สะพานนี้จงสวัสดี
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
ที่ตั้ง
สะพานจงสวัสดี
เมื่อ ๔๓-๔๖ ปีก่อนบริเวณพื้นที่ตลาดสวัสดีเป็นของกรมธนารักษ์ ตั้งแต่ซอยโชฎึกถึงกำแพงศาลเจ้าไท่ฮั้วเป็นโรงน้ำแข็งทั้งหมด ภรรยาคุณเสงี่ยม ฮุนตระกูล เป็นเจ้าของตลาดเปิดโรงน้ำแข็งโหงวฮั้ว เป็นโรงน้ำแข็งที่ใหญ่มาก ไม่มีโรงน้ำแข็งอื่นอยู่ติดแถบนี้ด้วย
แต่โรงน้ำแข็งนายเลิศจะตั้งอยู่อีกด้านหนึ่งของสะพานพิทยเสถียร
ตรงโรงน้ำแข็งเก่ามีสะพานไม้ใหญ่ เพราะมีรถ ๖ ล้อแล่นเข้า-ออก เพื่อส่งน้ำแข็ง
เลยสะพานไม้เล็กน้อยจะมีบันไดไม้ขึ้นลงจากคลองผดุงกรุงเกษมยังปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้
ถ้าเข้าไปจะเป็นโรงถ่านที่เตรียมนำมาลงเรือในคลองผดุงกรุงเกษม ส่วนโรงถ่านที่ขึ้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ตลาดน้อย และสามารถทะลุไปยังซอยโชฎึกได้ นายเชิด(คนทำงานโรงถ่าน)มาขึ้นถ่านที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม อายุรุ่นคราวเดียวคุณวิเชียร กมลงามพิพัฒน์ ประธานชุมชนสวัสดี
สมัยก่อนตลาดสวัสดีคึกคักมากเหมือนแพ้ตลาดมหานาค แม้แต่ตลาดน้อยยังสู้ไม่ได้ เพราะตลาดสวัสดีเป็นตลาดขายส่ง
โปริสภามีสะพานปูนไม่สูง ลงมาเป็นสะพานไม้ที่๑ ลงมาอีกเป็นสะพานปูนสวัสดีเล็กน้อย สะพานไม้สวัสดีที่จะวิ่งเข้าสลัม สมัยก่อนคลองผดุงกรุงเกษมน้ำไหลขึ้นลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้สะดวกทั้งด้านริเวอร์ซิตี้และเทเวศน์ และสะพานไม้แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง เช่น ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เรื่อง“เต้าฮวยไล้เหลี่ยว” ของ กำธร ทัพคัลไลย กำกับ ฉากที่ สมบัติ เมทะนี หาบเต้าฮวยเดินขึ้นสะพานไม้แห่งนี้ที่ทั้งผุทั้งจะพัง ดูน่าสงสารมาก
แต่ก่อนเรือบรรทุกสินค้าจากมีนบุรี สวนในย่านฝั่งธน ตลาดมหานาค เข้ามาสู่คลองผดุงกรุงเกษมเยอะมาก เพราะมีสะพานสูงสามารถเข้าได้หมด
ปี พ.ศ.๒๕๐๓ สร้างสะพานปูนนี้จงสวัสดีสูงชัน
สมัยนั้นรถยนต์แล่นมาจากบางรักต้องมาขึ้นสะพานพิทยเสถียร เพื่อแล่นเข้าสู่ตลาดน้อย ไปเยาวราชหรือย่านถิ่นบางกอก
ส่วนรถยนต์ที่แล่นมาจากเยาวราชต้องแล่นขึ้นสะพานสวัสดีที่สูงชัน เพื่อไปบางรัก วันเลวคืนร้าย รถยนต์เกิดเบรกแตก หรือคนขับหลับใน รถแล่นเข้าในร้านค้าที่อยู่เชิงสะพานฝั่งวัดมหาพฤฒาราม สินค้าในร้านพังพินาศเสียหายมากมาย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า“สวัสดี”
