กาแฟน่านมาจากไหน
#The Localized
0
กำลังได้รับความสนใจ
สถานที่น่าสนใจ 6 แห่ง

แผนที่

แหล่งปลูกกาแฟบ้านสันเจริญ และโรงคั่วกาแฟสวนยาหลวง
แหล่งปลูกกาแฟบ้านสันเจริญ และโรงคั่วกาแฟสวนยาหลวง บ้านสันเจริญหมู่บ้านเล็กๆของ จ.น่าน แห่งดอยสวนยาหลวง" เป็นเมล็ดกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกอยู่ที่ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน หรือ เราเรียกกันว่า “สวนยาหลวง”ยอดดอยสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,500 เมตรใช้เวลารอเมล็ดกาแฟสุกกว่า 9 เดือน ถึงจะสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนั้นกาแฟน่าน ดอยสวนยาหลวง ยังมี "เอกลักษณ์" ที่โดดเด่นกว่ากาแฟอาราบิก้าสายพันธุ์อื่น ตรงที่ว่าทุกกระบวนการของการทำเม็ดสารจะใช้น้ำจากธรรมชาติโดยส่วนมากน้ำมาจาก ลำธาร เเละ น้ำตก ดังนั้นด้วยความพิถีพิถันนี้จึงทำให้ผลผลิตของเเต่ละปีจะออกมาน้อยกว่าดอยไหนๆรสชาตินุ่มละมุน หอม คั่วกลาง หอมกลิ่นสมุนไพร หวานฉ่ำอมเปรี้ยวบอดี้กลมกล่อม
0
แหล่งปลูกกาแฟบ้านห้วยขวาก อำเภอบ่อเกลือ
แหล่งปลูกกาแฟบ้านห้วยขวาก อำเภอบ่อเกลือ บ้านห้วยขวากเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่มีความสูงประมาณ 1,200 – 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง รสชาติของกาแฟจะกลมกล่อม และกลิ่นหอมหวานในแบบนัทตี้ คาราเมลของกาแฟพันธุ์อาราบิก้า คาติมอร์ จากโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริบ้านห้วยขวาก จังหวัดน่าน มีความพิเศษอีกอย่าง คือ เมล็ดกาแฟที่เติบโตขึ้นมาภายใต้ร่มเงาของป่าไม้ ระบบนิเวศน์อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าและน้ำ ซึ่งเมื่อป่าดี ระบบนิเวศดี กาแฟก็จะสมบูรณ์ตาม โดยมีชาวบ้านเป็นผู้ดูแล และได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่กรมอุทยาน ถือเป็นกาแฟที่อยู่ร่วมกับป่าอย่างแท้จริง
0
แหล่งปลูกกาแฟบ้านห้วยโทน อำเภอบ่อเกลือ
แหล่งปลูกกาแฟบ้านห้วยโทน อำเภอบ่อเกลือ ห้วยโทน อ.บ่อเกลือ เป็นสายพันธุ์เอราบิก้า ในเขตพื้นที่อำเภอบ่อเกลือประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ชนเผ่าลั๊วะ ประกอบอาชีพทำข้าวไร่และหาของป่าเพื่อเลี้ยงชีพ จึงมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเผาถางเพื่อทำไร่จึงทำให้เกิดปัญหามลพิษหมอกควัน ซึ่งตั้งแต่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือเข้ามาดำเนินการ ได้มีการสนับสนุนเกษตรกรในหลายด้านโดยโครงการมองเห็นถึงความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรทำให้เกษตรมีรายได้ควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทางโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือได้ส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นสูงปลูกกาแฟอราบิก้าภายใต้ร่มเงาของป่าควบคู่ไปกับการดูแลกาแฟ ซึ่งตั้งแต่นั้นมากาแฟ (ห้วยโทน) ก็ได้เป็นที่นิยมและได้เริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
0
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์ นายวิชัย กำเนิดมงคล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์ “บ้านมณีพฤกษ์แต่เดิมนั้นเป็นสมรภูมิสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับรัฐบาลไทยมาก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวม้งซึ่งอพยพมาจากประเทศจีน กระทั่งในปี พ.ศ. 2527 ทางการจึงได้เข้ามาพัฒนาและส่งเสริมอาชีพต่างๆให้ชาวไทยภูเขา นำเอาโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในลุ่มแม่น้ำน่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (พมพ.) เข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชผักและดอกไม้เมืองหนาว อย่างสตรอเบอรี่ ลูกท้อ แต่พืชที่สร้างรายได้หลักคือกาแฟ ซึ่งปลูกกันอยู่หลายสายพันธุ์” วิชัย กล่าว กาแฟเดอม้ง มีความโดดเด่นในเรื่องของสายพันธุ์อราบิก้าที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เกอิชา คาติมอร์ ทิปปิก้า จาวา ประกอบกับสภาพพื้นที่ที่ปลูกบนดอยสูง 1,400-1,600 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี และมีดินภูเขาไฟซึ่งมีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง ทำให้เหมาะสมกับการปลูกกาแฟเป็นอย่างมาก นอกจากนี้จุดเด่นของกาแฟเดอม้งยังอยู่ที่การผลิตซึ่งเน้นความเป็นธรรมชาติ กรรมวิธีในการปลูกเป็นแบบอินทรีย์ไม่พึ่งพาสารเคมีในทุกขั้นตอน มีการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จนได้รับมาตรฐานการผลิต GAP รวมทั้งยังมีการยังส่งเสริมคนในชุมชนปลูกกาแฟไปพร้อม ๆ กับการอนุรักษ์ผืนป่า เนื่องจากกาแฟนั้นเป็นพืชที่ต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ทำให้ปัจจุบันชาวบ้านหันมาดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเป็นมิตร ลดปัญหาการถางป่าทำไร่เลื่อนลอยที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไปได้ ด้านนายประพันธ์ จันทร์ผง เกษตรอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เล่าว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตกาแฟเพื่อจำหน่าย โดยเริ่มต้นจากการรวมตัวของเกษตรในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน และขยายจำนวนสมาชิกเพื่อเข้าร่วมเป็นแปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เมื่อปี พ.ศ.2560 ปัจจุบันมีสมาชิก 76 ราย ซึ่งทางกลุ่มได้เข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด และขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้คั่วกาแฟ ความสำเร็จอีกขั้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์ คือการคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภท Natural Process และ Honey Process จากการประกวด Thailand Special Coffee Awards 2021 มาครองได้ในปีนี้ ซึ่งรางวัลที่ได้นั้นวิชัยบอกว่าจะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการผลิตกาแฟคุณภาพเพื่อจำหน่ายต่อไป
0

