อาคารเก่า ซอยแฟลตทรัพย์สิน ตรอกผีดิบ
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
ที่ตั้ง
ตรอกผีดิบ(ซอยแฟลตทรัพย์สิน)
ในอดีตที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสัมพันธวงศ์อยู่ในวัดสัมพันธวงศ์(วัดเกาะ) โดยต้องมีสถานตำรวจนครบาลสัมพันธวงศ์(สถานตำรวจนครบาลพลับพลาไชย เขต ๒ ทุกวันนี้)อยู่ติดกับ เวลาออกปฏิบัติงานต้องไปด้วยกันทั้งคู่ ข้าราชการตำรวจเป็นฝ่ายจับกุม ส่วนข้าราชการอำเภอเป็นฝ่ายสอบสวน
สำหรับท้องที่ของโรงพักวัดเกาะนั้น แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่มีคนอยู่อย่างอึกทึก มีโรงมหรสพ มีโรงแรม มีภัตตาคาร มีร้านอาหาร มีโรงยาฝิ่น มีสถานที่เล่นการพนัน มีสถานที่บริการทางกามารมณ์ มีผู้คนไปมาตลอดคืนตลอดวัน มีเสียงดังตลอดเวลา ส่วนนี้ก็คือในย่านถนนเยาวราชไปจนถึงถนนปทุมคงคา
อีกส่วนหนึ่งคือ ในส่วนของตลาดน้อย เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ประกอบอาชีพต่างๆที่ไม่ค่อยมีเสียง เมื่อหมดเวลาแล้วก็เงียบสงบ ปราศจากเสียงดังรบกวน มีวัดพระพุทธศาสนาก็คือ วัดปทุมคงคา(วัดสำเพ็ง) วัดคริสต์ คือ วัดกาลหว่าร์(วัดแม่พระลูกประคำ)
โรงเรียนมัธยมมีโรงเรียนวัดปทุมคงคา ดังนั้นการตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยของตำรวจ จึงต้องหนักมาในทางส่วนมาก โรงพักวัดเกาะก็ตั้งอยู่ในส่วนที่อึกทึกนี้ ในส่วนนี้ถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบก็น้อย ถนนเยาวราชที่จะต้องดูแลก็มีตั้งแต่ตรอกกระทะไปถึงหน้าโรงภาพยนตร์โอเดียน นอกนั้นก็มี ถนนทรงวาด ถนนทรงสวัสดิ์ ถนนพาดสาย ถนนเซียงกง ถนนปทุมคงคา แต่ละถนนก็ยาวไม่เกิน ๕๐๐ เมตร ยานพาหนะที่แล่นไปมาประจำก็มีแต่รถราง
สมัยนั้นรถมีไม่มากนัก คนเดินถนนก็ไม่ต้องระวังรถมากนัก รถจักรยานสามล้อพึ่งจะเกิด ยังมีไม่มาก ส่วนรถลากที่คนจีนลากก็เริ่มหายไปเรื่อยๆ
โรงยาฝิ่นหรือสถานที่ซึ่งจัดไว้สำหรับให้คนที่ติดยาสูบฝิ่นในท้องที่ของโรงพักวัดเกาะมีสามแห่ง คือที่ถนนพาดสายหนึ่งแห่ง ที่ตรอกน่ำแช(ใกล้กับโรงภาพยนตร์เทฌกซัส)หนึ่งแห่ง และอีกแห่งหนึ่งที่ตลาดน้อย ผู้คนที่ติดฝิ่นเมื่อต้องการที่จะสูบฝิ่นก็ไปหาซื้อและสูบได้ ณ สถานที่สามแห่งนี้
โรงฝิ่นจึงเป็นสถานที่รวมผู้คนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีทั้งคนดีและคนร้าย จะมีคนในท้องที่ คนจรมาจากที่อื่น ข่าวดี ข่าวไม่ดี จึงมักจะได้ทราบจากโรงยาฝิ่น
