วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวน ตลาดน้อย)

ค้นพบโดย

ไปเที่ยวกันมั้ย

0

ที่ตั้ง

ประวัติความเป็นมา ภูมิหลังของวัดญวนในประเทศไทยพอจะประมาณได้ว่า เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากมีการตั้งหลักแหล่งของชาวญวน ที่อพยพลี้ภัยสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยธนบุรี เมื่อมีการตั้งวัดญวนขึ้น ก็ได้นิมนต์พระสงฆ์ ซึ่งบวชมาจากประเทศญวนมาประจำในประเทศไทย อุโบสถ วัดอุภัยราชบำรุง ตลาดน้อย กรุงเทพฯ อุโบสถ วัดอุภัยราชบำรุง ตลาดน้อย กรุงเทพฯ คณะสงฆ์ญวนชุดแรกๆ มีพระผู้ใหญ่ ที่สำคัญ ๒ องค์ คือ พระครูคณาณัมสมณาจารย์ (ฮึง) และพระครูสมณานัมสมณาจารย์ (เหยี่ยวกร่าม) เป็นผู้นำของคณะสงฆ์อนัมนิกาย ในประเทศไทย ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ คณะสงฆ์ญวนในประเทศไทย ได้ขาดการติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวน และได้กลับมาติดต่อสัมพันธ์กันอีกครั้ง ในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ในสมัยนั้น มีพระสงฆ์ญวนเข้ามาในประเทศไทยอีก แต่เนื่องจากขณะนั้นญวนตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยไม่สามารถติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวนได้สะดวกนัก พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบประเพณี และวัตรปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับพระสงฆ์ไทยหลายประการ เช่น การออกบิณฑบาต การทำวัตรเช้าและเย็น การถือวิกาลโภชนา และการผนวกพิธีกรรมฝ่ายเถรวาท เช่น การมีพิธีทอดกฐิน และทอดผ้าป่า พิธีบวช พิธีเข้าพรรษา อุโบสถวัดอุภัยราชบำรุงหลังเก่า อุโบสถวัดอุภัยราชบำรุงหลังเก่า วัดญวนในประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นก่อนวัดจีน ในรัชกาลที่ ๓ ระหว่างที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงพระผนวชอยู่ ทรงสนพระทัย ในลัทธิประเพณี และการปฏิบัติของพระสงฆ์ฝ่ายมหายาน ซึ่งในขณะนั้น พระสงฆ์ฝ่ายมหายานมีแต่ฝ่ายอนัมนิกายยังไม่มีฝ่ายจีนนิกาย จึงโปรดให้นิมนต์ องฮึง เจ้าอาวาสวัดญวนตลาดน้อยในขณะนั้นมาเข้าเฝ้า ซึ่งทรงถูกพระราชอัธยาศัยเป็นอย่างดี เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกาย เข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และอยู่ในสถานะดังกล่าวเรื่อยมา แม้จะมีการผลัดเปลี่ยนรัชกาลมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงแรกที่วัดญวนได้เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร วัดญวนแห่งแรกๆ เช่น วัดญวนตลาดน้อย ก็ได้รับพระราชทานเงินช่วยเหลือในการปฏิสังขรณ์ และยังโปรดเกล้าฯ ให้พระสงฆ์ญวนเข้าเฝ้าเป็นประจำ รวมทั้งให้มีพิธีกรรมตามความเชื่อของฝ่ายอนัมนิกาย ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงปฏิบัติตามแบบอย่างสมเด็จพระบรมชนกนาถ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ การอุปถัมภ์ และการปฏิสังขรณ์วัดญวน โดยพระราชทานเงินช่วยเหลือ ในการปฏิสังขรณ์วัดญวนตลาดน้อยอีกครั้ง และได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดอุภัยราชบำรุง คำว่า "อุภัย" แปลว่า สอง แสดงให้เห็นถึงความหมายว่า เป็นวัดที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ จากพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ขององฮึง เจ้าอาวาสวัด เป็นที่ "พระครูคณานัมสมณาจารย์" เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอนัมนิกาย ในประเทศไทย ต่อมายังได้พระราชทานนามวัดญวน และวัดจีนอื่นๆ อีกหลายวัดด้วย
วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวน ตลาดน้อย)

