ 1


ขอบคุณข้อมูลจาก : moments

วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวน ตลาดน้อย)
วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวน ตลาดน้อย) ประวัติความเป็นมา ภูมิหลังของวัดญวนในประเทศไทยพอจะประมาณได้ว่า เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากมีการตั้งหลักแหล่งของชาวญวน ที่อพยพลี้ภัยสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยธนบุรี เมื่อมีการตั้งวัดญวนขึ้น ก็ได้นิมนต์พระสงฆ์ ซึ่งบวชมาจากประเทศญวนมาประจำในประเทศไทย อุโบสถ วัดอุภัยราชบำรุง ตลาดน้อย กรุงเทพฯ อุโบสถ วัดอุภัยราชบำรุง ตลาดน้อย กรุงเทพฯ คณะสงฆ์ญวนชุดแรกๆ มีพระผู้ใหญ่ ที่สำคัญ ๒ องค์ คือ พระครูคณาณัมสมณาจารย์ (ฮึง) และพระครูสมณานัมสมณาจารย์ (เหยี่ยวกร่าม) เป็นผู้นำของคณะสงฆ์อนัมนิกาย ในประเทศไทย ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ คณะสงฆ์ญวนในประเทศไทย ได้ขาดการติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวน และได้กลับมาติดต่อสัมพันธ์กันอีกครั้ง ในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ในสมัยนั้น มีพระสงฆ์ญวนเข้ามาในประเทศไทยอีก แต่เนื่องจากขณะนั้นญวนตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยไม่สามารถติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวนได้สะดวกนัก พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบประเพณี และวัตรปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับพระสงฆ์ไทยหลายประการ เช่น การออกบิณฑบาต การทำวัตรเช้าและเย็น การถือวิกาลโภชนา และการผนวกพิธีกรรมฝ่ายเถรวาท เช่น การมีพิธีทอดกฐิน และทอดผ้าป่า พิธีบวช พิธีเข้าพรรษา อุโบสถวัดอุภัยราชบำรุงหลังเก่า อุโบสถวัดอุภัยราชบำรุงหลังเก่า วัดญวนในประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นก่อนวัดจีน ในรัชกาลที่ ๓ ระหว่างที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงพระผนวชอยู่ ทรงสนพระทัย ในลัทธิประเพณี และการปฏิบัติของพระสงฆ์ฝ่ายมหายาน ซึ่งในขณะนั้น พระสงฆ์ฝ่ายมหายานมีแต่ฝ่ายอนัมนิกายยังไม่มีฝ่ายจีนนิกาย จึงโปรดให้นิมนต์ องฮึง เจ้าอาวาสวัดญวนตลาดน้อยในขณะนั้นมาเข้าเฝ้า ซึ่งทรงถูกพระราชอัธยาศัยเป็นอย่างดี เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกาย เข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และอยู่ในสถานะดังกล่าวเรื่อยมา แม้จะมีการผลัดเปลี่ยนรัชกาลมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงแรกที่วัดญวนได้เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร วัดญวนแห่งแรกๆ เช่น วัดญวนตลาดน้อย ก็ได้รับพระราชทานเงินช่วยเหลือในการปฏิสังขรณ์ และยังโปรดเกล้าฯ ให้พระสงฆ์ญวนเข้าเฝ้าเป็นประจำ รวมทั้งให้มีพิธีกรรมตามความเชื่อของฝ่ายอนัมนิกาย ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงปฏิบัติตามแบบอย่างสมเด็จพระบรมชนกนาถ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ การอุปถัมภ์ และการปฏิสังขรณ์วัดญวน โดยพระราชทานเงินช่วยเหลือ ในการปฏิสังขรณ์วัดญวนตลาดน้อยอีกครั้ง และได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดอุภัยราชบำรุง คำว่า "อุภัย" แปลว่า สอง แสดงให้เห็นถึงความหมายว่า เป็นวัดที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ จากพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ขององฮึง เจ้าอาวาสวัด เป็นที่ "พระครูคณานัมสมณาจารย์" เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอนัมนิกาย ในประเทศไทย ต่อมายังได้พระราชทานนามวัดญวน และวัดจีนอื่นๆ อีกหลายวัดด้วย
0
Art Gallery - Rudy Meyer