บางแหล่งข่าวก็ว่า นายสวัสดิ์ เหตระกูล เจ้าของโรงพิมพ์ประชาช่างมีส่วนออกทุนทรัพย์ จึงได้ตั้งชื่อเป็นเกียรติไว้เป็นอนุสรณ์
สมัยนั้นรถเมล์ประจำทางเก็บค่าโดยสารคนละ ๗๕ สตางค์ รถเมล์จะต้องเกิดอุบัติเหตุแล่นเข้าร้านค้าเชิงสะพานบ่อยมาก อย่างน้อยก็ปีละครั้ง มากหน่อยก็เดือนเว้นเดือน บางทีเกิดขึ้นทุกเดือนหรือเดือนละสองครั้งก็เคยเห็น
หลัง พ.ศ.๒๕๑๕ จึงรื้อสะพานนี้จงสวัสดี
พ.ศ.๒๕๒๐ สร้างสะพานให้เป็นพื้นราบติดถนน
เมื่อสะพานนี้จงสวัสดียุบ รถยนต์เปลี่ยนทิศไปแล่นข้ามสะพานโปริสภา ฮวงจุ้ยตลาดสวัสดีก็เริ่มเปลี่ยน กิจการก็เริ่มซบเซา อาจจะเกิดจากห้ามรถเมล์วิ่ง ผู้คนก็เลยไม่ค่อยเดินผ่าน จนกลายสถานที่นอกสายตา ปัจจุบันร้านขายผลไม้สำหรับงานมงคลสมรสก็ยังเหลืออยู่สองเจ้า ร้านเฮียจั๊วเสียชีวิตไปแล้ว เป็นร้านเก่าแก่ที่สุด ทุกวันนี้ลูกหลานก็ดำเนินกิจการต่อสามสามชั่วคนแล้ว ร้านดอกไม้ก็มีเป็นร้านยายเยย เสียชีวิตตอนอายุ ๘๐-๙๐ ปี ปัจจุบันลูกหลานรับช่วงต่อจากยายเยย
สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น เมื่อมีเขื่อนระบาย(โรงกรองน้ำ)กั้นทุกอย่างก็จบสิ้น วัตถุประสงค์การสร้างเขื่อนระบาย(โรงกรองน้ำ)นี้ เพื่อให้พื้นที่บริเวณคลองผดุงกรุงเกษมน้ำไม่ท่วม แต่พอปิดก็ไม่มีเรือวิ่ง น้ำในคลองผดุงกรุงเกษมก็มีแต่น้ำในเขตพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในระบายลงมา จุดนี้คลองผดุงกรุงเกษมรองรับน้ำ แล้วก็ระบายออกอย่างเดียว ทำให้น้ำในคลองผดุงกรุงเกษมดูความสะอาดไม่เจอ
สมัยก่อนนอกจากพื้นที่ตลาดสวัสดี นอกนั้นมีรั้วสังกะสีกั้นหมด แถวนี้มีสำนักพิมพ์ดาวสยาม โรงพิมพ์ตงฮั้ว ประชาช่าง(นสพ.เดลินิวส์เดิม) มีอยู่ช่วงหนึ่งประมูลพิมพ์แบบเรียนชั้นประถมเกือบทั้งหมด ของกระทรวงศึกษาการได้ แต่ต่อมาอาจจะประมูลไม่ได้ ตัวเลขไม่มี หนังสือแบบเรียน ก.ไก่ ข.ไข่ เริ่มล้าสมัย จึงไม่มีหนังสือหลักเลี้ยงชีพ ในที่สุดต้องเลิกกิจการไปเอง แล้วก็ดาวสยาม ในซอยยังมีโรงพิมพ์เล็กๆอีก ๑ แห่งอีก พิมพ์สมุดขาย
นสพ.ดาวสยาม มาตั้งอยู่ที่นี้เพียง ๓ ปี เพราะครั้งแรกขอเป็นตั้งเป็นสำนักงาน แต่ได้แอบเอาเครื่องพิมพ์เข้ามาตั้ง พอตกกลางคืนพิมพ์หนังสือพิมพ์ดังสนั่นหวั่นไหว ชาวบ้านเดือดร้อนไม่เป็นอันหลับนอน จึงได้มีการฟ้องร้องกัน ในที่สุดก็ต้องถอยออกไปตามระเบียบ
สะพานนี้จงสวัสดี
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