ในสมัยนั้นการเป็นคนสูบยาฝิ่นติด ถือกันว่าเป็นคนไม่ดี ไม่น่าคบหาสมาคม เป็นที่รังเกียจของสังคม แต่ก็ไม่ทั่วไป คนมีเงิน คนมีฐานะที่ติดฝิ่นยังมีอยู่ก็เข้าสังคมได้ ยังมีคนนับหน้าถือตาอยู่ ทางราชการเริ่มจะรังเกียจคนสูบฝิ่นแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ห้ามเด็ดขาดว่า แต่ถ้าข้าราชการคนใดติดฝิ่นจะต้องถูกออกจากราชการไป
โรงยาฝิ่นลักษณะเหมือนอาคารหรือโรงเรียน มองดูทึมๆเหมือน“ซ่อง”อะไรสักอย่าง แสงสว่างมีไม่มากนัก ภายในแบ่งเป็นห้องเล็กๆ ค่อนข้างแคบ บรรจุคนได้ไม่เกิน ๔-๕ คน ยกแคร่สูงแค่หัวเข่า บนแคร่ปูเสื่อผิวไผ่ มีหมอนหิน(ทำด้วยกระเบื้อง) รูปสามเหลี่ยม ขนาดพอรองต้นคอ บ้องสูบยาฝิ่น ตะเกียงน้ำมันมะพร้าวชนิดหลอดหนา
อัฐบริขารการสูบฝิ่น แผ่นใบลานขนาดเล็กปลายฝ่ามือ ๒-๓ ชิ้น เหล็กแหลมเรียวรูปร่างคล้ายเข็มโคร์เชต์ยาวราว ๑ คืบ เรียกว่า ไม้ตะเกียะ ใช้เขี่ยคลึงขณะย่างลนฝิ่นหรือใช้ทุ่มหรือเจาะเม็ดฝิ่น
แล้วก็ยังมีกา ถาดถ้วยน้ำชาจีน กระเบื้องเล็กๆอีกชุดหนึ่ง
ฝาหนังห้องมีตะขอแขวนเสื้อกางเกง ขณะสูบฝิ่นต้องถอดเสื้อกางเกง เหลือแต่กางเกงในหรือเสื้อกล้ามตัวเดียว ข้าวของในห้องสูบฝิ่น ล้วนแต่เก่าโบราณ นักเลงยาฝิ่นถือกันว่ายิ่งเก่าเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูขลังศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเท่านั้น
ตอนนั้นกฎหมายอนุญาตสูบฝิ่น จัดที่จัดทางไว้ให้ แต่ก็ไม่นิยมแพร่หลาย ตรงข้ามกับเป็นสิ่งที่ถูกดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีคนรุ่นใหม่เข้าไปเฉียดใกล้ ในโรงยาฝิ่น ส่วนมากจะเป็นคนรุ่นเก่า และจีนรุ่นเก่าแก่ๆ ยกเว้น คนอีกพวกหนึ่ง นักเลงหัวไม้ ทรชน กากคน และนักสืบสายลับ และพวกนักอยากรู้ที่จงใจเข้าไปหาข่าว ใครจะไปจี้ ฆ่า กันไว้ที่ใด ใครจะคิดวางแผน จะทำอะไร ส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ได้จากจากแหล่งข่าวโรงยาฝิ่น
หากจะสูบ อาแปะขี้ยาประจำโรงยาฝิ่น ก็จะเอาเงินจากเราไปซื้อฝิ่น ซึ่งเป็นฝิ่นของสรรพสามิต ในหลอดตะกั่วสีขาวหม่น รูปร่างเหมือนกระสุนปืนออโตฯ ๑๑ มม. แต่ปลายยาวเรียวกว่า
ฝิ่นดำคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม หลอดหนึ่งสูบคำใหญ่ได้ ๘-๙ คำ ถ้าเป็นคำใหม่ ก็ต้องดูดได้ ๑๒ ถึง ๑๕ คำ