Your STAMM Book

มาสะสม STAMM เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวดีๆ ระหว่างทางกัน

แหล่งปลูกกาแฟบ้านสันเจริญ และโรงคั่วกาแฟสวนยาหลวง

แหล่งปลูกกาแฟบ้านห้วยขวาก อำเภอบ่อเกลือ

แหล่งปลูกกาแฟบ้านห้วยโทน อำเภอบ่อเกลือ

แหล่งปลูกกาแฟบ้านน้ำมวบ อำเภอเวียงสา

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์

สกาด คอฟฟี่ (Sakad Coffee)

#กาแฟ #กาแฟน่าน

เทือกเขาสลับซับซ้อน มีหลายดอย หลายสายน้ำที่ไหลผ่าน หลายชีวิตและหลากผู้คนชนเผ่า ภูมิศาสตร์ในจังหวัดน่านจึงเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีการปลูกพืชไร่มากมาย และพืชไร่เศรษฐกิจที่โดดเด่นตอนนี้คือ กาแฟ

โดยเฉพาะเจาะจงในจังหวัดน่านแล้ว แหล่งปลูกกาแฟก็มีอย่างหลากหลาย ด้วยมีหลายดอย แต่ละดินและแม่น้ำในพื้นที่และระดับความสูงของดอย ก็ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟแตกต่างกันไปในรสชาติ กลายเป็นบุคลิกและคุณสมบัติมากมายที่ชาวกาแฟใช้ศึกษากัน

สวนยาหลวง
#สวนยาหลวง #วิสาหกิจชุมชนแปรรูปกาแฟสวนยาหลวง #บ้านสันเจริญ #กาแฟน่าน

“สวนยาหลวง” เป็นภูเขาที่แบ่งเขตจังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา สวนยาหลวงเป็นภูเขาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยโดยสามารถขึ้นไปชมวิวด้านบนได้ ดอยสวนยาหลวง อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยศึกษาการอนุรักษ์ต้นน้ำดอยกาด อ.ปง จ.พะเยา แต่จากทางที่จะขึ้นไป จะเริ่มต้นกันที่บ้านสันเจริญ อ.ท่าวังผา จังหวัดน่าน นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปเที่ยวบนสวนยาหลวงได้โดยการขึ้นจากฝั่งบ้านสันเจริญ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