Rudy Meyer ศิลปินนีโอป๊อปชาวฝรั่งเศส เปิดตัวคอลเลคชันภาพวาดบุคคลที่เป็นไอคอนแห่งยุค ในซีรีย์ “Game Changers” โดยภาพในซีรีย์นี้จะจัดแสดงบุคคลที่มีความชื่อเสียงและนักปฏิวัติที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ ทางศิลปินจะนำเสนอผ่านวัฒนธรรมป๊อปอาร์ต เพื่อสื่อถึงการเล่าเรื่องด้วยภาพที่เต็มไปด้วยรายละเอียดรูดี้ ได้รับแรงบันดาลใจในงานศิลปะจากการเดินทางรอบโลก โดยศิลปินกล่าวว่าผมได้ซึมซับบทเรียนเรื่องความยืดหยุ่นและการย้อนแย้งจากนักปฏิวัติที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์นี้ ซีรี่ย์นี้จึงเป็นการยกย่องเชิดชูบุคคลิกที่หลากหลายของพวกเขา การบันทึกชัยชนะ การทดลองต่างๆ”


ขอบคุณข้อมูลจาก : bangkokdesignweek

River City Bangkok

RIVER CITY BANGKOK (RCB) เป็นสถานที่ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับท่าเรือสี่พระยามีพิกัดอยู่ที่ ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก 23 ซอยเจริญกรุง 24 หรือ 30 (ท่าเรือสี่พระยา) แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โทร 02 237 0077RIVER CITY BANGKOK (RCB) มีทั้งหมดห้าชั้นด้วยกัน มีทั้งร้านค้า และนิทรรศการศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ที่น่าสนใจ ควรค่าในการมาชม เช่น นิทรรศการภาพวาด งานศิลปะต่างๆ ของเก่าที่น่าสะสม ที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ


ขอบคุณข้อมูลจาก : th.trip

River City Bangkok
River City Bangkok ศูนย์รวมศิลปะและแอนทีคของนักสะสม ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก เป็นศูนย์รวมศิลปะและแอนทีค ที่เหล่าอาร์ตเลิฟเวอร์สและนักสะสม สามารถมาสำรวจแกลเลอรี ชมนิทรรศการระดับนานาชาติ พบปะกับศิลปิน เข้าร่วมการสนทนา ชมภาพยนตร์ ประมูลชิ้นงานแอนทีค เพลิดเพลินไปกับดนตรี หรือ เรียนรู้ถึงคุณค่าของงานศิลปะไทยร่วมสมัย ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2527 โดยการร่วมทุนระหว่างกลุ่มอิตัลไทย และกลุ่มแมนดาริน โอเรียนเต็ล เป็นศูนย์การค้าแห่งแรกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อยู่ใกล้กับโรงแรมชั้นนำ ระดับห้าดาว เช่น โอเรียลเต็ล, เพนนินซูลา, แชงกรีลา, รอยัลออคิด เชอราตัน และ มิลเลนเนียม ฮิลตัน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาได้ทั้งทางรถและทางเรือ ริเวอร์ซิตี้เป็นอาคาร 4 ชั้น ออกแบบโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา เป็นอาคารที่ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ด้านการออกแบบในปี พ.ศ. 2527 และมีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มท่าเรือขึ้นอีก 1 ท่า จากนั้นปี พ.ศ. 2543 ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ได้เพิ่มบริเวณ Antique Arcade บริเวณชั้น 1 อาคารจอดรถ เป็นศูนย์รวมร้านค้าแอนทีค ภายในศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ ชั้น 1 ประกอบด้วยร้านจำหน่ายของที่ระลึกจากทั่วภูมิภาคของไทย, ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม, เครื่องหนัง, เครื่องประดับอัญมณี, ร้านตัดเสื้อผ้า สูท บูติก ทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี พร้อมอาหารรสเลิศ ร่วมชมการแสดงนาฏศิลป์จากร้านศาลาไทย และร้านอาหารฝรั่งเศสและเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ลา กรองซ์ แปร์ และบริเวณแกรนด์ฮอลล์ สำหรับจัดกิจกรรมตามเทศกาลต่าง ๆ ชั้น 2 ประกอบด้วยร้านค้าจำหน่ายผ้าไหม, เครื่องหนัง, เครื่องประดับอัญมณี, เครื่องเบญจรงค์, ร้านตัดเสื้อ, ร้านเสริมสวยสำหรับสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี รวมทั้งร้านอาหารบาร์บีคิว คอร์เนอร์ เปิดให้บริการ ชั้น 2 ทั้งมื้อกลางวันและมื้อค่ำ ชั้น 3 และชั้น 4 ประกอบด้วยร้านค้าด้านศิลปวัตถุที่รวบรวมศิลปวัตถุจากทั่วมุมโลก ทั้ง ศิลปะจีน, ศิลปะไทย และศิลปะยุโรป รวมทั้งของแต่งบ้านสไตล์แอนทีค กว่า 80 ร้าน และห้องนิทรรศการ ที่ใช้จัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินแนวหน้า โดยจัดสลับหมุนเวียนไปตลอดทั้งปี นอกจากนี้ทุกวันเสาร์แรกของเดือน โดยการบริหารงานของบริษัท รีเวอร์ไซค์ อ๊อคชั่น เฮ้าส์ จำกัด ได้จัดให้มีการประมูลศิลปะและโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่า ณ บริเวณห้องประมูล ชั้น 4 ซึ่งเป็นการประมูลต่อเนื่องมาตลอดระยะที่เปิดดำเนินการมากว่า 20 ปี นับได้ว่าเป็นผู้ดำเนินการประมูลที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด
0
อาคารเก่า ซอยแฟลตทรัพย์สิน ตรอกผีดิบ