สำหรับคอใหม่ยังดูดไม่ชำนาญ พอขี้ยาบริกรประคองกระเป๋าให้เข้าไปลนไฟ ก็จะดูดแบบกระตุกๆ อาการนี้ฝิ่นจะไหม้ไม่หมด ดูดต่อไปไม่ได้ พี่เลี้ยงต้องเอาไม้ตะเกียะทิ่มเม็ดฝิ่นให้เป็นรู ให้ดูดฝิ่นเผาใหม่ ฝิ่นได้ต่อไป
ใครดูดฝิ่นเป็นหรือไม่เป็น สูบชำนาญแค่ไหน เขาดูกันตรงนี้
บรรยากาศโรงยาฝิ่น ต่างกันขาวกับดำกับโรงเหล้า ไม่มีอะไรวุ่นวายเอะอะมะเทิ่ง เงียบสงบ สุขุมเยือกเย็น มีแต่เสียงคุยกันพึมพำแผ่วเบา
ความคิดความอ่าน ข้อความสนทนา ล้วนแต่เป็นแผนการชนิดดีดลูกคิดรางแก้ว ใครมีความลับอะไร มาเปิดเผยกันตรงหน้าบ้องฝิ่น โรงฝิ่นจึงเป็นแหล่งข่าวสำคัญของผู้คนในยุคนั้น
ทางการไทย ประกาศเลิกเสพฝิ่นเด็ดขาด เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีการเผาฝิ่นและอุปกรณ์สูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวง นับเป็นการเผาฝิ่นครั้งที่ ๒ ของไทย หลังจากการประกาศเผาครั้งแรกในรัชกาลที่ ๓
การจับฝิ่นครั้งนั้น เป็นชนวนบาดหมาง สะสมหมักหมมจนต้องแก้แค้นเอาคืน ด้วยการปฏิวัติ
เมื่อบ้านเมืองไม่มีโรงยาฝิ่นให้หาข่าวแล้ว แต่ข่าวปฏิวัติก็ยังพอมีให้อ่านสนุกสนาน จากสารพัดช่องทางสื่อสารสมัยใหม่
ส่วนข้างโรงยาฝิ่นตลาดน้อยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของวัดกาลหว่าร์(วัดแม่พระลูกประคำ) ในอดีตเป็นที่ตั้งของโป่วโล่ง(โรงทอผ้า) ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นสลัมเรียกว่า“ย่งเฮงลี่” ยังมีประตูปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้ ส่วนที่สองเป็นของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้งของโรงยาฝิ่นตลาดน้อย ส่วนสุดท้ายมีเนื้อที่ ๑๐๐ วาเป็นของตระกูลโปษยจินดา ซึ่งเป็นสลัมมีจำนวน ๓๐ หลัง เสียค่าเช่าเดือน ๑๐-๒๐ บาท
วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๒ เวลา ๒๔.๐๐ น.เป็นวันและเวลาสุดท้ายที่จะมีการสูบฝิ่นในประเทศไทย และให้ถือว่าฝิ่นเป็นของต้องห้าม การกำจัดการสูบฝิ่นครั้งนั้น ทางการได้จัดทำอย่างชนิดกวาดล้างจริงๆ คือ ได้รวบรวมเอากลักฝิ่น บ้องสูบฝิ่นทั้งหลายมาเผาที่สนามหลวง เมื่อเวลา ๐๑.๐๐ น.ของวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒
เมื่อฝิ่นกลายเป็นของต้องห้าม ยาเสพติดตัวใหม่ออกมาเป็นอัศวินในหมู่สิงห์อมควัน นั่นคือ “เฮโรอิน” ลูกเล็กเด็กแดงหากใครได้ลองสัมผัสจะมีสภาพคล้ายผีดิบที่เคลื่อนไหวได้ ดังนั้นในตรอกที่เคยเป็นที่ตั้งโรงยาฝิ่น จึงมีบรรดาสิงห์อมควันพลุ่กพล่านกันเป็นประจำ พอตกดึกบรรยากาศไม่ต่างจาก”ผีกัด”ในภาพยนตร์จีนแม้แต่นิดเดียว