“สวนยาหลวง” ยอดดอยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตร ผู้ใหญ่บ้านเล่าให้ฟังว่า ที่นี่ส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าเมี่ยน หรือ เย้าเดิมมีอาชีพปลูกฝิ่นต่อมารัฐบาลได้ประกาศห้ามปลูกฝิ่น ชาวบ้านจึงหันมาปลูกพืชไร่ทั่วไป ต่อมาได้เอาพันธุ์ต้นกาแฟจากอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง มาปลูก หลังจากนั้นมีหน่วยงานภาครัฐคือสำนักงานเกษตรอำเภอท่าวังผาเข้ามาให้ความรู้ การบริหารจัดการกลุ่มและตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมาภายใต้ชื่อ “ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกาแฟสวนยาหลวง” ที่นี่จะปลูกพันธุ์อาราบิก้า (Coffea Arabica) รอจนถึง 9 เดือนจนผลสุกเต็มที่และพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นก็ เข้าสู่ขั้นตอนของการผลิตเมล็ดกาแฟต่อไป

ที่ตั้ง: 12 หมู่ 6 บ้านสันเจริญ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 55140
ติดต่อ: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปกาแฟ สวนยาหลวง 096-8265163
เวลาทำการ: 09.00 – 18.00 น.
Facebook: กาแฟสวนยาหลวง น่าน
Instagram: สวนยาหลวง
ขอบคุณที่มาและรูปภาพ: chillpainai
ขอบคุณคลิปวิดีโอ: Toyota Nan โตโยต้าน่าน

แหล่งปลูกกาแฟบ้านสันเจริญ และโรงคั่วกาแฟสวนยาหลวง
แหล่งปลูกกาแฟบ้านสันเจริญ และโรงคั่วกาแฟสวนยาหลวง บ้านสันเจริญหมู่บ้านเล็กๆของ จ.น่าน แห่งดอยสวนยาหลวง" เป็นเมล็ดกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกอยู่ที่ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน หรือ เราเรียกกันว่า “สวนยาหลวง”ยอดดอยสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,500 เมตรใช้เวลารอเมล็ดกาแฟสุกกว่า 9 เดือน ถึงจะสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนั้นกาแฟน่าน ดอยสวนยาหลวง ยังมี "เอกลักษณ์" ที่โดดเด่นกว่ากาแฟอาราบิก้าสายพันธุ์อื่น ตรงที่ว่าทุกกระบวนการของการทำเม็ดสารจะใช้น้ำจากธรรมชาติโดยส่วนมากน้ำมาจาก ลำธาร เเละ น้ำตก ดังนั้นด้วยความพิถีพิถันนี้จึงทำให้ผลผลิตของเเต่ละปีจะออกมาน้อยกว่าดอยไหนๆรสชาตินุ่มละมุน หอม คั่วกลาง หอมกลิ่นสมุนไพร หวานฉ่ำอมเปรี้ยวบอดี้กลมกล่อม
0
บ้านห้วยขวาก
#หมู่บ้านห้วยขวากหมู่บ้านแห่งกาแฟ #โครงการพระราชดำริบ้านห้วยขวาก #กาแฟน่าน

"บ้านห้วยขวาก" ตั้งอยู่ในตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ที่นี่เป็นแหล่งปลูกกาแฟที่มีความสูงประมาณ 1,200 – 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง รสชาติของกาแฟจะกลมกล่อม และกลิ่นหอมหวานในแบบนัทตี้ คาราเมลของกาแฟพันธุ์อาราบิก้า คาติมอร์ จากโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริบ้านห้วยขวาก จังหวัดน่าน มีความพิเศษอีกอย่าง คือ เมล็ดกาแฟที่เติบโตขึ้นมาภายใต้ร่มเงาของป่าไม้ ระบบนิเวศน์อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าและน้ำ ซึ่งเมื่อป่าดี ระบบนิเวศดี กาแฟก็จะสมบูรณ์ตาม โดยมีชาวบ้านเป็นผู้ดูแล และได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่กรมอุทยาน ถือเป็นกาแฟที่อยู่ร่วมกับป่าอย่างแท้จริง