ตรอกผีดิบ(ซอยแฟลตทรัพย์สิน)ในอดีตที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสัมพันธวงศ์อยู่ในวัดสัมพันธวงศ์(วัดเกาะ) โดยต้องมีสถานตำรวจนครบาลสัมพันธวงศ์(สถานตำรวจนครบาลพลับพลาไชย เขต ๒ ทุกวันนี้)อยู่ติดกับ เวลาออกปฏิบัติงานต้องไปด้วยกันทั้งคู่ ข้าราชการตำรวจเป็นฝ่ายจับกุม ส่วนข้าราชการอำเภอเป็นฝ่ายสอบสวนสำหรับท้องที่ของโรงพักวัดเกาะนั้น แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่มีคนอยู่อย่างอึกทึก มีโรงมหรสพ มีโรงแรม มีภัตตาคาร มีร้านอาหาร มีโรงยาฝิ่น มีสถานที่เล่นการพนัน มีสถานที่บริการทางกามารมณ์ มีผู้คนไปมาตลอดคืนตลอดวัน มีเสียงดังตลอดเวลา ส่วนนี้ก็คือในย่านถนนเยาวราชไปจนถึงถนนปทุมคงคาอีกส่วนหนึ่งคือ ในส่วนของตลาดน้อย เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ประกอบอาชีพต่างๆที่ไม่ค่อยมีเสียง เมื่อหมดเวลาแล้วก็เงียบสงบ ปราศจากเสียงดังรบกวน มีวัดพระพุทธศาสนาก็คือ วัดปทุมคงคา(วัดสำเพ็ง) วัดคริสต์ คือ วัดกาลหว่าร์(วัดแม่พระลูกประคำ)