ในราวปี พ.ศ.๒๕๒๕ ตระกูลโปษยจินดาได้ประกาศขายที่ดินแห่งนี้ไปในราคา ๑ ล้านบาท ตอนไล่ที่ต้องจ่ายค่าขนย้ายหลังละ ๑ หมื่นบาท เสียไปจำนวน ๓ แสนบาท แต่มีเรือนไม้สักอยู่หลังหนึ่งสวยงามมาก ผลปรากฏคนที่อยู่ปล่อยเงินกู้ เก็บดอกเบี้ยโหด เป็นพ่อค้ายาเสพติดกันทั้งตระกูล ป้าดวงตะวันไปเจรจาด้วยวาจาว่า ที่ดินตรงนี้ฉันโอนให้เขาไปแล้วนะ โดยเฉพาะบ้านนี้ต้องจ่ายค่าขนย้ายไปสามหมื่นบาท ก็เป็นจำนวนไม่น้อย บ้านไม้สักเธอรื้อไปเลย เอาไปปลูกใหม่ที่ไหนก็ได้ แต่ลูกสาวบ้านหลังนี้ไปซื้อที่ดินแห่งหนึ่ง ออกปากว่า“ยังๆๆๆ” ยังจะขอตื้ออาศัยอยู่ ป้าดวงตะวันบอก เฮ้ยคนที่ซื้อมีอิทธิพลนะ ถ้ามันจ้างคนมาเผาบ้านจะหาว่าฉันไม่เตือน ปรากฏว่าครอบครัวนั้นไม่ยอมไป
ครั้นวันอังคารที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๗ เวลาประมาณ ๐๔ น. เป็นช่วงฤดูหนาวอากาศชวนให้อยากจะนอนต่อภายใต้ผ้าห่มที่แสนอบอุ่น แต่ชาวบ้านเป็นพ่อค้าแม่ขายต้องรีบลุกขึ้นมาประกอบภารกิจเตรียมตัวไปขายของที่ตลาด
แต่แล้วสายตาบางคนก็เหลือบไปเห็นคนถือปี๊ปใบหนึ่ง เที่ยวสาดตามฝากระดานบ้านในความมืด ซึ่งครั้งแรกก็ไม่มีใครให้ความสนใจ ชั่วพริบตาเดียวสลัมไม้แห่งนั้นได้กลายเป็นทะเล ท่ามกลางความโกลาหลของชาวบ้าน แต่ก็ไม่มีผู้เสียชีวิต เพราะคนส่วนใหญ่ตื่นกันเกือบหมดแล้ว
ป้าดวงตะวันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยดับ เพราะเป็นหัวหน้าบรรเทาสาธารณะภัย เคยได้รับโล่ห์จากสมเด็จพระบรมโอรสิราช ที่วัดจักวรรดิราชาวาส สมัยนั้นหม่อมเจตน์จันทร ประวิทย์ ซึ่งเป็นเพื่อนกัน บอกว่าช่วยกันหน่อยตรงนี้มีโรงงานน้ำมันหอย(บ้านรัชบริรักษ์) นักดับเพลิงถึงได้เลี้ยงบ้านหลังนั้นไว้
ชาวบ้านบางรายได้กล่าวโทษป้าดวงตะวันว่า“เป็นผู้ว่าจ้างวางเพลิง”
ป้าดวงตะวันบอก “ถ้าฉันเผาจะจ่ายเงินให้ไปทำไม”
หลังจากนั้นไม่นานคนที่เป็นแม่ก็เป็นอัมพาต นอนนิ่งเฉยไม่กระดิกเคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ ลูกหลานไม่เหลียวแล ในที่สุดก็เสียชีวิต ต่อมาคนที่เป็นลูกสาวก็ล้มป่วยเสียชีวิตตามไป
แต่เดิมโรงฝิ่นเป็นของทรัพย์สินส่วนสินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อได้มีการปลูกสร้างใหม่ จึงตั้งชื่อว่า“แฟลตทรัพย์สิน”จนถึงปัจจุบัน
อาคารเก่า ซอยแฟลตทรัพย์สิน ตรอกผีดิบ
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