"บ้านห้วยขวาก" เป็นชุมชนขนาดเล็กที่มีการจัดสรรการใช้พื้นที่อย่างยั่งยืน ด้วยความสูงกว่า 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ที่นี่จึงเหมาะกับการไปกางเต็นท์นอนดูดาวอีกแห่ง ส่วนกาแฟของบ้านห้วยขวากเป็นที่รู้จักในนามกาแฟหลายชื่อ อาทิ กาแฟห้วยขวาก กาแฟภูพันเก้า สอบถามที่ นายบุญเลิศ คงธนรักษ์ ประธานกลุ่มกาแฟห้วยขวาก โทร. 09-5842-0147 (ขอบคุณข้อมูลจาก dailynews)

ที่ตั้ง: บ้านห้วยขวาก ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน 55220
ติดต่อ: ประธานกลุ่มกาแฟห้วยขวาก โทร. 09-5842-0147
เวลาทำการ: 09.00 – 18.00 น.
Facebook: ห้วยขวาก Coffee
Instagram: ดอยห้วยขวาก
ขอบคุณที่มาและรูปภาพ: ห้วยขวาก Coffee
ขอบคุณคลิปวิดีโอ: FreeTV

แหล่งปลูกกาแฟบ้านห้วยขวาก อำเภอบ่อเกลือ
แหล่งปลูกกาแฟบ้านห้วยขวาก อำเภอบ่อเกลือ บ้านห้วยขวากเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่มีความสูงประมาณ 1,200 – 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง รสชาติของกาแฟจะกลมกล่อม และกลิ่นหอมหวานในแบบนัทตี้ คาราเมลของกาแฟพันธุ์อาราบิก้า คาติมอร์ จากโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริบ้านห้วยขวาก จังหวัดน่าน มีความพิเศษอีกอย่าง คือ เมล็ดกาแฟที่เติบโตขึ้นมาภายใต้ร่มเงาของป่าไม้ ระบบนิเวศน์อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าและน้ำ ซึ่งเมื่อป่าดี ระบบนิเวศดี กาแฟก็จะสมบูรณ์ตาม โดยมีชาวบ้านเป็นผู้ดูแล และได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่กรมอุทยาน ถือเป็นกาแฟที่อยู่ร่วมกับป่าอย่างแท้จริง
0
บ้านห้วยโทน
#วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟบ้านห้วยโทน #กาแฟน่าน

“บ้านห้วยโทน” ตั้งอยู่ในอำเภอบ่อเกลือ เป็นแหล่งปลูกกาแฟสายพันธุ์เอราบิก้า ซึ่งในเขตพื้นที่อำเภอบ่อเกลือนี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ชนเผ่าลั๊วะ ประกอบอาชีพทำข้าวไร่และหาของป่าเพื่อเลี้ยงชีพ จึงมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเผาถางเพื่อทำไร่จึงทำให้เกิดปัญหามลพิษหมอกควัน ซึ่งตั้งแต่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือเข้ามาดำเนินการ ได้มีการสนับสนุนเกษตรกรในหลายด้านโดยโครงการมองเห็นถึงความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรทำให้เกษตรมีรายได้ควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทางโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือได้ส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นสูงปลูกกาแฟอราบิก้าภายใต้ร่มเงาของป่าควบคู่ไปกับการดูแลกาแฟ ซึ่งตั้งแต่นั้นมากาแฟ (ห้วยโทน) ก็ได้เป็นที่นิยมและได้เริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ

ที่ตั้ง: บ้านห้วยโทน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน 55220
ติดต่อ: วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟบ้านห้วยโทน ผู้ใหญ่หนึ่ง โทร. 081-1900491
เวลาทำการ: 09.00 – 18.00 น.
Facebook: วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟบ้านห้วยโทน
Instagram: บ้านห้วยโทน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
ขอบคุณที่มาและรูปภาพ: วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟบ้านห้วยโทน
ขอบคุณคลิปวิดีโอ: เที่ยว กับลุงรุธ

