ศาลเจ้าเซียงกง
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
ที่ตั้ง
เซียงกง ตลาดค้าขายเครื่องจักร เครื่องยนต์ และของใช้อื่นๆ ที่เกี่ยวกับเหล็ก ที่ตั้งอยู่ที่ถนนทรงวาด ใกล้กับวัดสำเพ็ง หรือวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร พระอารามหลวง ที่อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ ครองหัวใจคนที่แสวงหาอะไหล่รถยนต์ หรือเครื่องยนต์มือสองตลอดเวลา จนชื่อเซียงกงกลายเป็นเครื่องหมายแหล่งการค้าสินค้ามือ 2 ที่มีคุณภาพ
----------------
เซียงกง เป็นกลุ่มธุรกิจจำหน่ายอะไหล่ ชิ้นส่วนประกอบ และเครื่องยนต์สำหรับรถใช้แล้ว คำว่า เชียงกง เพี้ยนมาจากคำว่า เซียงกง อันเป็นชื่อของศาลเจ้าเซียงกงเอง ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนทรงวาดส่วนที่ติดกับถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ มหานคร เป็นชุมชนชาวจีน ในย่านนี้ถูกเรียกว่า เซียงกง
----------------
ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ชุมชนเซียงกงได้เริ่มทำธุรกิจเก็บของเก่า เช่น จักรยาน นำมาซ่อมปรับปรุง หรือแยกชิ้นส่วนออกไปจำหน่าย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ธุรกิจนี้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีรถที่ใช้ในสงครามปลดประจำการลงเป็นอันมาก แต่ธุรกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนต้องมีการนำเข้าอะไหล่จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอะไหล่ใช้แล้วมีบทบาทสำคัญในการผลิตรถต่างๆ เช่น รถสามล้อเครื่อง หรือรถตุ๊กตุ๊ก รถอีแต๋น
----------------
ศาลเจ้าเซียงกง สร้างขึ้นในสมัยเสียนฟง แห่งราชวงศ์ชิง เมื่อ พ.ศ. 2397 หรือ ค.ศ. 1854 และชาวฮกเกี้ยนได้นำรูปปั้นท่านมาประดิษฐานที่นี่ ส่วนอาคารศาลเจ้าที่ตั้งริมถนนทรงวาดได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายยุค ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยได้สร้างทีกง หรือลายมังกรสำเร็จ เป็นศาลเจ้าที่โอ่อ่าโดดเด่นแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
ศาลเจ้าเซียงกง
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
เซียงกง ตลาดค้าขายเครื่องจักร เครื่องยนต์ และของใช้อื่นๆ ที่เกี่ยวกับเหล็ก ที่ตั้งอยู่ที่ถนนทรงวาด ใกล้กับวัดสำเพ็ง หรือวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร พระอารามหลวง ที่อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ ครองหัวใจคนที่แสวงหาอะไหล่รถยนต์ หรือเครื่องยนต์มือสองตลอดเวลา จนชื่อเซียงกงกลายเป็นเครื่องหมายแหล่งการค้าสินค้ามือ 2 ที่มีคุณภาพ
----------------
เซียงกง เป็นกลุ่มธุรกิจจำหน่ายอะไหล่ ชิ้นส่วนประกอบ และเครื่องยนต์สำหรับรถใช้แล้ว คำว่า เชียงกง เพี้ยนมาจากคำว่า เซียงกง อันเป็นชื่อของศาลเจ้าเซียงกงเอง ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนทรงวาดส่วนที่ติดกับถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ มหานคร เป็นชุมชนชาวจีน ในย่านนี้ถูกเรียกว่า เซียงกง
----------------
ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ชุมชนเซียงกงได้เริ่มทำธุรกิจเก็บของเก่า เช่น จักรยาน นำมาซ่อมปรับปรุง หรือแยกชิ้นส่วนออกไปจำหน่าย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ธุรกิจนี้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีรถที่ใช้ในสงครามปลดประจำการลงเป็นอันมาก แต่ธุรกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนต้องมีการนำเข้าอะไหล่จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอะไหล่ใช้แล้วมีบทบาทสำคัญในการผลิตรถต่างๆ เช่น รถสามล้อเครื่อง หรือรถตุ๊กตุ๊ก รถอีแต๋น
----------------
ศาลเจ้าเซียงกง สร้างขึ้นในสมัยเสียนฟง แห่งราชวงศ์ชิง เมื่อ พ.ศ. 2397 หรือ ค.ศ. 1854 และชาวฮกเกี้ยนได้นำรูปปั้นท่านมาประดิษฐานที่นี่ ส่วนอาคารศาลเจ้าที่ตั้งริมถนนทรงวาดได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายยุค ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยได้สร้างทีกง หรือลายมังกรสำเร็จ เป็นศาลเจ้าที่โอ่อ่าโดดเด่นแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้
STAMM Book
ไม่พบ STAMM Book
Review
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ศาลเจ้าเซียงกง