เที่ยวใจฟู อุทยานแห่งชาติ สะสมตราประทับ บันทึกความประทับใจในป่าอุทยาน 8 แห่งที่น่าน
0
กำลังได้รับความสนใจ
สถานที่น่าสนใจ 8 แห่ง

แผนที่

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยดงหญ้าหวายเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหินชั้น และหินอัคนี โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำทีอุดมสมบูรณ์ 1. ลักษณะทางธรรมชาติ 1.1 ทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน พื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดใน จังหวัดน่าน โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (กรมแผนที่ทหาร,2531) แต่ปัจจุบันยอดดอยภูคา มีความสูง 1,910 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (กรมแผนที่ทหาร,2542) ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหิน และหินปนทราย โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านและแม่น้ำลำธารสาขาหลายสาย 1.1.1 ธรณีวิทยา จากรายงานการสำรวจทางธรณีวิทยา (A.Hess and K.E. Kock 1975) พบว่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาประกอบไปด้วย หิน 2 ประเภท คือ หินชั้น หรือ หินตะกอน (Sedimentary) เป็นส่วนใหญ่ และมี หินอัคนี (Igneous Rock) บ้างเล็กน้อย หินชั้นที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จำแนกตามอายุของหิน จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) หินที่มีอายุในมหายุคพาลีโอโซอิค (Pareozoic Era) ซึ่งประกอบด้วยหินยุคต่างๆ ดังนี้ - หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส ตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่าง (Upper Carboniferous – Lower Permain Period) มีอายุระหว่าง 345 - 230 ล้านปี ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) หินปูน (Lime Stone) หินกรวดมน (Conglomelate) หินแกรแวด (Greywaeke) และหินเชิร์ท (Chert) จะพบหินดังกล่าวนี้ทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคาฝั่งตะวันตกของลำน้ำว้าเป็นแนวแคบ ๆ ช่วงอำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม - หินยุคเปอร์เมียน (Permian Period) มีอายุระหว่าง 280–230 ล้านปี ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินปูน (Lime Stone) บริเวณดังกล่าวนี้จะพบอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอุทยานแห่งชาติ ช่วงอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ - หินยุคเปอร์เมียน-ไทรแอสสิค (Permian-Triassic Period) มีอายุระหว่าง 250 – 195 ปี ประกอบด้วยหินเช่นเดียวกับหินที่เกิดในยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่าง แต่มีอายุน้อยกว่า พบหินยุคนี้เป็นบริเวณกว้างทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ ทั้งตอนบนและตอนล่างจะพบหินในยุคนี้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม - หินที่มีอายุในยุคไทรแอสสิคตอนบนถึงยุคจูแรสสิค และครีเตเซียส (Upper Triassic-Jurassic and Cretaceous Period) จะพบหินในยุคนี้ประมาณ 195 – 18 ล้านปีประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินคองโกลเมอเรท (Conglomerlate) หินดังกล่าวนี้จะพบเป็นบริเวณกว้างทางด้านตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ตามแนวเหนือ-ใต้ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ช่วงอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอสันติสุข 2) หินที่มีอายุอยู่ในมหายุคนีโอโซอิค (Neozoic Era) ประกอบด้วยหินยุคต่างๆ ดังนี้ - หินยุคเทอเทียรี่ (Tertiary Period) มีอายุระหว่าง 65 ล้านปี ถึง 1 แสนปี หินที่พบในยุคนี้ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินคองโกลเมอเรท (Conglomerlate) จะพบหิน ดังกล่าวนี้เล็กน้อย ทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ - หินยุคควอเตอร์นารี (Quaternary Period) ประกอบไปด้วยตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวมีตั้งแต่ขนาดกรวดจนถึงดินเหนียว เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนร่องน้ำต่าง ๆ - หินอัคนี (Igneous Rocks) ที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติ มีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหินชั้นหรือหินตะกอน