แหล่งปลูกกาแฟบ้านห้วยโทน อำเภอบ่อเกลือ
แหล่งปลูกกาแฟบ้านห้วยโทน อำเภอบ่อเกลือ ห้วยโทน อ.บ่อเกลือ เป็นสายพันธุ์เอราบิก้า ในเขตพื้นที่อำเภอบ่อเกลือประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ชนเผ่าลั๊วะ ประกอบอาชีพทำข้าวไร่และหาของป่าเพื่อเลี้ยงชีพ จึงมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเผาถางเพื่อทำไร่จึงทำให้เกิดปัญหามลพิษหมอกควัน ซึ่งตั้งแต่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือเข้ามาดำเนินการ ได้มีการสนับสนุนเกษตรกรในหลายด้านโดยโครงการมองเห็นถึงความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรทำให้เกษตรมีรายได้ควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทางโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือได้ส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นสูงปลูกกาแฟอราบิก้าภายใต้ร่มเงาของป่าควบคู่ไปกับการดูแลกาแฟ ซึ่งตั้งแต่นั้นมากาแฟ (ห้วยโทน) ก็ได้เป็นที่นิยมและได้เริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
0
น้ำมวบ
#กาแฟน้ำมวบ #ขุนมวบคอฟฟี่ #กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟน้ำมวบ #กาแฟน่าน

“บ้านน้ำมวบ” ตั้งชื่อตามลำน้ำสายหลักของชุมชน คือ แม่น้ำมวบ ซึ่งไหลมาจากภูเขาที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดน่าน บ้านน้ำมวบตั้งอยู่ในอำเภอเวียงสา ทิวทัศน์ที่นี่โดดเด่นอยู่ท่ามกลางหุบเขาแห่งเทือกเขาหลวงพระบางและสอดแทรกด้วยลำน้ำมวบที่ไหลผ่านชุมชน กาแฟน้ำมวบเป็นกาแฟโรบัสต้า มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ โดยพื้นที่เพาะปลูกอยู่ตามแนวเทือกเขาหลวงพระบาง ความสูงจากระดับน้ำทะเลอยู่ที่ 400 - 500 เมตร และสภาพภูมิอากาศเหมาะสม จึงทำให้กาแฟขุนมวบ หรือกาแฟน้ำมวบ มีรสชาติหวานผลไม้ และมีความเข้มข้น

ที่ตั้ง: บ้านน้ำมวบ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 55110
ติดต่อ: ขุนมวบ คอฟฟี่ โทร. 081-6915962
เวลาทำการ: 09.00 – 18.00 น.
Facebook: ขุนมวบ คอฟฟี่
Instagram: บ้านน้ำมวบ
ขอบคุณที่มาและรูปภาพ: ขุนมวบ คอฟฟี่
ขอบคุณคลิปวิดีโอ: Thai PBS

ดอยมณีพฤกษ์
#กาแฟมณีพฤกษ์ #บ้านมณีพฤกษ์ถิ่นกาแฟเกอิชา #ดอยมณีพฤกษ์ #กาแฟน่าน

“บ้านมณีพฤกษ์” อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน แหล่งผลิตเกอิชาหนึ่งเดียวในไทย บ้านมณีพฤกษ์ อดีตพื้นที่สีแดงในจังหวัดน่าน แต่ปัจจุบันคือแหล่งท่องเที่ยวที่มีดอยผาผึ้งยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,600 เมตรจากระดับน้ำทะเลเป็นไฮไลต์ ในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งปลูกกาแฟล้ำค่าหายากอย่างกาแฟเกอิชาสร้างรายได้ระดับที่เราได้ยินต้องร้องว้าว! เลยทีเดียว กาแฟเกอิชาหรือกาแฟเกชาเป็นกาแฟสายพันธุ์อราบิก้า ได้ชื่อมาจากแหล่งกำเนิดคือชื่อหมู่บ้านในเอธิโอเปีย (ไม่ใช่ญี่ปุ่นอย่างที่คิด) ก่อนกระจายตัวไปสู่อเมริกากลางและมีชื่อเสียงจากสวนกาแฟในปานามาช่วงยุค 1960  เลยทำให้มีคนสับสนว่ากาแฟเกอิชาเป็นกาแฟปานามา รสชาติของกาแฟเกอิชาคือมีรสขมอมเปรี้ยว คล้ายส้มสายน้ำผึ้งและพืชตระกูลซีตรัส มีกลิ่นหอมอ่อนๆคล้ายดอกมะลิ สำหรับคนที่ชอบกาแฟรสเข้มก็อาจจะไม่ถูกปาก เพราะกาแฟเกอิชานิยมคั่วอ่อนเพื่อจะได้ไม่เสียรสชาติที่แท้จริงของกาแฟ