ขอบคุณข้อมูลจาก : เจริญ ตันมหาพราน

อาคารเก่า ซอยแฟลตทรัพย์สิน ตรอกผีดิบ
อาคารเก่า ซอยแฟลตทรัพย์สิน ตรอกผีดิบ ตรอกผีดิบ(ซอยแฟลตทรัพย์สิน) ในอดีตที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสัมพันธวงศ์อยู่ในวัดสัมพันธวงศ์(วัดเกาะ) โดยต้องมีสถานตำรวจนครบาลสัมพันธวงศ์(สถานตำรวจนครบาลพลับพลาไชย เขต ๒ ทุกวันนี้)อยู่ติดกับ เวลาออกปฏิบัติงานต้องไปด้วยกันทั้งคู่ ข้าราชการตำรวจเป็นฝ่ายจับกุม ส่วนข้าราชการอำเภอเป็นฝ่ายสอบสวน สำหรับท้องที่ของโรงพักวัดเกาะนั้น แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่มีคนอยู่อย่างอึกทึก มีโรงมหรสพ มีโรงแรม มีภัตตาคาร มีร้านอาหาร มีโรงยาฝิ่น มีสถานที่เล่นการพนัน มีสถานที่บริการทางกามารมณ์ มีผู้คนไปมาตลอดคืนตลอดวัน มีเสียงดังตลอดเวลา ส่วนนี้ก็คือในย่านถนนเยาวราชไปจนถึงถนนปทุมคงคา อีกส่วนหนึ่งคือ ในส่วนของตลาดน้อย เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ประกอบอาชีพต่างๆที่ไม่ค่อยมีเสียง เมื่อหมดเวลาแล้วก็เงียบสงบ ปราศจากเสียงดังรบกวน มีวัดพระพุทธศาสนาก็คือ วัดปทุมคงคา(วัดสำเพ็ง) วัดคริสต์ คือ วัดกาลหว่าร์(วัดแม่พระลูกประคำ) โรงเรียนมัธยมมีโรงเรียนวัดปทุมคงคา ดังนั้นการตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยของตำรวจ จึงต้องหนักมาในทางส่วนมาก โรงพักวัดเกาะก็ตั้งอยู่ในส่วนที่อึกทึกนี้ ในส่วนนี้ถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบก็น้อย ถนนเยาวราชที่จะต้องดูแลก็มีตั้งแต่ตรอกกระทะไปถึงหน้าโรงภาพยนตร์โอเดียน นอกนั้นก็มี ถนนทรงวาด ถนนทรงสวัสดิ์ ถนนพาดสาย ถนนเซียงกง ถนนปทุมคงคา แต่ละถนนก็ยาวไม่เกิน ๕๐๐ เมตร ยานพาหนะที่แล่นไปมาประจำก็มีแต่รถราง สมัยนั้นรถมีไม่มากนัก คนเดินถนนก็ไม่ต้องระวังรถมากนัก รถจักรยานสามล้อพึ่งจะเกิด ยังมีไม่มาก ส่วนรถลากที่คนจีนลากก็เริ่มหายไปเรื่อยๆ โรงยาฝิ่นหรือสถานที่ซึ่งจัดไว้สำหรับให้คนที่ติดยาสูบฝิ่นในท้องที่ของโรงพักวัดเกาะมีสามแห่ง คือที่ถนนพาดสายหนึ่งแห่ง ที่ตรอกน่ำแช(ใกล้กับโรงภาพยนตร์เทฌกซัส)หนึ่งแห่ง และอีกแห่งหนึ่งที่ตลาดน้อย ผู้คนที่ติดฝิ่นเมื่อต้องการที่จะสูบฝิ่นก็ไปหาซื้อและสูบได้ ณ สถานที่สามแห่งนี้ โรงฝิ่นจึงเป็นสถานที่รวมผู้คนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีทั้งคนดีและคนร้าย จะมีคนในท้องที่ คนจรมาจากที่อื่น ข่าวดี ข่าวไม่ดี จึงมักจะได้ทราบจากโรงยาฝิ่น ในสมัยนั้นการเป็นคนสูบยาฝิ่นติด ถือกันว่าเป็นคนไม่ดี ไม่น่าคบหาสมาคม เป็นที่รังเกียจของสังคม แต่ก็ไม่ทั่วไป คนมีเงิน คนมีฐานะที่ติดฝิ่นยังมีอยู่ก็เข้าสังคมได้ ยังมีคนนับหน้าถือตาอยู่ ทางราชการเริ่มจะรังเกียจคนสูบฝิ่นแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ห้ามเด็ดขาดว่า แต่ถ้าข้าราชการคนใดติดฝิ่นจะต้องถูกออกจากราชการไป โรงยาฝิ่นลักษณะเหมือนอาคารหรือโรงเรียน มองดูทึมๆเหมือน“ซ่อง”อะไรสักอย่าง แสงสว่างมีไม่มากนัก ภายในแบ่งเป็นห้องเล็กๆ ค่อนข้างแคบ บรรจุคนได้ไม่เกิน ๔-๕ คน ยกแคร่สูงแค่หัวเข่า บนแคร่ปูเสื่อผิวไผ่ มีหมอนหิน(ทำด้วยกระเบื้อง) รูปสามเหลี่ยม ขนาดพอรองต้นคอ บ้องสูบยาฝิ่น ตะเกียงน้ำมันมะพร้าวชนิดหลอดหนา