ตรอกผีดิบ(ซอยแฟลตทรัพย์สิน)
ในอดีตที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสัมพันธวงศ์อยู่ในวัดสัมพันธวงศ์(วัดเกาะ) โดยต้องมีสถานตำรวจนครบาลสัมพันธวงศ์(สถานตำรวจนครบาลพลับพลาไชย เขต ๒ ทุกวันนี้)อยู่ติดกับ เวลาออกปฏิบัติงานต้องไปด้วยกันทั้งคู่ ข้าราชการตำรวจเป็นฝ่ายจับกุม ส่วนข้าราชการอำเภอเป็นฝ่ายสอบสวน
สำหรับท้องที่ของโรงพักวัดเกาะนั้น แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่มีคนอยู่อย่างอึกทึก มีโรงมหรสพ มีโรงแรม มีภัตตาคาร มีร้านอาหาร มีโรงยาฝิ่น มีสถานที่เล่นการพนัน มีสถานที่บริการทางกามารมณ์ มีผู้คนไปมาตลอดคืนตลอดวัน มีเสียงดังตลอดเวลา ส่วนนี้ก็คือในย่านถนนเยาวราชไปจนถึงถนนปทุมคงคา
อีกส่วนหนึ่งคือ ในส่วนของตลาดน้อย เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ประกอบอาชีพต่างๆที่ไม่ค่อยมีเสียง เมื่อหมดเวลาแล้วก็เงียบสงบ ปราศจากเสียงดังรบกวน มีวัดพระพุทธศาสนาก็คือ วัดปทุมคงคา(วัดสำเพ็ง) วัดคริสต์ คือ วัดกาลหว่าร์(วัดแม่พระลูกประคำ)
โรงเรียนมัธยมมีโรงเรียนวัดปทุมคงคา ดังนั้นการตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยของตำรวจ จึงต้องหนักมาในทางส่วนมาก โรงพักวัดเกาะก็ตั้งอยู่ในส่วนที่อึกทึกนี้ ในส่วนนี้ถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบก็น้อย ถนนเยาวราชที่จะต้องดูแลก็มีตั้งแต่ตรอกกระทะไปถึงหน้าโรงภาพยนตร์โอเดียน นอกนั้นก็มี ถนนทรงวาด ถนนทรงสวัสดิ์ ถนนพาดสาย ถนนเซียงกง ถนนปทุมคงคา แต่ละถนนก็ยาวไม่เกิน ๕๐๐ เมตร ยานพาหนะที่แล่นไปมาประจำก็มีแต่รถราง
สมัยนั้นรถมีไม่มากนัก คนเดินถนนก็ไม่ต้องระวังรถมากนัก รถจักรยานสามล้อพึ่งจะเกิด ยังมีไม่มาก ส่วนรถลากที่คนจีนลากก็เริ่มหายไปเรื่อยๆ
โรงยาฝิ่นหรือสถานที่ซึ่งจัดไว้สำหรับให้คนที่ติดยาสูบฝิ่นในท้องที่ของโรงพักวัดเกาะมีสามแห่ง คือที่ถนนพาดสายหนึ่งแห่ง ที่ตรอกน่ำแช(ใกล้กับโรงภาพยนตร์เทฌกซัส)หนึ่งแห่ง และอีกแห่งหนึ่งที่ตลาดน้อย ผู้คนที่ติดฝิ่นเมื่อต้องการที่จะสูบฝิ่นก็ไปหาซื้อและสูบได้ ณ สถานที่สามแห่งนี้
โรงฝิ่นจึงเป็นสถานที่รวมผู้คนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีทั้งคนดีและคนร้าย จะมีคนในท้องที่ คนจรมาจากที่อื่น ข่าวดี ข่าวไม่ดี จึงมักจะได้ทราบจากโรงยาฝิ่น
