นางเลิ้ง Guidebook เดินเมือง
#The Activity
#The All about art
#The Localized
0
กำลังได้รับความสนใจ
สถานที่น่าสนใจ 18 แห่ง

แผนที่

ตลาดนางเลิ้ง
ตลาดนางเลิ้ง ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนและตลาดที่ตั้งอยู่บนถนนนครสวรรค์ แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นตลาดบกแห่งแรกของประเทศไทย มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี ตลาดนางเลิ้งก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2443 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเอง แต่เดิมเรียกว่าบ้านสนามควาย ก่อนจะเรียกว่า “อีเลิ้ง” ตามชื่อคือตุ่มชนิดหนึ่งของชาวมอญ จนมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า “นางเลิ้ง” สถานที่สำคัญของตลาดนางเลิ้งได้แก่ โรงภาพยนตร์เฉลิมธานี ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 80 ปี สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นที่บันเทิงที่จะได้ชมภาพยนตร์จากทุกชาติทั้งไทย, จีน, อินเดีย, ฝรั่ง จากจำนวนคนดูที่เคยมากถึงรอบละ 300–400 คนก็เหลือเพียงรอบละไม่ถึง 10 คน จนต้องเลิกฉายไปเมื่อปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นเพียงโกดังเก็บของ ปัจจุบัน ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร อาคารบ้านเรือนแถบนี้มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และเป็นตลาดและย่านที่ขึ้นชื่ออย่างมากด้านอาหารนานาชนิด เช่น ขนมหวาน และที่ขึ้นชื่ออย่างมาก คือ กล้วยทอด หรือกล้วยแขก ที่มีขายกันหลายรายริมถนนรอบด้านจนเป็นที่เลื่องชื่อ
0
ศาลเสด็จเตี่ย ตลาดนางเลิ้ง
ศาลเสด็จเตี่ย ตลาดนางเลิ้ง รู้จักอีกหนึ่ง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในเมืองกรุง " ศาลเสด็จเตี่ย " กลางตลาดนางเลิ้ง ศูนย์รวมจิตใจ และ ความศรัทธา เป็นที่รับรู้กันว่า พื้นที่ย่านนางเลิ้ง นั้น เป็นอาณาบริเวณดั้งเดิม ของ วังนางเลิ้ง ที่ เสด็จเตี่ย ทรงเคยประทับ ในสมัยยังทรงพระชนชีพ หลังการสิ้นพระชนม์ ทายาทจึงขาย วังนางเลิ้ง ให้กับกรมยุวชนทหารบก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2491 วังนี้ใช้เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนพณิชยการพระนคร ปัจจุบันคือ คณะบริหารธุรกิจและคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยที่พระตำหนักใหญ่ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้นั้น ถูกรื้อมาทำเป็นอาคารไปแล้ว คงเหลือแต่เพียง เรือนหมอพร และประตูวัง ที่อยู่ด้านหลังศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งสร้างไว้เป็นที่ระลึกทางด้านหลังโรงเรียนเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้มากราบไหว้แทน อย่างไรก็ดี ผู้มีความเคารพใน เสด็จเตี่ย ได้เคยสร้างศาลสักการะ ขึ้นมาก่อนที่ ศาลของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จากคำบอกเล่าของ น.ต. ภากร ศุภชลาศัย และ ม.ร.ว.อภิเดช อาภากร ผ่านคลิปย้อนหลังงานเสวนาพระประวัติกรมหลวงชุมพรฯ (ฉบับเต็ม) เรื่อง "สรรพวิชาและอาคมในกรมหลวงชุมพรฯ" กิจกรรมในโครงการ "กรมหลวงชุมพร 120 ปี นิวัตมาตุภูมิ สู่ราชนาวีสยาม" โดยได้ระบุว่า ศาลหลังแรก ของ เสด็จเตี่ย ตั้งขึ้นในจุดที่บริเวณ ที่เป็นปั๊มน้ำมัน ปัจจุบัน ข้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ต่อมา ได้มีการย้าย ศาลดังกล่าว ไปตั้งอยู่ในบริเวณของ ตลาดนางเลิ้ง ในอดีต ศาล เสด็จเตี่ย นั้น เป็นลักษณะศาลเจ้าจีน https://www.komchadluek.net/amulet/534920
0
ศาลาเฉลิมธานี
ศาลาเฉลิมธานี ศาลาเฉลิมธานี จุดกำเนิด “โรงหนังนางเลิ้ง” โรงหนังนางเลิ้ง หรือ โรงภาพยนตร์เฉลิมธานี เปิดทำการ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2461 โดยบริษัท พยนต์พัฒนากร เป็นโรงภาพยนตร์สถาปัตยกรรมโครงสร้างไม้ที่ยังคงสมบูรณ์ทั้งภายนอกและภายในที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในย่านตลาดนางเลิ้ง ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมธานี เมื่อบริษัท สหศีนิมา เข้ามาดำเนินกิจการ ถือว่าเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีความสำคัญต่อชุมชนมาตลอด ตั้งแต่เปิดทำการจนปิดทำการในปี พ.ศ. 2536 อาคารโรงภาพยนตร์เฉลิมธานีเป็นอาคารที่มีความสำคัญในเชิงสถาปัตยกรรมโครงสร้างไม้ ที่มีโครงหลังคาไม้ที่เป็นเอกลักษณ์เด่นที่สุดในประเทศไทย มีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ที่เป็นบทบันทึกของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยตลอดเวลากว่า 100 ปี มีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจที่ช่วยพัฒนาย่านนางเลิ้งมาตลอด ถือเป็นมรดกวัฒนธรรมที่ไม่อาจประเมินค่าได้ ดังนั้น สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงได้เตรียมปรับปรุงศาลาเฉลิมธานี เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการใช้ประโยชน์ต่อไป