หินที่มีอายุมากที่สุดได้แก่หินยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่างประกอบด้วยหินทัฟ ( Tuff ) ที่มีเนื้อหินสีเข้ม นอกจากนี้ยังพบหินอัคนี ที่มีอายุอยู่ในยุคไตรแอสสิค ประกอบด้วยหินแกรนิต (Granite) หินแกรโนไดโอไรท์ (granodiorite) พบบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา 1.1.2 ทรัพยากรดิน พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชุดดินที่ 62 ชุดดินนี้จะพบบริเวณพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 %ในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่าง ๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าดิบชื้นหลายแห่ง มีการทำไร่เลื่อนลอยโดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินจนบางแห่งเหลือแต่หินพื้นโผล่ ได้แก่ชุดดินที่ลาดชันเชิงซ้อน (Sc) กลุ่มดินนี้ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร 1.1.3 ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีลำน้ำซึ่งต้นกำเนิดจากเทือกเขาสูงที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ลำน้ำว้า เกิดจากลำน้ำในเทือกเขาจอมในเขตอำเภอบ่อเกลือ ไหลผ่านอำเภอ แม่จริม แล้วไปบรรจบแม่น้ำน่าน ในเขตตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา 2) ลำน้ำกอน มีต้นน้ำเกิดจากดอยภูคา ไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบกอน อำเภอเชียงกลาง 3) ลำน้ำปัว เกิดจากธารน้ำในเทือกเขาดอยภูคา ทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอปัว แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบปัว อำเภอปัว 4) ลำน้ำยาว มีต้นกำเนิดจากประเทศลาว ไหลผ่านอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มาบรรจบแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าวังผา 5) ลำน้ำย่าง มีต้นกำเนิดจากดอยภูคา ไหลผ่านอำเภอปัว มาบรรจบแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าวังผา 6) ลำน้ำอวน มีต้นกำเนิดจากดอยภูคา ไหลมาบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบยาว กิ่งอำเภอภูเพียง 7) แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาขุนน้ำน่าน มีลำน้ำสาขาไหลมาบรรจบ ในเขตจังหวัดน่าน เป็นจำนวนมาก จากอำเภอทุ่งช้าง อำเภอปัว อำเภอเมือง อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น แล้วไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ ในเขตอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ฤดูฝน : ระหว่างเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม จะมีฝนตกชุก ฤดูหนาว : ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ในเดือนธันวาคม – มกราคม จะมีอากาศหนาวจัด และมีอุณหภูมิต่ำสุด 2.0 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน : ระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 8-10 °C ฤดูร้อนเป็นช่วงสั้นๆ คือ เดือนมีนาคม - เมษายน อากาศจะเย็นสบาย ทรัพยากรป่าไม้ 1. ประเภทป่าไม้/การใช้ที่ดิน - ป่าดิบเขา เนื้อที่ 315,000 ไร่ คิดเป็น 29.6 % - ป่าดิบแล้ง เนื้อที่ 262,500 ไร่ คิดเป็น 24.6 % - ป่าเบญจพรรณ เนื้อที่ 262,500 ไร่ คิดเป็น 24.6 % - ป่าเต็งรัง เนื้อที่ 92,400 ไร่ คิดเป็น 8.6 % - ป่าเสื่อมโทรม (ไร่ร้าง) เนื้อที่ 12,000 ไร่ คิดเป็น 1.2 % - พื้นที่ทำกินของราษฎร เนื้อที่ 108,100 ไร่ คิดเป็น 10.2 % - อื่นๆ เนื้อที่ 12,5001.3 ไร่ คิดเป็น 1.2 % - ที่มา : อุทยานแห่งชาติดอยภูคา,2546 2. ลักษณะของป่าและพืชพันธุ์ไม้ป่า ป่าดอยภูคาแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามสภาพป่า 2.1. ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest) เป็นป่าที่มีความอุสมบูรณ์ มีอยู่ตามหุบเขา ริมน้ำลำธาร ส่วนใหญ่อยู่ตอนใต้ตอนกลาง และตอนเหนือของพื้นที่บางส่วน มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่พรรณไม้ที่สำคัญ คือ ก่อยาง ตะเคียน มะค่าโมง มณฑาป่า จำปีป่า กำลังเสือโคร่ง ไม้พื้นล่าง ประกอบด้วย หวาย ผักกูด มอส เฟริ์น กล้วยไม้ ฯลฯ 2.2. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ตามหุบเขา มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่พันธ์ไม้ที่สำคัญ คือ ยาง ตะเคียน มะค่าโมง จำปีป่า ประดู่ ก่อ ต้นชมพูภูคา เป็นต้น พันธุ์ไม้พื้นล่างประกอบด้วย ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เฟริ์น หวาย เถาวัลย์ชนิดต่างๆ 2.3. ป่าเบญจพรรณ (Deciduous forest) มีอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าดอยภูคา บริเวณที่ราบตามรอบพื้นที่ และบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ยาง มะค่าโมง ประดู่ แดง ตะแบก ไม้พื้นล่างประกอบด้วยไม้ไผ่ชนิดต่างๆ 2.4. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest) เป็นป่าที่มีอยู่บริเวณโดยรอบของพื้นที่ตามลาดเขา และบนภูเขาในพื้นที่บางจุดป่าประเภทนี้มีอยู่น้อยมาก เนื้อที่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะค่า พะยอม รกฟ้า ไม้พื้นล่างประกอบด้วย มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเเพ็ก 2.5. ป่าสนธรรมชาติ ( Pine forest) มีขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ในพื้นที่ตอนใต้ของอุทยานฯใกล้ๆกับดอยภูหวดส่วนใหญ่จะขึ้นผสมกับป่าเต็งรังลักษณะเป็นสน 3 ใบ 3. พันธุ์ไม้ป่าหายากและพรรณไม้เฉพาะถิ่น เนื่องจากอุทยานฯ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูง บางพื้นที่มีลักษณะจำเพาะ พรรณพืชบางชนิดที่พบในพื้นที่อุทยานเป็นพรรณไม้หายาก หรือพรรณไม้เฉพาะถิ่น เนื่องจากมีการกระจายในวงจำกัด ประกอบกับสภาพป่าที่ได้ถูกแปรสภาพหรือถูกรบกวนโดยปัจจัยต่างๆ 4. พืชไม้ล้มลุก เช่น ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน พืชเฉพาะถิ่น ขาวละมุน เทียนดอย พืชหายาก ฯลฯ 5.พืชชนิดไม้เลื้อย เช่น เสี้ยวเครือ (Bauhinia variegata) มะลิภูหลวง พืชหายาก นมตำเลีย พืชเฉพาะถิ่น ฯลฯ (นายปรัชญา ศรีสว่าง.ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่มีท่อลำเลียงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2548 ) ทรัพยากรสัตว์ป่า สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest) ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) ป่าเบญจพรรณ (Evergreen forest, Deciduous forest) ป่าเต็งรัง (Dry diterocarp forest) สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่อย่างชุกชุม ได้แก่ เก้ง (Muntiacus muntjak Zimmermann.) กวางป่า (Cervus unicolor Kerr.) หมูป่า (Sus sorofa Linnaeus.) เลียงผา (Capricornis sumatraensis Bechstein.) ชะนีธรรมดา (Hylobates lar Linnaeus.) อีเห็นธรรมดา (Paradoxurus hormaphroditus Pallas.) หมีควาย (Selenatos thibetanus G. Cuvier.) ซาลาเมนเดอร์หรือจิ้งจกน้ำ เป็นต้น เส้นทางคมนาคม - ระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ถึง อุทยานแห่งชาติ 753 กิโลเมตร - ระยะทางจากจังหวัดน่าน โดยรถยนต์ไปตามทางหลวง 1080 ถึง อำเภอปัว ระยะทาง 60 กิโลเมตร แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว – บ่อเกลือ) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ - ดอยภูคา ระยะทาง 25 กิโลเมตร
0
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนวเหนือใต้ คล้ายรูปตัว T ตัวเขียนใหญ่ในภาษาอังกฤษ ระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 300 - 1,752 เมตร จากระดับน้ำทะเล มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดดอยจี๋ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,752 เมตร เป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของลุ่มน้ำถึงสามลุ่มน้ำด้วยกัน คือ ลุ่มน้ำยมตอนบน ลุ่มน้ำยาวตอนบน และลุ่มน้ำลาว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำสายหลักของประเทศ คือ ลำน้ำยม และ ลำน้ำน่าน อันเป็นแม่น้ำสำคัญสายหลักในการประกอบอาชีพเกษตรของราษฎรริมสองลำน้ำ เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดต่อปีประมาณ 8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดต่อปีประมาณ 41 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,211 มิลลิเมตร สภาพป่าประกอบด้วย ป่าดิบเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ก่อชนิดต่าง ๆ พญาไม้ พญาเสือโคร่ง มะขามป้อมดง สนสามพันปี อบเชย กฤษณา ไม้พื้นล่างได้แก่ มอส เฟินชนิดต่างๆ ป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง กระบาก สมพง ลำพูป่า กระทุ่ม พืชพื้นล่างได้แก่ กูดต้น กูดพร้าว เอื้องกุหลาบพวง