"กาแฟเดอม้ง" เริ่มทำมาตั้งแต่ปลาย 2558 โดยเข้ามาจับเรื่องการปลูกกาแฟในพื้นที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ พร้อม ๆ กับกลุ่มเกษตรกรในดอยมณีพฤกษ์ ก่อนจะจัดทำแบรนด์ “เดอม้ง” เนื่องจากต้องการนำเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ม้ง มาเสนอให้เป็นที่รู้จัก โดยใช้กาแฟเป็นสื่อกลาง ทั้งนี้ กลุ่มของกาแฟเดอม้งนั้นจะมีครัวเรือนชาติพันธุ์ม้งเป็นสมาชิกอยู่ 33 ครัวเรือน แม้จะยังมีครัวเรือนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก แต่มีการขายกาแฟเข้ากลุ่ม โดยมีรายได้รวมกันไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อปี จากนั้นกระจายต่อให้สมาชิกในชุมชน กลายเป็นรายได้ต่อครัวเรือนประมาณ 100,000-200,000 บาทต่อปี โดยผลิตภัณฑ์ที่วางขายนั้นจะแบ่งเป็นกาแฟสารสำหรับร้านกาแฟที่ซื้อไปคั่วด้วยสูตรเฉพาะ ราคา 500 บาทต่อกิโลกรัม กาแฟคั่วสำเร็จ 1,200-1,500 บาทต่อกิโลกรัม กลุ่มเดอม้งนั้นจะเน้นการปลูกกาแฟอราบิก้า สามารถผลิตและแปรรูปกาแฟสารได้ 5 ตันต่อปี แบ่งเป็นกาแฟคาติมอร์ธรรมดา 50% ซึ่งส่งขายให้ร้านกาแฟในจังหวัดน่านทั้งหมด และอีก 50% เป็นสายพันธุ์พิเศษที่มีรสชาติแตกต่างกันออกไป

ที่ตั้ง:  กาแฟเดอม้ง ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 55130
ติดต่อ: กาแฟเดอม้ง 063-5626696
เวลาทำการ: 09.00 – 18.00 น.
Facebook: กาแฟเดอม้ง
Instagram: Kluay Hidden Cafe
ขอบคุณที่มาและรูปภาพ: tcompanion
ขอบคุณคลิปวิดีโอ: Triptravelgang

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์ นายวิชัย กำเนิดมงคล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์ “บ้านมณีพฤกษ์แต่เดิมนั้นเป็นสมรภูมิสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับรัฐบาลไทยมาก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวม้งซึ่งอพยพมาจากประเทศจีน กระทั่งในปี พ.ศ. 2527 ทางการจึงได้เข้ามาพัฒนาและส่งเสริมอาชีพต่างๆให้ชาวไทยภูเขา นำเอาโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในลุ่มแม่น้ำน่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (พมพ.) เข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชผักและดอกไม้เมืองหนาว อย่างสตรอเบอรี่ ลูกท้อ แต่พืชที่สร้างรายได้หลักคือกาแฟ ซึ่งปลูกกันอยู่หลายสายพันธุ์” วิชัย กล่าว กาแฟเดอม้ง มีความโดดเด่นในเรื่องของสายพันธุ์อราบิก้าที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เกอิชา คาติมอร์ ทิปปิก้า จาวา ประกอบกับสภาพพื้นที่ที่ปลูกบนดอยสูง 1,400-1,600 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี และมีดินภูเขาไฟซึ่งมีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง ทำให้เหมาะสมกับการปลูกกาแฟเป็นอย่างมาก นอกจากนี้จุดเด่นของกาแฟเดอม้งยังอยู่ที่การผลิตซึ่งเน้นความเป็นธรรมชาติ กรรมวิธีในการปลูกเป็นแบบอินทรีย์ไม่พึ่งพาสารเคมีในทุกขั้นตอน มีการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จนได้รับมาตรฐานการผลิต GAP รวมทั้งยังมีการยังส่งเสริมคนในชุมชนปลูกกาแฟไปพร้อม ๆ กับการอนุรักษ์ผืนป่า เนื่องจากกาแฟนั้นเป็นพืชที่ต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ทำให้ปัจจุบันชาวบ้านหันมาดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเป็นมิตร ลดปัญหาการถางป่าทำไร่เลื่อนลอยที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไปได้ ด้านนายประพันธ์ จันทร์ผง เกษตรอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เล่าว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตกาแฟเพื่อจำหน่าย โดยเริ่มต้นจากการรวมตัวของเกษตรในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน และขยายจำนวนสมาชิกเพื่อเข้าร่วมเป็นแปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เมื่อปี พ.ศ.2560 ปัจจุบันมีสมาชิก 76 ราย ซึ่งทางกลุ่มได้เข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด และขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้คั่วกาแฟ ความสำเร็จอีกขั้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเดอม้งมณีพฤกษ์ คือการคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภท Natural Process และ Honey Process จากการประกวด Thailand Special Coffee Awards 2021 มาครองได้ในปีนี้ ซึ่งรางวัลที่ได้นั้นวิชัยบอกว่าจะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการผลิตกาแฟคุณภาพเพื่อจำหน่ายต่อไป
0
ดอยสกาด
#สกาดคอฟฟี่ Sakad Coffee #บ้านจักษ์กะพัฒน์ #ดอยสกาด #กาแฟน่าน