อัฐบริขารการสูบฝิ่น แผ่นใบลานขนาดเล็กปลายฝ่ามือ ๒-๓ ชิ้น เหล็กแหลมเรียวรูปร่างคล้ายเข็มโคร์เชต์ยาวราว ๑ คืบ เรียกว่า ไม้ตะเกียะ ใช้เขี่ยคลึงขณะย่างลนฝิ่นหรือใช้ทุ่มหรือเจาะเม็ดฝิ่น แล้วก็ยังมีกา ถาดถ้วยน้ำชาจีน กระเบื้องเล็กๆอีกชุดหนึ่ง ฝาหนังห้องมีตะขอแขวนเสื้อกางเกง ขณะสูบฝิ่นต้องถอดเสื้อกางเกง เหลือแต่กางเกงในหรือเสื้อกล้ามตัวเดียว ข้าวของในห้องสูบฝิ่น ล้วนแต่เก่าโบราณ นักเลงยาฝิ่นถือกันว่ายิ่งเก่าเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูขลังศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเท่านั้น ตอนนั้นกฎหมายอนุญาตสูบฝิ่น จัดที่จัดทางไว้ให้ แต่ก็ไม่นิยมแพร่หลาย ตรงข้ามกับเป็นสิ่งที่ถูกดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีคนรุ่นใหม่เข้าไปเฉียดใกล้ ในโรงยาฝิ่น ส่วนมากจะเป็นคนรุ่นเก่า และจีนรุ่นเก่าแก่ๆ ยกเว้น คนอีกพวกหนึ่ง นักเลงหัวไม้ ทรชน กากคน และนักสืบสายลับ และพวกนักอยากรู้ที่จงใจเข้าไปหาข่าว ใครจะไปจี้ ฆ่า กันไว้ที่ใด ใครจะคิดวางแผน จะทำอะไร ส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ได้จากจากแหล่งข่าวโรงยาฝิ่น หากจะสูบ อาแปะขี้ยาประจำโรงยาฝิ่น ก็จะเอาเงินจากเราไปซื้อฝิ่น ซึ่งเป็นฝิ่นของสรรพสามิต ในหลอดตะกั่วสีขาวหม่น รูปร่างเหมือนกระสุนปืนออโตฯ ๑๑ มม. แต่ปลายยาวเรียวกว่า ฝิ่นดำคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม หลอดหนึ่งสูบคำใหญ่ได้ ๘-๙ คำ ถ้าเป็นคำใหม่ ก็ต้องดูดได้ ๑๒ ถึง ๑๕ คำ สำหรับคอใหม่ยังดูดไม่ชำนาญ พอขี้ยาบริกรประคองกระเป๋าให้เข้าไปลนไฟ ก็จะดูดแบบกระตุกๆ อาการนี้ฝิ่นจะไหม้ไม่หมด ดูดต่อไปไม่ได้ พี่เลี้ยงต้องเอาไม้ตะเกียะทิ่มเม็ดฝิ่นให้เป็นรู ให้ดูดฝิ่นเผาใหม่ ฝิ่นได้ต่อไป ใครดูดฝิ่นเป็นหรือไม่เป็น สูบชำนาญแค่ไหน เขาดูกันตรงนี้ บรรยากาศโรงยาฝิ่น ต่างกันขาวกับดำกับโรงเหล้า ไม่มีอะไรวุ่นวายเอะอะมะเทิ่ง เงียบสงบ สุขุมเยือกเย็น มีแต่เสียงคุยกันพึมพำแผ่วเบา ความคิดความอ่าน ข้อความสนทนา ล้วนแต่เป็นแผนการชนิดดีดลูกคิดรางแก้ว ใครมีความลับอะไร มาเปิดเผยกันตรงหน้าบ้องฝิ่น โรงฝิ่นจึงเป็นแหล่งข่าวสำคัญของผู้คนในยุคนั้น ทางการไทย ประกาศเลิกเสพฝิ่นเด็ดขาด เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีการเผาฝิ่นและอุปกรณ์สูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวง นับเป็นการเผาฝิ่นครั้งที่ ๒ ของไทย หลังจากการประกาศเผาครั้งแรกในรัชกาลที่ ๓ การจับฝิ่นครั้งนั้น เป็นชนวนบาดหมาง สะสมหมักหมมจนต้องแก้แค้นเอาคืน ด้วยการปฏิวัติ เมื่อบ้านเมืองไม่มีโรงยาฝิ่นให้หาข่าวแล้ว แต่ข่าวปฏิวัติก็ยังพอมีให้อ่านสนุกสนาน จากสารพัดช่องทางสื่อสารสมัยใหม่ ส่วนข้างโรงยาฝิ่นตลาดน้อยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของวัดกาลหว่าร์(วัดแม่พระลูกประคำ) ในอดีตเป็นที่ตั้งของโป่วโล่ง(โรงทอผ้า) ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นสลัมเรียกว่า“ย่งเฮงลี่” ยังมีประตูปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้ ส่วนที่สองเป็นของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้งของโรงยาฝิ่นตลาดน้อย ส่วนสุดท้ายมีเนื้อที่ ๑๐๐ วาเป็นของตระกูลโปษยจินดา ซึ่งเป็นสลัมมีจำนวน ๓๐ หลัง เสียค่าเช่าเดือน ๑๐-๒๐ บาท วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๒ เวลา ๒๔.