0
บ้านนราศิลป์
บ้านนราศิลป์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมนำเปิด "บ้านนราศิลป์" แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในชุมชนนางเลิ้ง พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้งานหัตศิลป์ต่อยอดงานศิลปะและภูมิปัญญางานช่างปักเครื่องโขน ละคร ให้เยาวชนและประชาชนได้ต่อยอดเป็นวิชาชีพ "บ้านนราศิลป์" เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมจากชุมชนนางเลิ้ง เต็มไปด้วยบรรยากาศของประวัติศาสตร์ที่เล่าที่มาของชุมชนแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในเรื่องของแหล่งเรียนรู้เรื่องของนาฏศิลป์ การปักเครื่องโขน ซึ่งเป็นอาชีพที่หายาก และคิดว่าการทำเครื่องโขน ศรีษะโขน เครื่องแต่งกายโขน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เป็นมรดกโลกที่ควรสืบสานไว้
0
วัดแคนางเลิ้ง
วัดแคนางเลิ้ง วัดสุนทรธรรมทานหรือ วัดแคนางเลิ้ง เพี้ยนมาจากคำว่า วัดแค่ ตามสำเนียงชาวใต้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ยังเคยเรียกวัดนี้ว่า วัดสนามกระบือ ตามชื่อตำบลที่ตั้งของวัดในขณะนั้น (ตำบลสนามควาย) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุนทรธรรมทาน" ด้วยการเอาพระนามกรมหมื่นสุนทรธิบดีและนามพระธรรมทานาจารย์ วัดสระเกศ มาผสมกัน[1] แต่ชาวบ้านยังคงเรียกวา "วัดแค"[2] วัดสุนทรธรรมทานตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2380 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2502 อาคารเสนาสนะ พระอุโบสถหลังใหม่ก่อสร้างแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ภายในประดิษฐาน พระพุทธสุนทรมุนี พระประธานหน้าตักกว้าง 4 ศอก มีซุ้มเรือนแก้วประดับแบบพระพุทธชินราชลงรักปิดทองประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีหินอ่อน ภายนอกเป็นชานกำแพงแก้วประดับมุกด้านหน้าและด้านหลังโดยรอบพระอุโบสถ มีวิหารคดตกแต่งด้วยดวงดาวปิดทองล่องชาดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ประดับภาพปูนปั้นลายไทยปิดทองล่องชาด แสดงภาพพุทธประวัติพระพุทธเจ้าขณะประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ปูชนียวัตถุมี หลวงพ่อบารมี ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้กับพระอุโบสถ วัดยังมีอนุสรณ์พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป เขมะสิริ) อดีตเจ้าอาวาส วัดสุนทรธรรมทานยังเป็นที่บรรจุอัฐิของมิตร ชัยบัญชา[3]
0
สะพานเทวกรรมรังรักษ์
สะพานเทวกรรมรังรักษ์ สะพานเทวกรรมรังรักษ์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ในแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กับแขวงสี่แยกมหานาค และแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่เชื่อมถนนนครสวรรค์เข้าไว้ด้วยกันและตัดกับถนนกรุงเกษมที่เชิงสะพาน โดยเป็นสี่แยก เป็นสะพานที่อยู่ใกล้กับวัดโสมนัสวิหาร, ทำเนียบรัฐบาล และย่านนางเลิ้ง ชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร รวมถึงราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสนามม้านางเลิ้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างและทรงเปิดสะพานนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 เป็นสะพานที่มีความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกผสมไทย ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยเป็นสะพานชุดที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษมนี้มีชื่อเรียกคล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งทั้งหมดมีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่สร้างโดยเทวดา" ในส่วนของสะพานเทวกรรมรังรักษ์ หมายถึง "สะพานที่พระเทวกรรมสร้าง" ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของไทย ลักษณะคล้ายคลึงกับพระพิฆเนศตามความเชื่อของฮินดู[1] ซึ่งตามความเชื่อดั้งเดิมของฮินดูไม่มี เมื่อผ่านสะพานนี้ไปผ่านถนนนครสวรรค์จนต่อไปถึงแยกจักรพรรดิพงษ์ และไปอีกจะถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศบรรจบกับถนนราชดำเนิน[2]
0
Vacilando Bookshop
