สะพานเทวกรรมรังรักษ์

ค้นพบโดย

ไปเที่ยวกันมั้ย

0

ที่ตั้ง

สะพานเทวกรรมรังรักษ์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ในแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กับแขวงสี่แยกมหานาค และแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่เชื่อมถนนนครสวรรค์เข้าไว้ด้วยกันและตัดกับถนนกรุงเกษมที่เชิงสะพาน โดยเป็นสี่แยก เป็นสะพานที่อยู่ใกล้กับวัดโสมนัสวิหาร, ทำเนียบรัฐบาล และย่านนางเลิ้ง ชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร รวมถึงราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสนามม้านางเลิ้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างและทรงเปิดสะพานนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 เป็นสะพานที่มีความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกผสมไทย ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยเป็นสะพานชุดที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษมนี้มีชื่อเรียกคล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งทั้งหมดมีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่สร้างโดยเทวดา" ในส่วนของสะพานเทวกรรมรังรักษ์ หมายถึง "สะพานที่พระเทวกรรมสร้าง" ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของไทย ลักษณะคล้ายคลึงกับพระพิฆเนศตามความเชื่อของฮินดู[1] ซึ่งตามความเชื่อดั้งเดิมของฮินดูไม่มี เมื่อผ่านสะพานนี้ไปผ่านถนนนครสวรรค์จนต่อไปถึงแยกจักรพรรดิพงษ์ และไปอีกจะถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศบรรจบกับถนนราชดำเนิน[2]
สะพานเทวกรรมรังรักษ์

ค้นพบโดย

ไปเที่ยวกันมั้ย

0
สะพานเทวกรรมรังรักษ์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ในแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กับแขวงสี่แยกมหานาค และแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่เชื่อมถนนนครสวรรค์เข้าไว้ด้วยกันและตัดกับถนนกรุงเกษมที่เชิงสะพาน โดยเป็นสี่แยก เป็นสะพานที่อยู่ใกล้กับวัดโสมนัสวิหาร, ทำเนียบรัฐบาล และย่านนางเลิ้ง ชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร รวมถึงราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสนามม้านางเลิ้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างและทรงเปิดสะพานนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 เป็นสะพานที่มีความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกผสมไทย ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยเป็นสะพานชุดที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษมนี้มีชื่อเรียกคล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งทั้งหมดมีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่สร้างโดยเทวดา" ในส่วนของสะพานเทวกรรมรังรักษ์ หมายถึง "สะพานที่พระเทวกรรมสร้าง" ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของไทย ลักษณะคล้ายคลึงกับพระพิฆเนศตามความเชื่อของฮินดู[1] ซึ่งตามความเชื่อดั้งเดิมของฮินดูไม่มี เมื่อผ่านสะพานนี้ไปผ่านถนนนครสวรรค์จนต่อไปถึงแยกจักรพรรดิพงษ์ และไปอีกจะถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศบรรจบกับถนนราชดำเนิน[2]

กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้

STAMM Book

ไม่พบ STAMM Book

Review

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

สะพานเทวกรรมรังรักษ์