๐๐ น.เป็นวันและเวลาสุดท้ายที่จะมีการสูบฝิ่นในประเทศไทย และให้ถือว่าฝิ่นเป็นของต้องห้าม การกำจัดการสูบฝิ่นครั้งนั้น ทางการได้จัดทำอย่างชนิดกวาดล้างจริงๆ คือ ได้รวบรวมเอากลักฝิ่น บ้องสูบฝิ่นทั้งหลายมาเผาที่สนามหลวง เมื่อเวลา ๐๑.๐๐ น.ของวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ เมื่อฝิ่นกลายเป็นของต้องห้าม ยาเสพติดตัวใหม่ออกมาเป็นอัศวินในหมู่สิงห์อมควัน นั่นคือ “เฮโรอิน” ลูกเล็กเด็กแดงหากใครได้ลองสัมผัสจะมีสภาพคล้ายผีดิบที่เคลื่อนไหวได้ ดังนั้นในตรอกที่เคยเป็นที่ตั้งโรงยาฝิ่น จึงมีบรรดาสิงห์อมควันพลุ่กพล่านกันเป็นประจำ พอตกดึกบรรยากาศไม่ต่างจาก”ผีกัด”ในภาพยนตร์จีนแม้แต่นิดเดียว ในราวปี พ.ศ.๒๕๒๕ ตระกูลโปษยจินดาได้ประกาศขายที่ดินแห่งนี้ไปในราคา ๑ ล้านบาท ตอนไล่ที่ต้องจ่ายค่าขนย้ายหลังละ ๑ หมื่นบาท เสียไปจำนวน ๓ แสนบาท แต่มีเรือนไม้สักอยู่หลังหนึ่งสวยงามมาก ผลปรากฏคนที่อยู่ปล่อยเงินกู้ เก็บดอกเบี้ยโหด เป็นพ่อค้ายาเสพติดกันทั้งตระกูล ป้าดวงตะวันไปเจรจาด้วยวาจาว่า ที่ดินตรงนี้ฉันโอนให้เขาไปแล้วนะ โดยเฉพาะบ้านนี้ต้องจ่ายค่าขนย้ายไปสามหมื่นบาท ก็เป็นจำนวนไม่น้อย บ้านไม้สักเธอรื้อไปเลย เอาไปปลูกใหม่ที่ไหนก็ได้ แต่ลูกสาวบ้านหลังนี้ไปซื้อที่ดินแห่งหนึ่ง ออกปากว่า“ยังๆๆๆ” ยังจะขอตื้ออาศัยอยู่ ป้าดวงตะวันบอก เฮ้ยคนที่ซื้อมีอิทธิพลนะ ถ้ามันจ้างคนมาเผาบ้านจะหาว่าฉันไม่เตือน ปรากฏว่าครอบครัวนั้นไม่ยอมไป ครั้นวันอังคารที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๗ เวลาประมาณ ๐๔ น. เป็นช่วงฤดูหนาวอากาศชวนให้อยากจะนอนต่อภายใต้ผ้าห่มที่แสนอบอุ่น แต่ชาวบ้านเป็นพ่อค้าแม่ขายต้องรีบลุกขึ้นมาประกอบภารกิจเตรียมตัวไปขายของที่ตลาด แต่แล้วสายตาบางคนก็เหลือบไปเห็นคนถือปี๊ปใบหนึ่ง เที่ยวสาดตามฝากระดานบ้านในความมืด ซึ่งครั้งแรกก็ไม่มีใครให้ความสนใจ ชั่วพริบตาเดียวสลัมไม้แห่งนั้นได้กลายเป็นทะเล ท่ามกลางความโกลาหลของชาวบ้าน แต่ก็ไม่มีผู้เสียชีวิต เพราะคนส่วนใหญ่ตื่นกันเกือบหมดแล้ว ป้าดวงตะวันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยดับ เพราะเป็นหัวหน้าบรรเทาสาธารณะภัย เคยได้รับโล่ห์จากสมเด็จพระบรมโอรสิราช ที่วัดจักวรรดิราชาวาส สมัยนั้นหม่อมเจตน์จันทร ประวิทย์ ซึ่งเป็นเพื่อนกัน บอกว่าช่วยกันหน่อยตรงนี้มีโรงงานน้ำมันหอย(บ้านรัชบริรักษ์) นักดับเพลิงถึงได้เลี้ยงบ้านหลังนั้นไว้ ชาวบ้านบางรายได้กล่าวโทษป้าดวงตะวันว่า“เป็นผู้ว่าจ้างวางเพลิง” ป้าดวงตะวันบอก “ถ้าฉันเผาจะจ่ายเงินให้ไปทำไม” หลังจากนั้นไม่นานคนที่เป็นแม่ก็เป็นอัมพาต นอนนิ่งเฉยไม่กระดิกเคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ ลูกหลานไม่เหลียวแล ในที่สุดก็เสียชีวิต ต่อมาคนที่เป็นลูกสาวก็ล้มป่วยเสียชีวิตตามไป แต่เดิมโรงฝิ่นเป็นของทรัพย์สินส่วนสินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อได้มีการปลูกสร้างใหม่ จึงตั้งชื่อว่า“แฟลตทรัพย์สิน”จนถึงปัจจุบัน
0
The Corner House Bangkok