เป็นต้น ป่าดิบแล้ง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางแดง ยางขาว ตะเคียน ตะแบก มะม่วงป่า พืชพื้นล่างได้แก่ ไผ่ หวาย เฟิน ปาล์ม ต๋าว เป็นต้น ป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าโมง สมอภิเพก ตะคร้อ เสี้ยว ดอกขาว พืชพื้นล่างได้แก่ หญ้าแฝก หญ้าคมบาง และพืชในวงศ์ ขิง ข่า เป็นต้น จากการสำรวจพบว่าสัตว์ป่าส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมีตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดเล็ก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก ได้แก่ เสือ เลียงผา เก้ง หมูป่า กระรอก กระแต หมาไน เหยี่ยว นกขุนทอง และนกเขา รถยนต์ เดินทางจากตัวเมืองน่านใช้เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1080 สายน่าน-ทุ่งช้าง เมื่อถึงอำเภอท่าวังผา ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แล้วให้แยกไปทางซ้ายมือตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1148 สายท่าวังผา-สองแคว ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอสองแควแล้วให้แยกไปตามทางซ้ายมือตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1097 สายสองแคว-เชียงคำ ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้านสะเกิน ตำบลยอด อำเภอสองแคว แล้วให้แยกเข้าหมู่บ้านเลี้ยวไปทางขวามือผ่านหมู่บ้านไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน
0
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน สภาพภูมิประเทศทั่วไปของพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่านเป็นพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 เอ ลักษณะพื้นที่เขาสูงชันสลับซับซ้อน ติดต่อกันเป็นเทือกเต็มพื้นที่ มีระดับความสูงตั้งแต่ 600-1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง โดยมียอดดอยผีปันน้ำในเทือกเขาผีปันน้ำ ในท้องที่ตำบลดงพญา เป็นดอยที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย เทือกเขาที่สำคัญในพื้นที่ได้แก่ เทือกเขาภูฟ้า เทือกเขาขุนน้ำว้าน้อย เทือกเขาน้ำว้ากลาง และเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นต้น ไม่มีพื้นที่ที่เป็นที่ราบบนภูเขาที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่เกษตรกรรมอย่างถาวรได้ มีลำน้ำว้า อันเป็นลำน้ำสายใหญ่และสำคัญ ไหลผ่านกลางพื้นที่ในแนวทิศเหนือไหลลงทิศใต้ มีระยะทางการไหลผ่านพื้นที่ประมาณ 25.5 กิโลเมตร ต้นกำเนิดของลำน้ำว้าเกิดจากเทือกผีปันน้ำบริเวณบ้านน้ำว้าในตำบลบ่อเกลือเหนือ นอกเขตพื้นที่ที่จะประกาศเป็น อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ที่บ้านสะปัน ตำบลดงพญา ผ่านกลางพื้นที่ไปออกพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ขุนน่าน ที่บ้านผาสุข ตำบลภูฟ้า ลำห้วยสำคัญที่ไหลลงน้ำว้า ได้แก่ น้ำปาด น้ำปัน ห้วยตี๋ ห้วยห้า และน้ำแปด เนื่องจากพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ตั้งอยู่ในภาคเหนือพื้นที่อยู่ระหว่าง เส้นรุ้ง ที่ 02-32.5 องศาเหนือ ระหว่างเส้นแวง ที่ 27.2-48.4 องศาตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณเกือบเหนือสุดของประเทศ สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นที่สูง โดยอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่จะอยู่ที่ ประมาณระหว่าง 1-7 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูหนาว และประมาณ ระหว่าง 28-33 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อน และโดยที่พื้นที่นี้มีป่าไม้และภูเขารอบด้านห่างไกลจากชุมชนเมืองใหญ่อากาศบนพื้นที่นี้มีป่าไม้และภูเขารอบด้านห่างไกลจากชุมชนเมืองใหญ่อากาศพื้นที่จึงมีความบริสุทธิ์ แจ่มใส สดชื่น เกือบตลอดทั้งปี ดังนั้น พื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยเป็นสถานที่ตากอากาศ รับอากาศสดชื่น ที่ปราศจากมลพิษในอากาศเป็นเวลานานๆ สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติขุนน่านประมาณร้อยละ 90 ปกคลุมด้วยป่าดิบเขา ส่วนที่เหลือเป็นป่าดิบชื้นและทุ่งหญ้า ชนิดพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบในป่าดิบเขา ได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อน้ำ ก่อตาหมู ก่อนก กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า จำปีป่า หว้า ผักกูด มอส และกล้วยไม้ดิน สำหรับป่าดิบชื้นซึ่งจะพบบริเวณริมน้ำ ริมห้วย และตามร่องเขาที่มีความชื้น พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบได้แก่ ยาง กระบาก มะหาด มะยมป่า ไผ่บง ไผ่ฮก หวาย ตาว และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนน่านได้แก่ เก้ง เลียงผา หมูป่า ชะมด หมี เม่น กระรอก กระแต ไกป่า เป็นต้น รถยนต์ จากอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1081 (บ่อเกลือ-เฉลิมพระเกียรติ) ประมาณ 4 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติขุนน่าน