Vacilando Bookshop ร้านหนังสือ Vacilando Bookshop เกิดจากความตั้งใจของ ‘ปิ่น’ - วิทิต จันทามฤต ช่างภาพและอดีตโปรเจกต์เมเนเจอร์โฆษณารวมถึงภาพยนตร์นอกกระแส ที่หลงใหลและชื่นชอบในการเก็บหนังสือตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งได้ตัดสินใจเปิดร้านหนังสือเป็นของตัวเองในปี 2560 ช่วงแรกร้าน Vacilando Bookshop เปิดขายเฉพาะในอินสตาแกรม ก่อนที่ปิ่นจะได้พบกับ ‘โย’ - กิตติพล สรัคคานนท์ และฝากหนังสือส่วนหนึ่งไปขายที่ร้าน Book & Belongings แถวบางจาก จนกระทั่งตัดสินใจเปิดหน้าร้านเป็นของตัวเองบนชั้น 2 ของตึก Arai Arai ย่านวงเวียน 22 กรกฎา ในช่วงต้นปี 2563 หนังสือส่วนใหญ่ที่ร้าน Vacilando Bookshop วางขายนั้น คือหนังสือเฉพาะทางที่เล่าเรื่องราวผ่านภาพถ่าย หรือรู้จักกันดีว่า ‘โฟโต้บุ๊ก’ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนผ่านการคัดสรรก่อนนำออกมาวางขายด้วยตัวปิ่นเอง รวมถึงคัดเลือกจากความต้องการของลูกค้าที่ได้พบปะพูดคุยทั้งผ่านทางหน้าร้านและช่องทางออนไลน์ https://themomentum.co/outandabout-vacilando-bookshop/
0
วัดโสมนัสราชวรวิหาร
วัดโสมนัสราชวรวิหาร วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถและพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม มีคลองผดุงกรุงเกษมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2395 ผ่านทางด้านหน้าของพระอุโบสถ ภายในวัดมีเจดีย์ 2 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (เจดีย์ทอง รูปทรงแบบลังกาสีทองเหลืองอร่าม ยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า สามารถมองเห็นได้ไกลซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนเข้ามาชมความงามและกราบนมัสการกันอยู่มิได้ขาด) และยังมีเจดีย์องค์เล็กชื่อว่าเจดีย์มอญ มีรูปทรงเหมือนธัมเมกขสถูป มีลักษณะสวยงามและหาชมได้ยากเพราะเจดีย์ลักษณะนี้มีเพียง 2 องค์ในประเทศไทย คือ ที่วัดโสมนัสวิหารและที่วัดกันมาตุยาราม อีกองค์หนึ่ง ปัจจุบันมีการสร้างและปรับปรุงอาคารต่างๆ ภายในวัด อาทิเช่น ตึก 150 ปี โรงเรียนพระปริยัติธรรม (ตึกสาลักษณาลัย) ซึ่งเป็นตึกเก่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คุณหญิง (พึ่ง) ศรีภูริปรีชา ศาลาสำนักงานภาค ศาลาสถิต ศาลามุขหน้าวัด ตึก 80 ปีสมเด็จพระวันรัต เป็นต้น นอกจากนั้นยังมี โรงเรียนวัดโสมนัส กองการฌาปนกิจ กรมสวัสดิการทหารบก สุสานทหาร อยู่ภายในบริเวณวัด
0
วัดสิตาราม (วัดคอกหมู)
วัดสิตาราม (วัดคอกหมู) วัดสิตาราม หรือ วัดคอกหมู เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2340 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้สร้างคือ เจ้ากรมแย้ม ท่านได้ชักชวนชาวจีนที่อาศัยเลี้ยงหมูขายอยู่ในละแวกนั้นมาร่วมกันสร้างวัดขึ้น จึงชื่อว่า "วัดคอกหมู" ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเปลี่ยนนามวัดให้สอดคล้องกับผู้สร้างวัด เป็น "วัดสิตาราม" แปลว่า "วัดที่เจ้ากรมยิ้มเป็นผู้สร้าง" วัดสิตารามได้รับพระราชทานผูกสูงคามสีมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราวปี พ.ศ. 2391 พระอุโบสถหลังเดิม มีรูปแบบศิลปกรรม หน้าบันเป็นรูปจั่วบ้านประดับปูนปั้นลายเครือเถาด้วยถ้วยจานกระเบื้องเคลือบแบบจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา พาไลลาดชัน เสาพาไลไม่มีบัว บานประตูเป็นลายรดน้ำ ศาลาการเปรียญเป็นแบบทรงไทยสองชั้น วัดมีพระพุทธสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ หลวงพ่อทองกายสิทธิ์ บริเวณด้านข้างโบสถ์ใหม่ก็ยังมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในปางต่าง ๆ เช่น ปางลีลา ปางเลไลย์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ปางมารวิชัย ซึ่งประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง เป็นพระพุทธรูปจำลองสมัยสุโขทัย
0
Alex & Beth / Eden's
Alex & Beth / Eden's ทั้ง เด่น—นิรามย์ วัฒนสิทธิ์ เจ้าของร้าน Eden’s และ ตูน—กัญจน์ สุวรรณธาดา เจ้าของร้าน Alex&Beth คืออดีตคนทำงานในแวดวงสิ่งพิมพ์และนิตยสาร ผู้ปลุกปั้นนิตยสาร Lips LOVE นิตยสารไลฟ์สไตล์สุดเก๋ในยุคนั้น แน่นอนว่าพวกเขารู้ว่าจะทำร้านให้เก๋และถ่ายรูปสวยได้อย่างไร แต่มันคนละเรื่องกับการลงทุนทำธุรกิจแบบเต็มตัวครั้งแรกของทั้งคู่ กับร้านที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจเลยแม้แต่น้อย นอกจากการทำร้านแล้ว ทั้งคู่ยังร่วมกันสร้างโปรเจ็กต์ Old Town East สร้างสรรค์ของที่ระลึกจำหน่ายในรูปแบบไลฟ์สไตล์ช็อป มีทั้งสมุดบันทึก กระเป๋าผ้า ที่รองแก้ว ฯลฯ ยังเป็นโปรเจ็กต์ที่เล่าเรื่องเสน่ห์ของย่านเมืองเก่าทั้งชีวิตผู้คน ร้านรวง สิ่งก่อสร้าง และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในนอกกำแพงเมืองเก่าทางทิศตะวันออกของเกาะรัตนโกสินทร์ผ่านพเจในชื่อเดียวกัน
0