พ.ศ. 2455 ตึกชัยพัฒนสินเริ่มต้นจากการเป็นโรงงานน้ำอัดลมต่อมา คุณตาเสริมชัย ศรีสมวงศ์ เปลี่ยนให้กลายเป็นกิจการรองเท้า Jump Master อยู่ราว 40 ปีหลังคุณตาเสียชีวิต แชมป์-สุกฤษฐิ์ ศรหิรัญ และ ปิ๊ง-ฐิติภา ศรหิรัญ หลานทั้งสองเนรมิตโกดังเก่าที่ถูกทิ้งร้างให้เป็น Jump Master Skate Haus ลานสเกตบอร์ดในร่ม เพื่อนำร่องสู่โปรเจกต์ใหญ่คือการแปลงโฉมชัยพัฒนสินให้กลายเป็น ‘The Corner House’ น้องใหม่คนล่าสุดแห่งวงการ Community Space ไม่ได้เป็นแค่ตึกหัวมุมโบราณตั้งตระหง่านให้คนสัญจรผ่านมาแล้วไป แต่อัดแน่นไปด้วยขออร่อย ดนตรี ศิลปะ และงานสร้างสรรค์


ขอบคุณข้อมูลจาก : readthecloud

Citizen Tea Canteen of nowhere

Citizen of Nowhere แบรนด์หัตถกรรมร่วมสมัยของ คุณศรัณย์ เย็นปัญญา ดีไซเนอร์มากฝีมือแห่ง 56thStudio ซึ่งได้มีการหยิบจับเอาภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และงานฝีมือท้องถิ่นของเหล่าชาวบ้านชายขอบที่หลายคนอาจมองข้ามมาปัดฝุ่นใหม่ ต่อยอดเป็นงานดีไซน์ร่วมสมัยตามคอนเซ็ปต์ ‘Empowering Underdog Culture’ ก่อนจะนำมาเชื่อมโยงเข้ากับพื้นที่ ‘ย่านตลาดน้อย’ ที่เรียกได้ว่ามีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผสมผสานความเก่า-ใหม่ ด้วยกลิ่นอายของ ‘วัฒนธรรมโกปี๊’ หรือ ‘สภาชา-กาแฟไทย’ เพื่อให้ที่นี่เป็นเหมือนพื้นที่ที่เปิดโอกาส เปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ผู้คนทั่วไปได้เข้ามาแลกเปลี่ยนพูดคุย ใช้ช่วงเวลาดี ๆ ไปกับการจิบชาชิลล์ ๆ ในบรรยากาศสบาย ๆ ได้เข้ามาทำความรู้จักกับแบรนด์ Citizen of Nowhere มากขึ้น พร้อมช้อปสินค้าของทางแบรนด์ไปในตัว ภายใต้ชื่อ ‘Citizen Tea Canteen of Nowhere


ขอบคุณข้อมูลจาก : bkkmenu

Hong Sieng Kong

ฮงเซียงกง" (Hong Sieng Kong) แห่งย่านตลาดน้อย นับเป็นจุดเช็คอินที่ร้อนแรง ได้รับความสนใจจากผู้มาเยือนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเหล่า Cafe-hoppers คู่รัก กลุ่มครอบครัว หรือผู้สนใจสถาปัตยกรรมและเรื่องราวของอาคารในย่านเก่า