ค้นพบโดย

ไปเที่ยวกันมั้ย

0
ประวัติความเป็นมา ภูมิหลังของวัดญวนในประเทศไทยพอจะประมาณได้ว่า เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากมีการตั้งหลักแหล่งของชาวญวน ที่อพยพลี้ภัยสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยธนบุรี เมื่อมีการตั้งวัดญวนขึ้น ก็ได้นิมนต์พระสงฆ์ ซึ่งบวชมาจากประเทศญวนมาประจำในประเทศไทย อุโบสถ วัดอุภัยราชบำรุง ตลาดน้อย กรุงเทพฯ อุโบสถ วัดอุภัยราชบำรุง ตลาดน้อย กรุงเทพฯ คณะสงฆ์ญวนชุดแรกๆ มีพระผู้ใหญ่ ที่สำคัญ ๒ องค์ คือ พระครูคณาณัมสมณาจารย์ (ฮึง) และพระครูสมณานัมสมณาจารย์ (เหยี่ยวกร่าม) เป็นผู้นำของคณะสงฆ์อนัมนิกาย ในประเทศไทย ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ คณะสงฆ์ญวนในประเทศไทย ได้ขาดการติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวน และได้กลับมาติดต่อสัมพันธ์กันอีกครั้ง ในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ในสมัยนั้น มีพระสงฆ์ญวนเข้ามาในประเทศไทยอีก แต่เนื่องจากขณะนั้นญวนตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยไม่สามารถติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวนได้สะดวกนัก พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบประเพณี และวัตรปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับพระสงฆ์ไทยหลายประการ เช่น การออกบิณฑบาต การทำวัตรเช้าและเย็น การถือวิกาลโภชนา และการผนวกพิธีกรรมฝ่ายเถรวาท เช่น การมีพิธีทอดกฐิน และทอดผ้าป่า พิธีบวช พิธีเข้าพรรษา อุโบสถวัดอุภัยราชบำรุงหลังเก่า อุโบสถวัดอุภัยราชบำรุงหลังเก่า วัดญวนในประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นก่อนวัดจีน ในรัชกาลที่ ๓ ระหว่างที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงพระผนวชอยู่ ทรงสนพระทัย ในลัทธิประเพณี และการปฏิบัติของพระสงฆ์ฝ่ายมหายาน ซึ่งในขณะนั้น พระสงฆ์ฝ่ายมหายานมีแต่ฝ่ายอนัมนิกายยังไม่มีฝ่ายจีนนิกาย จึงโปรดให้นิมนต์ องฮึง เจ้าอาวาสวัดญวนตลาดน้อยในขณะนั้นมาเข้าเฝ้า ซึ่งทรงถูกพระราชอัธยาศัยเป็นอย่างดี เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกาย เข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และอยู่ในสถานะดังกล่าวเรื่อยมา แม้จะมีการผลัดเปลี่ยนรัชกาลมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงแรกที่วัดญวนได้เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร วัดญวนแห่งแรกๆ เช่น วัดญวนตลาดน้อย ก็ได้รับพระราชทานเงินช่วยเหลือในการปฏิสังขรณ์ และยังโปรดเกล้าฯ ให้พระสงฆ์ญวนเข้าเฝ้าเป็นประจำ รวมทั้งให้มีพิธีกรรมตามความเชื่อของฝ่ายอนัมนิกาย ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงปฏิบัติตามแบบอย่างสมเด็จพระบรมชนกนาถ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ การอุปถัมภ์ และการปฏิสังขรณ์วัดญวน โดยพระราชทานเงินช่วยเหลือ ในการปฏิสังขรณ์วัดญวนตลาดน้อยอีกครั้ง และได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดอุภัยราชบำรุง คำว่า "อุภัย" แปลว่า สอง แสดงให้เห็นถึงความหมายว่า เป็นวัดที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ จากพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ขององฮึง เจ้าอาวาสวัด เป็นที่ "พระครูคณานัมสมณาจารย์" เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอนัมนิกาย ในประเทศไทย ต่อมายังได้พระราชทานนามวัดญวน และวัดจีนอื่นๆ อีกหลายวัดด้วย

กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้

STAMM Book

ไม่พบ STAMM Book

Review

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวน ตลาดน้อย)