Your STAMM Book

มาสะสม STAMM เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวดีๆ ระหว่างทางกัน

ตลาดนางเลิ้ง

ศาลเสด็จเตี่ย ตลาดนางเลิ้ง

ศาลาเฉลิมธานี

ตรอกละครชาตรี

บ้านนราศิลป์

บ้านเต้นรำย่านนางเลิ้ง

วัดสมณานัมบริหาร (วัดญวนสะพานขาว)

วัดแคนางเลิ้ง

สะพานเทวกรรมรังรักษ์

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

Studio UpCircle

Vacilando Bookshop

วัดโสมนัสราชวรวิหาร

วัดสิตาราม (วัดคอกหมู)

นางเลิ้งอาร์ต

Alex & Beth / Eden's

Buddha & Pals Café and Jazz

The Oqposite (ดิอ๊อบโพสิท)

นางเลิ้ง guidebook

ตลาดนางเลิ้ง

ตลาดนางเลิ้ง ย่านอร่อย เกิน 100 ปี ภายหลังที่ตลาดบกได้รับความนิยมแทนตลาดน้ำ เมื่อร้อยปีที่แล้ว นางเลิ้งจึงเป็นเสมือนจุดศูนย์รวมของสินค้านานาชนิด และได้รวบรวมร้านอร่อยต้นตำรับไว้มากมาย ชวนให้ตาลายจนท้องร้อง ร้านดังที่ร่ำลือ เช่น เป็ดพะโล้ ส.ร่งโรจน์ ไส้กรอกปลาแนม รุ่งเรืองบะหมี่เกี๊ยวนางเลิ้ง สุวิมลก๋วยเตี๋ยวแคะ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นนางเลิ้ง ร้านนันทาขนมไทย ขนมไทยแม่สมจิตต์ เป็นต้น

ตลาดนางเลิ้ง
ตลาดนางเลิ้ง ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนและตลาดที่ตั้งอยู่บนถนนนครสวรรค์ แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นตลาดบกแห่งแรกของประเทศไทย มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี ตลาดนางเลิ้งก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2443 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเอง แต่เดิมเรียกว่าบ้านสนามควาย ก่อนจะเรียกว่า “อีเลิ้ง” ตามชื่อคือตุ่มชนิดหนึ่งของชาวมอญ จนมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า “นางเลิ้ง” สถานที่สำคัญของตลาดนางเลิ้งได้แก่ โรงภาพยนตร์เฉลิมธานี ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 80 ปี สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นที่บันเทิงที่จะได้ชมภาพยนตร์จากทุกชาติทั้งไทย, จีน, อินเดีย, ฝรั่ง จากจำนวนคนดูที่เคยมากถึงรอบละ 300–400 คนก็เหลือเพียงรอบละไม่ถึง 10 คน จนต้องเลิกฉายไปเมื่อปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นเพียงโกดังเก็บของ ปัจจุบัน ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร อาคารบ้านเรือนแถบนี้มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และเป็นตลาดและย่านที่ขึ้นชื่ออย่างมากด้านอาหารนานาชนิด เช่น ขนมหวาน และที่ขึ้นชื่ออย่างมาก คือ กล้วยทอด หรือกล้วยแขก ที่มีขายกันหลายรายริมถนนรอบด้านจนเป็นที่เลื่องชื่อ
0
ศาลพลเรือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ศาลของพลเรีอเอกพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ศาลกรมหลวงชุมพรหรือศาล "เสด็จเตี่ย" ตั้งอยู่ใกล้กับวังเก่าของท่าน ใจกลางของตลาดนางเลิ้ง อาจถือได้ว่าเป็นศาลประจำตลาดนางเลิ้ง ใครที่มาค้าขายจับจ่ายซื้อของหรือท่องเที่ยวตลาดนางเลิ้งก็มักแวะเวียนมาสักการะบูชาเพราะเป็นศาลอีกแห่งที่ขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และนอกจากนี้ในช่วงวันคล้ายวันประสูติของท่าน คือ วันที่ 19 ธันวาคม ของทุกปีจะมีการจัดงานแสดง งิ้ว ลิเก และมีการเซ่นไหว้ด้วย

ศาลเสด็จเตี่ย ตลาดนางเลิ้ง
ศาลเสด็จเตี่ย ตลาดนางเลิ้ง รู้จักอีกหนึ่ง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในเมืองกรุง " ศาลเสด็จเตี่ย " กลางตลาดนางเลิ้ง ศูนย์รวมจิตใจ และ ความศรัทธา เป็นที่รับรู้กันว่า พื้นที่ย่านนางเลิ้ง นั้น เป็นอาณาบริเวณดั้งเดิม ของ วังนางเลิ้ง ที่ เสด็จเตี่ย ทรงเคยประทับ ในสมัยยังทรงพระชนชีพ หลังการสิ้นพระชนม์ ทายาทจึงขาย วังนางเลิ้ง ให้กับกรมยุวชนทหารบก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2491 วังนี้ใช้เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนพณิชยการพระนคร ปัจจุบันคือ คณะบริหารธุรกิจและคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยที่พระตำหนักใหญ่ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้นั้น ถูกรื้อมาทำเป็นอาคารไปแล้ว คงเหลือแต่เพียง เรือนหมอพร และประตูวัง ที่อยู่ด้านหลังศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งสร้างไว้เป็นที่ระลึกทางด้านหลังโรงเรียนเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้มากราบไหว้แทน อย่างไรก็ดี ผู้มีความเคารพใน เสด็จเตี่ย ได้เคยสร้างศาลสักการะ ขึ้นมาก่อนที่ ศาลของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จากคำบอกเล่าของ น.ต. ภากร ศุภชลาศัย และ ม.ร.ว.อภิเดช อาภากร ผ่านคลิปย้อนหลังงานเสวนาพระประวัติกรมหลวงชุมพรฯ (ฉบับเต็ม) เรื่อง "สรรพวิชาและอาคมในกรมหลวงชุมพรฯ" กิจกรรมในโครงการ "กรมหลวงชุมพร 120 ปี นิวัตมาตุภูมิ สู่ราชนาวีสยาม" โดยได้ระบุว่า ศาลหลังแรก ของ เสด็จเตี่ย ตั้งขึ้นในจุดที่บริเวณ ที่เป็นปั๊มน้ำมัน ปัจจุบัน ข้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ต่อมา ได้มีการย้าย ศาลดังกล่าว ไปตั้งอยู่ในบริเวณของ ตลาดนางเลิ้ง ในอดีต ศาล เสด็จเตี่ย นั้น เป็นลักษณะศาลเจ้าจีน https://www.komchadluek.net/amulet/534920
0
ศาลาเฉลิมธานี

ศาลาเฉลิมธานี หรือ โรงหนังนางเลิ้ง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นโรงหนังในยุคแรกๆ ของเมืองไทย จากในยุครุ่งโรจน์เคยมีคนดูมากถึงรอบละ 300-400 คน ปัจจุบันเป็นโกดังเก็บสินค้าที่น่ามายืนถ่ายรูปเป็นที่ระลึกสักครั้ง