ในสมัยนั้นการเป็นคนสูบยาฝิ่นติด ถือกันว่าเป็นคนไม่ดี ไม่น่าคบหาสมาคม เป็นที่รังเกียจของสังคม แต่ก็ไม่ทั่วไป คนมีเงิน คนมีฐานะที่ติดฝิ่นยังมีอยู่ก็เข้าสังคมได้ ยังมีคนนับหน้าถือตาอยู่ ทางราชการเริ่มจะรังเกียจคนสูบฝิ่นแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ห้ามเด็ดขาดว่า แต่ถ้าข้าราชการคนใดติดฝิ่นจะต้องถูกออกจากราชการไป
โรงยาฝิ่นลักษณะเหมือนอาคารหรือโรงเรียน มองดูทึมๆเหมือน“ซ่อง”อะไรสักอย่าง แสงสว่างมีไม่มากนัก ภายในแบ่งเป็นห้องเล็กๆ ค่อนข้างแคบ บรรจุคนได้ไม่เกิน ๔-๕ คน ยกแคร่สูงแค่หัวเข่า บนแคร่ปูเสื่อผิวไผ่ มีหมอนหิน(ทำด้วยกระเบื้อง) รูปสามเหลี่ยม ขนาดพอรองต้นคอ บ้องสูบยาฝิ่น ตะเกียงน้ำมันมะพร้าวชนิดหลอดหนา
อัฐบริขารการสูบฝิ่น แผ่นใบลานขนาดเล็กปลายฝ่ามือ ๒-๓ ชิ้น เหล็กแหลมเรียวรูปร่างคล้ายเข็มโคร์เชต์ยาวราว ๑ คืบ เรียกว่า ไม้ตะเกียะ ใช้เขี่ยคลึงขณะย่างลนฝิ่นหรือใช้ทุ่มหรือเจาะเม็ดฝิ่น
แล้วก็ยังมีกา ถาดถ้วยน้ำชาจีน กระเบื้องเล็กๆอีกชุดหนึ่ง
ฝาหนังห้องมีตะขอแขวนเสื้อกางเกง ขณะสูบฝิ่นต้องถอดเสื้อกางเกง เหลือแต่กางเกงในหรือเสื้อกล้ามตัวเดียว ข้าวของในห้องสูบฝิ่น ล้วนแต่เก่าโบราณ นักเลงยาฝิ่นถือกันว่ายิ่งเก่าเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูขลังศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเท่านั้น
ตอนนั้นกฎหมายอนุญาตสูบฝิ่น จัดที่จัดทางไว้ให้ แต่ก็ไม่นิยมแพร่หลาย ตรงข้ามกับเป็นสิ่งที่ถูกดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีคนรุ่นใหม่เข้าไปเฉียดใกล้ ในโรงยาฝิ่น ส่วนมากจะเป็นคนรุ่นเก่า และจีนรุ่นเก่าแก่ๆ ยกเว้น คนอีกพวกหนึ่ง นักเลงหัวไม้ ทรชน กากคน และนักสืบสายลับ และพวกนักอยากรู้ที่จงใจเข้าไปหาข่าว ใครจะไปจี้ ฆ่า กันไว้ที่ใด ใครจะคิดวางแผน จะทำอะไร ส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ได้จากจากแหล่งข่าวโรงยาฝิ่น
หากจะสูบ อาแปะขี้ยาประจำโรงยาฝิ่น ก็จะเอาเงินจากเราไปซื้อฝิ่น ซึ่งเป็นฝิ่นของสรรพสามิต ในหลอดตะกั่วสีขาวหม่น รูปร่างเหมือนกระสุนปืนออโตฯ ๑๑ มม. แต่ปลายยาวเรียวกว่า
ฝิ่นดำคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม หลอดหนึ่งสูบคำใหญ่ได้ ๘-๙ คำ ถ้าเป็นคำใหม่ ก็ต้องดูดได้ ๑๒ ถึง ๑๕ คำ
สำหรับคอใหม่ยังดูดไม่ชำนาญ พอขี้ยาบริกรประคองกระเป๋าให้เข้าไปลนไฟ ก็จะดูดแบบกระตุกๆ อาการนี้ฝิ่นจะไหม้ไม่หมด ดูดต่อไปไม่ได้ พี่เลี้ยงต้องเอาไม้ตะเกียะทิ่มเม็ดฝิ่นให้เป็นรู ให้ดูดฝิ่นเผาใหม่ ฝิ่นได้ต่อไป