"ดอยสกาด" เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทยภูเขาเผ่าลัวะที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตเรียบง่าย อากาศหนาวเย็นมาก โดยหลักสถานที่เที่ยวบนนี้ดอยนี้จะเป็นโฮมสเตย์และร้านกาแฟน่ารัก ๆ เหมาะสำหรับการพักผ่อน ที่นี่มีการปลูกกาแฟอันเป็นเอกลักษณ์ของดอยสกาดด้วย หากอยากชิมลองสอบถามกับบาริสต้าร้านกาแฟที่คาเฟ่ในย่านสกาดได้เลย

“บ้านฉันอยู่ดอยสกาด บ้านฉันมีธรรมชาติ อยากบอกเธอบ้านฉันปลูกเมี่ยง บ้านฉันปลูกเมี่ยงบนดอยใหญ่น้อยเรียกดอยสกาด ป่าเขียวเป็นธรรมชาติ อยากบอกเธอ ฉันปลูกมะแข่น มะแข่นหอม เอาไว้ใส่ลาบ ลาบขม  ต้มแซ่บเมือง มะแข่นดีชื่อดังลือเลื่อง อยากบอกเธอใส่แกงผักกาด  ปีนี้ฉันปลูกกาแฟไม่กี่ปีฉันจะขายกาแฟ สกาดดีมีดีหลายแล  มะแข่น เมี่ยง กาแฟ ของแท้สกาด welcome to สกาด” บทเพลงนิยามของความเป็น ดอยสกาด  ดอยที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการปลูกเมี่ยง ถิ่นปลูกมะแข่นของดีเมืองน่าน ดอยแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขาชนเผ่าลั๊วะที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย และที่สำคัญยังคงมีความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะสำหรับมาพักผ่อนชาร์ตแบตรีเฟรซร่างกายให้หายจากความเหนื่อยล้า (ขอบคุณข้อมูลจาก paiduaykan)

"ดอยสกาด" ตั้งอยู่ในอำเภอปัว จังหวัดน่าน บนเทือกเขาดอยภูคา ห่างจากตัวเมืองปัวประมาณ 22 กม. ใช้เวลาเดินทางครึ่งชั่วโมง ดอยสกาดนั้นมีชื่อเสียงในเรื่องของการปลูกเมี่ยง ถิ่นปลูกมะแข่นของดีเมืองน่าน ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ดอยแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขาชนเผ่าลั๊วะที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย และที่สำคัญยังคงมีความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ มีวิวทิวทัศน์อันสวยงาม บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะสำหรับมาพักผ่อนชาร์ตแบตรีเฟรซร่างกายให้หายจากความเหนื่อยล้า ด้วยธรรมชาติอันเป็นเลิศนี้ ทำให้ดอยสกาดมีชื่อเสียงใน ด้านการท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวและโฮมสเตย์สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวดอยสกาด (ขอบคุณข้อมูลจาก เที่ยวปัวไง)

ที่ตั้ง:  บ้านสกาดใต้ 24 ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120
ติดต่อ: บ้านจักษ์กะพัฒน์ โทร. 096-7206902, สกาดคอฟฟี่ Sakad Coffee โทร. 085-1802013
เวลาทำการ: 08.00 – 17.00 น.
Facebook: บ้านจักษ์กะพัฒน์, สกาดคอฟฟี่ Sakad Coffee
Instagram: บ้านจักษ์กะพัฒน์, Sakad Coffee สกาดคอฟฟี่
ขอบคุณที่มาและรูปภาพ: paiduaykan
ขอบคุณคลิปวิดีโอ: ปล่อยใจเที่ยว ทั่วแดนดิน LetHeartGo

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

กาแฟน่านมาจากไหน

#The Localized