ศาลาเฉลิมธานี
ศาลาเฉลิมธานี ศาลาเฉลิมธานี จุดกำเนิด “โรงหนังนางเลิ้ง” โรงหนังนางเลิ้ง หรือ โรงภาพยนตร์เฉลิมธานี เปิดทำการ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2461 โดยบริษัท พยนต์พัฒนากร เป็นโรงภาพยนตร์สถาปัตยกรรมโครงสร้างไม้ที่ยังคงสมบูรณ์ทั้งภายนอกและภายในที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในย่านตลาดนางเลิ้ง ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมธานี เมื่อบริษัท สหศีนิมา เข้ามาดำเนินกิจการ ถือว่าเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีความสำคัญต่อชุมชนมาตลอด ตั้งแต่เปิดทำการจนปิดทำการในปี พ.ศ. 2536 อาคารโรงภาพยนตร์เฉลิมธานีเป็นอาคารที่มีความสำคัญในเชิงสถาปัตยกรรมโครงสร้างไม้ ที่มีโครงหลังคาไม้ที่เป็นเอกลักษณ์เด่นที่สุดในประเทศไทย มีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ที่เป็นบทบันทึกของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยตลอดเวลากว่า 100 ปี มีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจที่ช่วยพัฒนาย่านนางเลิ้งมาตลอด ถือเป็นมรดกวัฒนธรรมที่ไม่อาจประเมินค่าได้ ดังนั้น สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงได้เตรียมปรับปรุงศาลาเฉลิมธานี เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการใช้ประโยชน์ต่อไป
0
ตรอกละครชาตรี

ละครชาตรีเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาราชสำนักอยุธยานำลงไปสอนละครชาตรีที่ภาคใต้ ละครชาตรีได้เป็นที่นิยมแพร่หลายทางภาคใต้ เรื่องที่นิยมแสดงคือเรื่อง พระสุธนและนางโนราห์ จึงเรียกละครประเภทนี้ว่า โนราห์ชาตรี พ.ศ. 2312 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จยกทัพไปปราบเจ้านครศรีธรรมราช และพาขึ้นมากรุงธนบุรีพร้อมด้วยพวกละคร พ.ศ. 2323 ในงานฉลองพระแก้วมรกต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ละครของนครศรีธรรมราชขึ้นมาแสดงประชันกับละครหลวงผู้หญิงของหลวง พ.ศ. 2375 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อครั้งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง ได้ลงไปปราบและระงับเหตุการณ์ร้ายทางหัวเมืองภาคใต้ พวกชาวใต้ จึงอพยพติดตามขึ้นมาด้วย ราษฎรเหล่านั้นเป็นไพร่หลวงเกณฑ์บุญ เมื่อราชการมีงานบุญ และให้ตั้งบ้านเรือน ซึ่งในปัจจุบันเป็นบริเวณถนนหลานหลวงและถนนดำรงรักษ์ ภายหลังได้ตั้งคณะละครรับจ้างแสดง

บ้านนราศิลป์

กรมส่งเสริมวัฒนธรรมนำเปิด "บ้านนราศิลป์" แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในชุมชนนางเลิ้ง พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้งานหัตศิลป์ต่อยอดงานศิลปะและภูมิปัญญางานช่างปักเครื่องโขน ละคร ให้เยาวชนและประชาชนได้ต่อยอดเป็นวิชาชีพ "บ้านนราศิลป์" เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมจากชุมชนนางเลิ้ง เต็มไปด้วยบรรยากาศของประวัติศาสตร์ที่เล่าที่มาของชุมชนแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในเรื่องของแหล่งเรียนรู้เรื่องของนาฏศิลป์ การปักเครื่องโขน ซึ่งเป็นอาชีพที่หายาก และคิดว่าการทำเครื่องโขน ศรีษะโขน เครื่องแต่งกายโขน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เป็นมรดกโลกที่ควรสืบสานไว้

บ้านนราศิลป์
บ้านนราศิลป์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมนำเปิด "บ้านนราศิลป์" แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในชุมชนนางเลิ้ง พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้งานหัตศิลป์ต่อยอดงานศิลปะและภูมิปัญญางานช่างปักเครื่องโขน ละคร ให้เยาวชนและประชาชนได้ต่อยอดเป็นวิชาชีพ "บ้านนราศิลป์" เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมจากชุมชนนางเลิ้ง เต็มไปด้วยบรรยากาศของประวัติศาสตร์ที่เล่าที่มาของชุมชนแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในเรื่องของแหล่งเรียนรู้เรื่องของนาฏศิลป์ การปักเครื่องโขน ซึ่งเป็นอาชีพที่หายาก และคิดว่าการทำเครื่องโขน ศรีษะโขน เครื่องแต่งกายโขน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เป็นมรดกโลกที่ควรสืบสานไว้
0
บ้านเต้นรำ

บ้านเต้นรำ" ย่านนางเลิ้งเคยเป็นแหล่งรวมหนุ่มสาวสังคมที่มาเต้นลีลาศกัน เมื่อ 60 ปีที่แล้ว ซึ่งภาพอดีตกำลังหวนกลับมาอีกครั้งค่ะ เมื่อคนในชุมชนเริ่มคืนชีวิตให้บ้านเก่าหลังนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์และโรงเรียนสอนลีลาศ ไม่เพียงใช้บอกเล่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่เล็กๆ แต่ยังเป็นอีกวิธีนำศิลปะมาพัฒนาเด็กและเยาวชน

วัดสมณานัมบริหาร (วัดญวนสะพานขาว)