ใครดูดฝิ่นเป็นหรือไม่เป็น สูบชำนาญแค่ไหน เขาดูกันตรงนี้
บรรยากาศโรงยาฝิ่น ต่างกันขาวกับดำกับโรงเหล้า ไม่มีอะไรวุ่นวายเอะอะมะเทิ่ง เงียบสงบ สุขุมเยือกเย็น มีแต่เสียงคุยกันพึมพำแผ่วเบา
ความคิดความอ่าน ข้อความสนทนา ล้วนแต่เป็นแผนการชนิดดีดลูกคิดรางแก้ว ใครมีความลับอะไร มาเปิดเผยกันตรงหน้าบ้องฝิ่น โรงฝิ่นจึงเป็นแหล่งข่าวสำคัญของผู้คนในยุคนั้น
ทางการไทย ประกาศเลิกเสพฝิ่นเด็ดขาด เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีการเผาฝิ่นและอุปกรณ์สูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวง นับเป็นการเผาฝิ่นครั้งที่ ๒ ของไทย หลังจากการประกาศเผาครั้งแรกในรัชกาลที่ ๓
การจับฝิ่นครั้งนั้น เป็นชนวนบาดหมาง สะสมหมักหมมจนต้องแก้แค้นเอาคืน ด้วยการปฏิวัติ
เมื่อบ้านเมืองไม่มีโรงยาฝิ่นให้หาข่าวแล้ว แต่ข่าวปฏิวัติก็ยังพอมีให้อ่านสนุกสนาน จากสารพัดช่องทางสื่อสารสมัยใหม่
ส่วนข้างโรงยาฝิ่นตลาดน้อยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของวัดกาลหว่าร์(วัดแม่พระลูกประคำ) ในอดีตเป็นที่ตั้งของโป่วโล่ง(โรงทอผ้า) ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นสลัมเรียกว่า“ย่งเฮงลี่” ยังมีประตูปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้ ส่วนที่สองเป็นของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้งของโรงยาฝิ่นตลาดน้อย ส่วนสุดท้ายมีเนื้อที่ ๑๐๐ วาเป็นของตระกูลโปษยจินดา ซึ่งเป็นสลัมมีจำนวน ๓๐ หลัง เสียค่าเช่าเดือน ๑๐-๒๐ บาท
วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๒ เวลา ๒๔.๐๐ น.เป็นวันและเวลาสุดท้ายที่จะมีการสูบฝิ่นในประเทศไทย และให้ถือว่าฝิ่นเป็นของต้องห้าม การกำจัดการสูบฝิ่นครั้งนั้น ทางการได้จัดทำอย่างชนิดกวาดล้างจริงๆ คือ ได้รวบรวมเอากลักฝิ่น บ้องสูบฝิ่นทั้งหลายมาเผาที่สนามหลวง เมื่อเวลา ๐๑.๐๐ น.ของวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒
เมื่อฝิ่นกลายเป็นของต้องห้าม ยาเสพติดตัวใหม่ออกมาเป็นอัศวินในหมู่สิงห์อมควัน นั่นคือ “เฮโรอิน” ลูกเล็กเด็กแดงหากใครได้ลองสัมผัสจะมีสภาพคล้ายผีดิบที่เคลื่อนไหวได้ ดังนั้นในตรอกที่เคยเป็นที่ตั้งโรงยาฝิ่น จึงมีบรรดาสิงห์อมควันพลุ่กพล่านกันเป็นประจำ พอตกดึกบรรยากาศไม่ต่างจาก”ผีกัด”ในภาพยนตร์จีนแม้แต่นิดเดียว