สะพานจงสวัสดี
เมื่อ ๔๓-๔๖ ปีก่อนบริเวณพื้นที่ตลาดสวัสดีเป็นของกรมธนารักษ์ ตั้งแต่ซอยโชฎึกถึงกำแพงศาลเจ้าไท่ฮั้วเป็นโรงน้ำแข็งทั้งหมด ภรรยาคุณเสงี่ยม ฮุนตระกูล เป็นเจ้าของตลาดเปิดโรงน้ำแข็งโหงวฮั้ว เป็นโรงน้ำแข็งที่ใหญ่มาก ไม่มีโรงน้ำแข็งอื่นอยู่ติดแถบนี้ด้วย
แต่โรงน้ำแข็งนายเลิศจะตั้งอยู่อีกด้านหนึ่งของสะพานพิทยเสถียร
ตรงโรงน้ำแข็งเก่ามีสะพานไม้ใหญ่ เพราะมีรถ ๖ ล้อแล่นเข้า-ออก เพื่อส่งน้ำแข็ง
เลยสะพานไม้เล็กน้อยจะมีบันไดไม้ขึ้นลงจากคลองผดุงกรุงเกษมยังปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้
ถ้าเข้าไปจะเป็นโรงถ่านที่เตรียมนำมาลงเรือในคลองผดุงกรุงเกษม ส่วนโรงถ่านที่ขึ้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ตลาดน้อย และสามารถทะลุไปยังซอยโชฎึกได้ นายเชิด(คนทำงานโรงถ่าน)มาขึ้นถ่านที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม อายุรุ่นคราวเดียวคุณวิเชียร กมลงามพิพัฒน์ ประธานชุมชนสวัสดี
สมัยก่อนตลาดสวัสดีคึกคักมากเหมือนแพ้ตลาดมหานาค แม้แต่ตลาดน้อยยังสู้ไม่ได้ เพราะตลาดสวัสดีเป็นตลาดขายส่ง
โปริสภามีสะพานปูนไม่สูง ลงมาเป็นสะพานไม้ที่๑ ลงมาอีกเป็นสะพานปูนสวัสดีเล็กน้อย สะพานไม้สวัสดีที่จะวิ่งเข้าสลัม สมัยก่อนคลองผดุงกรุงเกษมน้ำไหลขึ้นลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้สะดวกทั้งด้านริเวอร์ซิตี้และเทเวศน์ และสะพานไม้แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง เช่น ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เรื่อง“เต้าฮวยไล้เหลี่ยว” ของ กำธร ทัพคัลไลย กำกับ ฉากที่ สมบัติ เมทะนี หาบเต้าฮวยเดินขึ้นสะพานไม้แห่งนี้ที่ทั้งผุทั้งจะพัง ดูน่าสงสารมาก
แต่ก่อนเรือบรรทุกสินค้าจากมีนบุรี สวนในย่านฝั่งธน ตลาดมหานาค เข้ามาสู่คลองผดุงกรุงเกษมเยอะมาก เพราะมีสะพานสูงสามารถเข้าได้หมด
ปี พ.ศ.๒๕๐๓ สร้างสะพานปูนนี้จงสวัสดีสูงชัน
สมัยนั้นรถยนต์แล่นมาจากบางรักต้องมาขึ้นสะพานพิทยเสถียร เพื่อแล่นเข้าสู่ตลาดน้อย ไปเยาวราชหรือย่านถิ่นบางกอก
ส่วนรถยนต์ที่แล่นมาจากเยาวราชต้องแล่นขึ้นสะพานสวัสดีที่สูงชัน เพื่อไปบางรัก วันเลวคืนร้าย รถยนต์เกิดเบรกแตก หรือคนขับหลับใน รถแล่นเข้าในร้านค้าที่อยู่เชิงสะพานฝั่งวัดมหาพฤฒาราม สินค้าในร้านพังพินาศเสียหายมากมาย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า“สวัสดี”