วัดสมณานัมบริหาร เป็นวัดมหายานในสังกัดคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษม แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นที่บรรจุอัฐิธาตุขององสรภาณมธุรส (บ๋าวเอิง) ซึ่งที่เคารพบูชาของบุคคลทั่วไป เดิมชื่อ วัดเกี๋ยงเพื้อกตื่อ ชาวญวนที่อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้สร้างขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดสมณานัมบริหาร

วัดแคนางเลิ้ง

วัดสุนทรธรรมทาน หรือวัดแคนางเลิ้ง วัดสำคัญของย่านนางเลิ้ง เป็นศูนย์กลางแรกเริ่มของย่านนี้ ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษม วัดแห่งนี้มีวิหารหลวงพ่อบารมี สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่วัด ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวนางเลิ้งเคารพบูชาเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้สิ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้ คือเป็นที่เก็บอัฐิของพระเอกหนังไทย มิตร ชัยบัญชา นักแสดงที่มีชื่อเสียงอย่างมากในอดีต ปัจจุบัน ยังมีแฟนคลับแวะเวียนนำดอกไม้มาเคารพอัฐิอยู่เนืองๆ

วัดแคนางเลิ้ง
วัดแคนางเลิ้ง วัดสุนทรธรรมทานหรือ วัดแคนางเลิ้ง เพี้ยนมาจากคำว่า วัดแค่ ตามสำเนียงชาวใต้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ยังเคยเรียกวัดนี้ว่า วัดสนามกระบือ ตามชื่อตำบลที่ตั้งของวัดในขณะนั้น (ตำบลสนามควาย) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุนทรธรรมทาน" ด้วยการเอาพระนามกรมหมื่นสุนทรธิบดีและนามพระธรรมทานาจารย์ วัดสระเกศ มาผสมกัน[1] แต่ชาวบ้านยังคงเรียกวา "วัดแค"[2] วัดสุนทรธรรมทานตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2380 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2502 อาคารเสนาสนะ พระอุโบสถหลังใหม่ก่อสร้างแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ภายในประดิษฐาน พระพุทธสุนทรมุนี พระประธานหน้าตักกว้าง 4 ศอก มีซุ้มเรือนแก้วประดับแบบพระพุทธชินราชลงรักปิดทองประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีหินอ่อน ภายนอกเป็นชานกำแพงแก้วประดับมุกด้านหน้าและด้านหลังโดยรอบพระอุโบสถ มีวิหารคดตกแต่งด้วยดวงดาวปิดทองล่องชาดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ประดับภาพปูนปั้นลายไทยปิดทองล่องชาด แสดงภาพพุทธประวัติพระพุทธเจ้าขณะประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ปูชนียวัตถุมี หลวงพ่อบารมี ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้กับพระอุโบสถ วัดยังมีอนุสรณ์พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป เขมะสิริ) อดีตเจ้าอาวาส วัดสุนทรธรรมทานยังเป็นที่บรรจุอัฐิของมิตร ชัยบัญชา[3]
0
สะพานเทวกรรมรังรักษ์

สะพานเทวกรรมรังรักษ์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ในแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กับแขวงสี่แยกมหานาค และแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่เชื่อมถนนนครสวรรค์เข้าไว้ด้วยกันและตัดกับถนนกรุงเกษมที่เชิงสะพาน โดยเป็นสี่แยก เป็นสะพานที่อยู่ใกล้กับวัดโสมนัสวิหาร, ทำเนียบรัฐบาล และย่านนางเลิ้ง ชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร รวมถึงราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสนามม้านางเลิ้ง

สะพานเทวกรรมรังรักษ์
สะพานเทวกรรมรังรักษ์ สะพานเทวกรรมรังรักษ์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ในแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กับแขวงสี่แยกมหานาค และแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่เชื่อมถนนนครสวรรค์เข้าไว้ด้วยกันและตัดกับถนนกรุงเกษมที่เชิงสะพาน โดยเป็นสี่แยก เป็นสะพานที่อยู่ใกล้กับวัดโสมนัสวิหาร, ทำเนียบรัฐบาล และย่านนางเลิ้ง ชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร รวมถึงราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสนามม้านางเลิ้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างและทรงเปิดสะพานนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 เป็นสะพานที่มีความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกผสมไทย ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยเป็นสะพานชุดที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษมนี้มีชื่อเรียกคล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งทั้งหมดมีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่สร้างโดยเทวดา" ในส่วนของสะพานเทวกรรมรังรักษ์ หมายถึง "สะพานที่พระเทวกรรมสร้าง" ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของไทย ลักษณะคล้ายคลึงกับพระพิฆเนศตามความเชื่อของฮินดู[1] ซึ่งตามความเชื่อดั้งเดิมของฮินดูไม่มี เมื่อผ่านสะพานนี้ไปผ่านถนนนครสวรรค์จนต่อไปถึงแยกจักรพรรดิพงษ์ และไปอีกจะถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศบรรจบกับถนนราชดำเนิน[2]
0
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งที่อาคารกรมโยธาธิการเดิม บริเวณทางแยกผ่านฟ้าลีลาศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2449 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2455 อาคารได้รับการออกแบบโดย ชาร์ล เบเกอแลง สถาปนิกชาวฝรั่งเศส-สวิส ในรูปแบบสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก โดยมีจุดเด่นที่โดมตรงกลาง

Studio UpCircle

Lab ทำงานพลาสติก น่ารัก ที่นี่จะนำ LDPE มาแปลงร่างเป็นงานศิลปะที่มีความศิลปะและออกแบบแบบใส่ใจ ขายเพื่อนำรายได้มาพัฒนาชุมชน