ในราวปี พ.ศ.๒๕๒๕ ตระกูลโปษยจินดาได้ประกาศขายที่ดินแห่งนี้ไปในราคา ๑ ล้านบาท ตอนไล่ที่ต้องจ่ายค่าขนย้ายหลังละ ๑ หมื่นบาท เสียไปจำนวน ๓ แสนบาท แต่มีเรือนไม้สักอยู่หลังหนึ่งสวยงามมาก ผลปรากฏคนที่อยู่ปล่อยเงินกู้ เก็บดอกเบี้ยโหด เป็นพ่อค้ายาเสพติดกันทั้งตระกูล ป้าดวงตะวันไปเจรจาด้วยวาจาว่า ที่ดินตรงนี้ฉันโอนให้เขาไปแล้วนะ โดยเฉพาะบ้านนี้ต้องจ่ายค่าขนย้ายไปสามหมื่นบาท ก็เป็นจำนวนไม่น้อย บ้านไม้สักเธอรื้อไปเลย เอาไปปลูกใหม่ที่ไหนก็ได้ แต่ลูกสาวบ้านหลังนี้ไปซื้อที่ดินแห่งหนึ่ง ออกปากว่า“ยังๆๆๆ” ยังจะขอตื้ออาศัยอยู่ ป้าดวงตะวันบอก เฮ้ยคนที่ซื้อมีอิทธิพลนะ ถ้ามันจ้างคนมาเผาบ้านจะหาว่าฉันไม่เตือน ปรากฏว่าครอบครัวนั้นไม่ยอมไป
ครั้นวันอังคารที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๗ เวลาประมาณ ๐๔ น. เป็นช่วงฤดูหนาวอากาศชวนให้อยากจะนอนต่อภายใต้ผ้าห่มที่แสนอบอุ่น แต่ชาวบ้านเป็นพ่อค้าแม่ขายต้องรีบลุกขึ้นมาประกอบภารกิจเตรียมตัวไปขายของที่ตลาด
แต่แล้วสายตาบางคนก็เหลือบไปเห็นคนถือปี๊ปใบหนึ่ง เที่ยวสาดตามฝากระดานบ้านในความมืด ซึ่งครั้งแรกก็ไม่มีใครให้ความสนใจ ชั่วพริบตาเดียวสลัมไม้แห่งนั้นได้กลายเป็นทะเล ท่ามกลางความโกลาหลของชาวบ้าน แต่ก็ไม่มีผู้เสียชีวิต เพราะคนส่วนใหญ่ตื่นกันเกือบหมดแล้ว
ป้าดวงตะวันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยดับ เพราะเป็นหัวหน้าบรรเทาสาธารณะภัย เคยได้รับโล่ห์จากสมเด็จพระบรมโอรสิราช ที่วัดจักวรรดิราชาวาส สมัยนั้นหม่อมเจตน์จันทร ประวิทย์ ซึ่งเป็นเพื่อนกัน บอกว่าช่วยกันหน่อยตรงนี้มีโรงงานน้ำมันหอย(บ้านรัชบริรักษ์) นักดับเพลิงถึงได้เลี้ยงบ้านหลังนั้นไว้
ชาวบ้านบางรายได้กล่าวโทษป้าดวงตะวันว่า“เป็นผู้ว่าจ้างวางเพลิง”
ป้าดวงตะวันบอก “ถ้าฉันเผาจะจ่ายเงินให้ไปทำไม”
หลังจากนั้นไม่นานคนที่เป็นแม่ก็เป็นอัมพาต นอนนิ่งเฉยไม่กระดิกเคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ ลูกหลานไม่เหลียวแล ในที่สุดก็เสียชีวิต ต่อมาคนที่เป็นลูกสาวก็ล้มป่วยเสียชีวิตตามไป
แต่เดิมโรงฝิ่นเป็นของทรัพย์สินส่วนสินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อได้มีการปลูกสร้างใหม่ จึงตั้งชื่อว่า“แฟลตทรัพย์สิน”จนถึงปัจจุบัน
กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้
STAMM Book
ไม่พบ STAMM Book
Review
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
อาคารเก่า ซอยแฟลตทรัพย์สิน ตรอกผีดิบ