ขอบคุณข้อมูลจาก : Hong Sieng Kong ฮงเซียงกง

To More

To More Bar แห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากละครเพลงชื่อดังระดับโลกอย่าง Moulin Rouge ที่บอกเล่าเรื่องราวหลังม่านโรงละครยุค 90s และกลิ่นอายของเเจ๊สคลับยุค 40-50s มาออกแบบตกแต่งได้อย่างชัดเจน เริ่มตั้งแต่บานประตูไม้สีเข้มตรงทางเข้า ไปจนถึงเคาน์เตอร์บาร์คลาสสิกทรงโค้งที่ทำมาจากไม้เก่า รายล้อมด้วยเก้าอี้บาร์ทรงกลมไร้พนักพิงแบบยุคก่อน รวมถึงโซฟาหนังสีสวยที่ซ่อนตัวอยู่บริเวณโซนนั่งด้านใน และเพิ่มกิมมิกด้วยม่านกำมะหยี่สีแดงที่สามารถเลื่อนเปิดปิดให้เป็นพื้นที่ Private Zone สุดส่วนตัว


ขอบคุณข้อมูลจาก : bkkmenu

Timo and Tintin

Timo and Tintin เกิดจากการรีโนเวทตึกแถวเก่า ให้กลายมาเป็นคาเฟ่สุดน่ารัก สุดแนว สไตล์ลอฟท์หน่อยๆ วินเทจนิดๆ มีกลิ่นอายความเป็นคาเฟ่ญี่ปุ่นอยู่แบบกรุบกริบๆ ตัวร้านไม่กว้างมาก แต่มีพื้นที่ให้Hopping ได้ถึง 5 ชั้นแบบจัดเต็ม


ขอบคุณข้อมูลจาก : trueid

Recordoffee

Recordoffee ที่เกิดจากแพสชันส่วนตัวที่หลงใหลในแผ่นเสียงมาตั้งแต่วัยรุ่นกับความเชื่อที่ว่า “แผ่นเสียงเป็นประวัติศาสตร์ที่ดีที่สุดและมันหลอกไม่ได้ แผ่นเสียงบันทึกมายังไง มันก็ส่งเสียงออกไปแบบนั้น”

จึงกลายเป็นคอนเซปต์ที่อยากให้ทุกคนพักชีวิตที่เร่งรีบ ใช้เวลากับกาแฟสักแก้ว แล้วนั่งลงฟังเพลงจากแผ่นเสียงที่คุณชอบในรูปแบบอนาล็อก ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่ต่างออกไปจากการฟังเพลงในยุคสตรีมมิง


ขอบคุณข้อมูลจาก : thestandard

Very Nice Bar

Very Nice Bar คือบาร์อิซากายะเล็ก ๆ ขนาดหนึ่งคูหา ที่มาพร้อมบรรยากาศสบาย ๆ ตั้งอยู่ในย่านสุดชิคอย่าง ‘ตลาดน้อย’ พร้อมให้ทุกคนแวะมานั่งเล่นผ่อนคลาย ได้ฟีลเหมือนมาชิลล์ที่บ้านเพื่อน โดยเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มเพื่อน 5 คนในแวดวงดีไซน์ ศิลปะ และดนตรี ที่อยากมีร้านนั่งกินดื่มง่าย ๆ และไม่วุ่นวาย จึงเกิดเป็นบาร์สไตล์อิซากายะสุดโฮมมี่แห่งนี้ เพื่อตอบโจทย์สำหรับใครที่อยากหลีกหนีความวุ่นวายมาปล่อยตัวปล่อยใจแบบสบาย ๆ พร้อมจิบเครื่องดื่มแก้วโปรดที่ถูกใจ เคล้าเสียงเพลงเพราะ ๆ ในยามค่ำคืน


ขอบคุณข้อมูลจาก : bkkmenu

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

ตลาดน้อย Guidebook เดินเมือง

ตลาดน้อยย่านเก่าที่ยังเก๋าอยู่ ย่านนี้ถือเป็นย่านชุมชนคนจีนเลยก็ว่าได้ เพราะคนจีนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ขยับขยายมาจากย่านสำเพ็งและเยาวราช ที่สำคัญที่นี่การเดินทางมาก็ง่ายและสะดวกมาก ทั้ง MRT หัวลำโพง หรือมาจากย่านเยาวราชทางวัดไตรมิตร และหรือมาทางบางรักเจริญกรุงก็ได้เช่นกัน