Vacilando Bookshop

ร้านหนังสืออิสระขนาดเล็กย่านนางเลิ้ง ที่เกิดจากความหลงไหลในหนังสือภาพถ่าย

Vacilando Bookshop
Vacilando Bookshop ร้านหนังสือ Vacilando Bookshop เกิดจากความตั้งใจของ ‘ปิ่น’ - วิทิต จันทามฤต ช่างภาพและอดีตโปรเจกต์เมเนเจอร์โฆษณารวมถึงภาพยนตร์นอกกระแส ที่หลงใหลและชื่นชอบในการเก็บหนังสือตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งได้ตัดสินใจเปิดร้านหนังสือเป็นของตัวเองในปี 2560 ช่วงแรกร้าน Vacilando Bookshop เปิดขายเฉพาะในอินสตาแกรม ก่อนที่ปิ่นจะได้พบกับ ‘โย’ - กิตติพล สรัคคานนท์ และฝากหนังสือส่วนหนึ่งไปขายที่ร้าน Book & Belongings แถวบางจาก จนกระทั่งตัดสินใจเปิดหน้าร้านเป็นของตัวเองบนชั้น 2 ของตึก Arai Arai ย่านวงเวียน 22 กรกฎา ในช่วงต้นปี 2563 หนังสือส่วนใหญ่ที่ร้าน Vacilando Bookshop วางขายนั้น คือหนังสือเฉพาะทางที่เล่าเรื่องราวผ่านภาพถ่าย หรือรู้จักกันดีว่า ‘โฟโต้บุ๊ก’ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนผ่านการคัดสรรก่อนนำออกมาวางขายด้วยตัวปิ่นเอง รวมถึงคัดเลือกจากความต้องการของลูกค้าที่ได้พบปะพูดคุยทั้งผ่านทางหน้าร้านและช่องทางออนไลน์ https://themomentum.co/outandabout-vacilando-bookshop/
0
วัดโสมนัสราชวรวิหาร

วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถและพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม มีคลองผดุงกรุงเกษมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2395 ผ่านทางด้านหน้าของพระอุโบสถ ภายในวัดมีเจดีย์ 2 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (เจดีย์ทอง รูปทรงแบบลังกาสีทองเหลืองอร่าม ยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า สามารถมองเห็นได้ไกลซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนเข้ามาชมความงามและกราบนมัสการกันอยู่มิได้ขาด) และยังมีเจดีย์องค์เล็กชื่อว่าเจดีย์มอญ มีรูปทรงเหมือนธัมเมกขสถูป มีลักษณะสวยงามและหาชมได้ยากเพราะเจดีย์ลักษณะนี้มีเพียง 2 องค์ในประเทศไทย คือ ที่วัดโสมนัสวิหารและที่วัดกันมาตุยาราม อีกองค์หนึ่ง

วัดโสมนัสราชวรวิหาร
วัดโสมนัสราชวรวิหาร วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถและพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม มีคลองผดุงกรุงเกษมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2395 ผ่านทางด้านหน้าของพระอุโบสถ ภายในวัดมีเจดีย์ 2 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (เจดีย์ทอง รูปทรงแบบลังกาสีทองเหลืองอร่าม ยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า สามารถมองเห็นได้ไกลซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนเข้ามาชมความงามและกราบนมัสการกันอยู่มิได้ขาด) และยังมีเจดีย์องค์เล็กชื่อว่าเจดีย์มอญ มีรูปทรงเหมือนธัมเมกขสถูป มีลักษณะสวยงามและหาชมได้ยากเพราะเจดีย์ลักษณะนี้มีเพียง 2 องค์ในประเทศไทย คือ ที่วัดโสมนัสวิหารและที่วัดกันมาตุยาราม อีกองค์หนึ่ง ปัจจุบันมีการสร้างและปรับปรุงอาคารต่างๆ ภายในวัด อาทิเช่น ตึก 150 ปี โรงเรียนพระปริยัติธรรม (ตึกสาลักษณาลัย) ซึ่งเป็นตึกเก่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คุณหญิง (พึ่ง) ศรีภูริปรีชา ศาลาสำนักงานภาค ศาลาสถิต ศาลามุขหน้าวัด ตึก 80 ปีสมเด็จพระวันรัต เป็นต้น นอกจากนั้นยังมี โรงเรียนวัดโสมนัส กองการฌาปนกิจ กรมสวัสดิการทหารบก สุสานทหาร อยู่ภายในบริเวณวัด
0
วัดสิตาราม (วัดคอกหมู)

วัดสิตาราม หรือ วัดคอกหมู เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2340 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้สร้างคือ เจ้ากรมแย้ม ท่านได้ชักชวนชาวจีนที่อาศัยเลี้ยงหมูขายอยู่ในละแวกนั้นมาร่วมกันสร้างวัดขึ้น จึงชื่อว่า "วัดคอกหมู" ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเปลี่ยนนามวัดให้สอดคล้องกับผู้สร้างวัด เป็น "วัดสิตาราม" แปลว่า "วัดที่เจ้ากรมยิ้มเป็นผู้สร้าง" วัดสิตารามได้รับพระราชทานผูกสูงคามสีมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราวปี พ.ศ. 2391

วัดสิตาราม (วัดคอกหมู)
วัดสิตาราม (วัดคอกหมู) วัดสิตาราม หรือ วัดคอกหมู เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2340 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้สร้างคือ เจ้ากรมแย้ม ท่านได้ชักชวนชาวจีนที่อาศัยเลี้ยงหมูขายอยู่ในละแวกนั้นมาร่วมกันสร้างวัดขึ้น จึงชื่อว่า "วัดคอกหมู" ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเปลี่ยนนามวัดให้สอดคล้องกับผู้สร้างวัด เป็น "วัดสิตาราม" แปลว่า "วัดที่เจ้ากรมยิ้มเป็นผู้สร้าง" วัดสิตารามได้รับพระราชทานผูกสูงคามสีมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราวปี พ.ศ. 2391 พระอุโบสถหลังเดิม มีรูปแบบศิลปกรรม หน้าบันเป็นรูปจั่วบ้านประดับปูนปั้นลายเครือเถาด้วยถ้วยจานกระเบื้องเคลือบแบบจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา พาไลลาดชัน เสาพาไลไม่มีบัว บานประตูเป็นลายรดน้ำ ศาลาการเปรียญเป็นแบบทรงไทยสองชั้น วัดมีพระพุทธสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ หลวงพ่อทองกายสิทธิ์ บริเวณด้านข้างโบสถ์ใหม่ก็ยังมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในปางต่าง ๆ เช่น ปางลีลา ปางเลไลย์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ปางมารวิชัย ซึ่งประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง เป็นพระพุทธรูปจำลองสมัยสุโขทัย
0