บางแหล่งข่าวก็ว่า นายสวัสดิ์ เหตระกูล เจ้าของโรงพิมพ์ประชาช่างมีส่วนออกทุนทรัพย์ จึงได้ตั้งชื่อเป็นเกียรติไว้เป็นอนุสรณ์
สมัยนั้นรถเมล์ประจำทางเก็บค่าโดยสารคนละ ๗๕ สตางค์ รถเมล์จะต้องเกิดอุบัติเหตุแล่นเข้าร้านค้าเชิงสะพานบ่อยมาก อย่างน้อยก็ปีละครั้ง มากหน่อยก็เดือนเว้นเดือน บางทีเกิดขึ้นทุกเดือนหรือเดือนละสองครั้งก็เคยเห็น
หลัง พ.ศ.๒๕๑๕ จึงรื้อสะพานนี้จงสวัสดี
พ.ศ.๒๕๒๐ สร้างสะพานให้เป็นพื้นราบติดถนน
เมื่อสะพานนี้จงสวัสดียุบ รถยนต์เปลี่ยนทิศไปแล่นข้ามสะพานโปริสภา ฮวงจุ้ยตลาดสวัสดีก็เริ่มเปลี่ยน กิจการก็เริ่มซบเซา อาจจะเกิดจากห้ามรถเมล์วิ่ง ผู้คนก็เลยไม่ค่อยเดินผ่าน จนกลายสถานที่นอกสายตา ปัจจุบันร้านขายผลไม้สำหรับงานมงคลสมรสก็ยังเหลืออยู่สองเจ้า ร้านเฮียจั๊วเสียชีวิตไปแล้ว เป็นร้านเก่าแก่ที่สุด ทุกวันนี้ลูกหลานก็ดำเนินกิจการต่อสามสามชั่วคนแล้ว ร้านดอกไม้ก็มีเป็นร้านยายเยย เสียชีวิตตอนอายุ ๘๐-๙๐ ปี ปัจจุบันลูกหลานรับช่วงต่อจากยายเยย
สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น เมื่อมีเขื่อนระบาย(โรงกรองน้ำ)กั้นทุกอย่างก็จบสิ้น วัตถุประสงค์การสร้างเขื่อนระบาย(โรงกรองน้ำ)นี้ เพื่อให้พื้นที่บริเวณคลองผดุงกรุงเกษมน้ำไม่ท่วม แต่พอปิดก็ไม่มีเรือวิ่ง น้ำในคลองผดุงกรุงเกษมก็มีแต่น้ำในเขตพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในระบายลงมา จุดนี้คลองผดุงกรุงเกษมรองรับน้ำ แล้วก็ระบายออกอย่างเดียว ทำให้น้ำในคลองผดุงกรุงเกษมดูความสะอาดไม่เจอ
สมัยก่อนนอกจากพื้นที่ตลาดสวัสดี นอกนั้นมีรั้วสังกะสีกั้นหมด แถวนี้มีสำนักพิมพ์ดาวสยาม โรงพิมพ์ตงฮั้ว ประชาช่าง(นสพ.เดลินิวส์เดิม) มีอยู่ช่วงหนึ่งประมูลพิมพ์แบบเรียนชั้นประถมเกือบทั้งหมด ของกระทรวงศึกษาการได้ แต่ต่อมาอาจจะประมูลไม่ได้ ตัวเลขไม่มี หนังสือแบบเรียน ก.ไก่ ข.ไข่ เริ่มล้าสมัย จึงไม่มีหนังสือหลักเลี้ยงชีพ ในที่สุดต้องเลิกกิจการไปเอง แล้วก็ดาวสยาม ในซอยยังมีโรงพิมพ์เล็กๆอีก ๑ แห่งอีก พิมพ์สมุดขาย
นสพ.ดาวสยาม มาตั้งอยู่ที่นี้เพียง ๓ ปี เพราะครั้งแรกขอเป็นตั้งเป็นสำนักงาน แต่ได้แอบเอาเครื่องพิมพ์เข้ามาตั้ง พอตกกลางคืนพิมพ์หนังสือพิมพ์ดังสนั่นหวั่นไหว ชาวบ้านเดือดร้อนไม่เป็นอันหลับนอน จึงได้มีการฟ้องร้องกัน ในที่สุดก็ต้องถอยออกไปตามระเบียบ
กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้
STAMM Book
ไม่พบ STAMM Book
Review
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
สะพานนี้จงสวัสดี