ร้านถ่ายรูปเก่าแก่ตั้งอยู่บนถนนนางเลิ้งมาตั้งแต่แรกเริ่ม และยังคงเปิดให้บริการถ่ายภาพจนถึงปัจจุบัน แถมด้วยบรรยากาศรุ่นคุณปู่ที่อบอวลเสมือนหยุดเวลา ถึงจะเปลี่ยนจากฟิล์มมาใช้กล้องดิจิทัลว่องไวเหมือนร้านอื่นๆ แต่บริการทำจี้ภาพถ่าย (portrait pendant) หรือที่เรียกกันติดปากว่า ‘ล็อกเก็ตหิน’ ยังคงอยู่ และเป็นศาสตร์ลับประจำครอบครัวที่มีเพียงหนึ่งเดียวในแดนสยาม ปัจจุบันช่างหลักของร้านคือประศาสน์ เสือสง่า ทายาทรุ่นสาม ผู้เป็นคุณลุงของเธอ ส่วนคุณพ่อเป็นช่างถ่ายรูปและผู้ช่วยดูแลร้านนางเลิ้งอาร์ต

Alex & Beth / Eden's

ทั้ง เด่น—นิรามย์ วัฒนสิทธิ์ เจ้าของร้าน Eden’s และ ตูน—กัญจน์ สุวรรณธาดา เจ้าของร้าน Alex&Beth คืออดีตคนทำงานในแวดวงสิ่งพิมพ์และนิตยสาร ผู้ปลุกปั้นนิตยสาร Lips LOVE นิตยสารไลฟ์สไตล์สุดเก๋ในยุคนั้น แน่นอนว่าพวกเขารู้ว่าจะทำร้านให้เก๋และถ่ายรูปสวยได้อย่างไร แต่มันคนละเรื่องกับการลงทุนทำธุรกิจแบบเต็มตัวครั้งแรกของทั้งคู่ กับร้านที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจเลยแม้แต่น้อย นอกจากการทำร้านแล้ว ทั้งคู่ยังร่วมกันสร้างโปรเจ็กต์ Old Town East สร้างสรรค์ของที่ระลึกจำหน่ายในรูปแบบไลฟ์สไตล์ช็อป มีทั้งสมุดบันทึก กระเป๋าผ้า ที่รองแก้ว ฯลฯ ยังเป็นโปรเจ็กต์ที่เล่าเรื่องเสน่ห์ของย่านเมืองเก่าทั้งชีวิตผู้คน ร้านรวง สิ่งก่อสร้าง และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในนอกกำแพงเมืองเก่าทางทิศตะวันออกของเกาะรัตนโกสินทร์ผ่านพเจในชื่อเดียวกัน

Alex & Beth / Eden's
Alex & Beth / Eden's ทั้ง เด่น—นิรามย์ วัฒนสิทธิ์ เจ้าของร้าน Eden’s และ ตูน—กัญจน์ สุวรรณธาดา เจ้าของร้าน Alex&Beth คืออดีตคนทำงานในแวดวงสิ่งพิมพ์และนิตยสาร ผู้ปลุกปั้นนิตยสาร Lips LOVE นิตยสารไลฟ์สไตล์สุดเก๋ในยุคนั้น แน่นอนว่าพวกเขารู้ว่าจะทำร้านให้เก๋และถ่ายรูปสวยได้อย่างไร แต่มันคนละเรื่องกับการลงทุนทำธุรกิจแบบเต็มตัวครั้งแรกของทั้งคู่ กับร้านที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจเลยแม้แต่น้อย นอกจากการทำร้านแล้ว ทั้งคู่ยังร่วมกันสร้างโปรเจ็กต์ Old Town East สร้างสรรค์ของที่ระลึกจำหน่ายในรูปแบบไลฟ์สไตล์ช็อป มีทั้งสมุดบันทึก กระเป๋าผ้า ที่รองแก้ว ฯลฯ ยังเป็นโปรเจ็กต์ที่เล่าเรื่องเสน่ห์ของย่านเมืองเก่าทั้งชีวิตผู้คน ร้านรวง สิ่งก่อสร้าง และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในนอกกำแพงเมืองเก่าทางทิศตะวันออกของเกาะรัตนโกสินทร์ผ่านพเจในชื่อเดียวกัน
0
Buddha & Pals Café and Jazz

Buddha & Pals คาเฟ่ที่ซ่อนตัวอยู่ในตึกแถวโบราณย่านนางเลิ้ง อายุกว่า 80 ปี พร้อมพาคุณไปเปลี่ยนบรรยากาศให้ได้ร่วมย้อนเวลาไปกับตึกแถวอันทรงคุณค่าทันทีที่เปิดประตูเข้าไป

The Oqposite (ดิอ๊อบโพสิท)

The oqposite ชื่อนี้มีผู้คนขนานนามว่า "เป็นโอเอซิสแห่งวัดโสมนัส นางเลิ้ง" Coffee : Cake : Dessert : Food มีที่จอดรถพร้อมบริการ ร้านอยู่ถนนพะเนียง ตรงข้ามฌาปนกิจวัดโสมนัส บ้านสถาปิตะเวสม์

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

นางเลิ้ง Guidebook เดินเมือง

#The Activity
#The All about art
#The Localized

นางเลิ้ง guidebook