0
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี อุทยานแห่งชาตินันทบุรีมีอาณาเขตติดต่อทิศเหนือจดเขตอำเภอสองแคว จังหวัดน่านและเขตอำเภอปง จังหวัดพะเยา ทิศใต้จดเขตอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ทิศตะวันออก จดทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1080 ( น่าน-ทุ่งช้าง) ทิศตะวันตก จดเขตอำเภอเชียงม่วง จังหวัด พะเยา เขตพื้นที่สำรวจจัดตั้ง อุทยานแห่งชาติ ดอยภูนาง และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง จังหวัดพะเยา ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนวเหนือใต้ อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดน่าน จนไปจดประเทศลาว ระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 300-1,710 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความลาดชันของพื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ “ยอดดอยวาว” ความสูง 1,710 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะของหิน ส่วนใหญ่เป็นหินที่เกิดในมหายุค Mesozoic Paleozoic และ Neozoic ซึ่งส่วนใหญ่คือ หินตะกอน มีอายุอยู่ในหลายช่วงอายุด้วยกัน นอกจากนี้เป็นหินภูเขาไฟ และหินก่อนหินภูเขาไฟบ้างประปรายกระจายในพื้นที่ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยหลายสายซึ่งเป็นลำห้วยที่คอยหล่อเลี้ยงลำน้ำน่านและลำน้ำยม ได้แก่ ลำน้ำสมุน ลำน้ำสะเนียน ลำน้ำวาว ลำน้ำยาว ลำน้ำพี้ ลำน้ำตึม ลำน้ำสีพัน ลำน้ำไสล ลำน้ำระพี และลำน้ำคาง เป็นต้น เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูฝนและมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีต่ำสุดประมาณ 9 องศาเซสเซียล สูงสุดประมาณ 26 องศาเซสเซียล ประมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,198 มิลลิเมตร ลักษณะทั่วไปของพื้นที่ปกคลุมด้วยป่าเบญจพรรณทางด้านตะวันตก และป่าดิบแล้งทางด้านตะวันตกและเหนือ มีป่าดิบเขาอยู่บ้างตามยอดเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 900 เมตร นอกจากนั้นยังมีป่าเต็งรัง ป่าเขาหินปูน และทุ่งหญ้า ชนิดพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบในแต่ละชนิดป่าได้แก่ ป่าเบญจพรรณ เช่น สัก มะค่าโมง ซ้อ สมอพิเภก ตะเคียนหนู ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ไร่ และไผ่ข้าวหลาม ป่าดิบแล้ง เช่น ยางแดง ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง คอแลน มะม่วงป่า เก็ดดำ จอแจ หมามุ่ย หวายขม และเครือออน ป่าดิบเขา เช่น ทะโล้ พญาไม้ กำลังเสือโคร่ง ก่อแดง กฤษณา กุหลาบขาว เมี่ยงหลวง โคลงเคลงขน กุหลาบหิน และกระชาย ป่าเต็งรัง เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง ไผ่เพ็ก เป้ง เปราะป่า และส้มกั้ง บริเวณ ทุ่งหญ้า พบประดู่ สีเสียดเหนือ มะสัง หญ้าคา และหญ้าปากควาย ในบริเวณที่เป็น แหล่งน้ำ พบแพงพวยน้ำ สาหร่ายหางกระรอก หญ้าแห้วหมู จอกหูหนู และไข่น้ำ เป็นต้น ชนิดของสัตว์ป่าที่พบในอุทยานแห่งชาตินันทบุรี ได้แก่ เก้ง หมาไม้ ลิงกัง ลิงวอก อีเห็นข้างหลาย อ้นเล็ก ลิ่น บ่าง กระต่ายป่า กระรอกปลายหางดำ ค้างคาวลูกหนูถ้ำ หนูผีนา เหยี่ยวนกเขาหงอน นกเปล้าหน้าเหลือง นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า นกปรอดเหลืองหัวจุก นกแซงแซวหงอนขน นกขุนทอง เต่าเหลือง เต่าปูลู ตะกวด แย้ งูหลาม งูสิง จิ้งเหลนหางยาว กิ้งก่าบินคอแดง ปาดแคระขาเขียว อึ่งปากขวด กบทูด เขียดจะนา คางคกหัวราบ ผีเสื้อสะพายฟ้า ผีเสื้อถุงทองป่าสูง และผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู เป็นต้น สำหรับในบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำพบสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาซิวหนวดยาว ปลาตะเพียนขาว ปลาไหลนา ปลาดุกอุย ปลาหมอตาล หอยกาบน้ำจืด หอยขม หอยโข่ง และกุ้งฝอยใน เป็นต้น รถยนต์ การเดินทางจากตัวเมืองน่าน ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1080 สายน่าน-ทุ่งช้าง ไปยังอำเภอท่าวังผาแล้วไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1148 สายท่าวังผา-สองแคว ประมาณ 1.5 กิโลเมตร แยกไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1082 สายนาหนุน-สบขุ่น ถึงหลักกิโลเมตรที่ 27 แยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ แนะนำ ระยะทาง 3 กิโลเมตร ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ในช่วงหน้าฝน นักท่องเที่ยวควรใช้รถโฟวิลในการเดินทาง และต้องมีทักษะในการขับรถ
0
อุทยานแห่งชาติแม่จริม
อุทยานแห่งชาติแม่จริม ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติแม่จริม มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ทอดตัวจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาหลวงพระบางซึ่งทอดตัวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ เป็นเขตแนวเขตกั้นระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-1,652 เมตร ความสูงของเทือกเขาจะค่อยลดหลั่นไปทางทิศตะวันตก ยอดดอยที่มีความสูงมากที่สุดคือ ดอยขุนลาน (1,652 เมตร) อยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ รองลงมาคือ ดอยแดนดิน (1,558 เมตร) ดอยขุนน้ำปูน (1,530 เมตร) ดอยขุนคูณ (1,307 เมตร) มีแม่น้ำว้าซึ่งไหลมาจากเทือกเขาหลวงพระบางไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่ เป็นระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร มีลำธาร และลำห้วยที่เป็นต้นน้ำน่านอยู่หลายสาย เช่น ห้วยทรายมูล ห้วยสาสี่ ห้วยบ่ายน้อย ห้วยบ่ายหลวง ห้วยน้ำพาง ลำน้ำแปง และแต่ละสายล้วนเป็นอู่น้ำของราษฎรรอบพื้นที่ ลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือฤดูร้อนซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูร้อนที่พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ฝั่งทะเลอันดามัน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน เริ่มเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาเอาความหนาวเย็นจากแถบขั้วโลกเหนือมายังประเทศไทย เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ สภาพป่าอุทยานแห่งชาติแม่จริมประกอบด้วย ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง สัตว์ป่าที่ เด่น ได้แก่ เสือ เลียงผา หมี และนกยูง รถยนต์ สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรก จากจังหวัดแพร่ ผ่านอำเภอเวียงสา ตามเส้นทางบ้านไหล่น่าน บ้านบุญเรือง บ้านนาสา เลี้ยวขวาตามถนนไปบ้านท่าข้าม บ้านปากุง บ้านห้วยสอน เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปอำเภอแม่จริมถึงบ้านห้วยทรายมูลและเลี้ยวขวาเข้าอุทยานแห่งชาติแม่จริม จากปากทางบ้านห้วยทรายมูล ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอเวียงสาถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริมประมาณ 31 กิโลเมตร เส้นทางที่สอง จากจังหวัดน่าน ข้ามสะพานแม่น้ำน่านไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 เลี้ยวซ้ายผ่านวัดพระธาตุแช่แห้งไปตามทางหลวงสายน่าน-แม่จริม ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร จากอำเภอแม่จริมไปตามทางหลวงหมายเลข 1243 (บ้านนาเซีย-บ้านน้ำมวน) ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยทรายมูลเลี้ยวซ้ายเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม ระยะทาง 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดน่านถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริม 57
0
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ใต้เทือกเขาที่สำคัญคือ ดอยแปรเมือง ดอยขุนห้วยฮึก ขุนห้วยหญ้าไทร และดอยหลวง มียอดเขาขุนห้วยฮึก ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่สูงที่สุด มีความสูง 1,234 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำน่านทั้งสิ้น ส่วนใหญ่ไหลจากทิศเหนือไปสู่ทิศใต้ แหล่งน้ำที่พบเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ มีลำห้วยลำธารที่สำคัญคือ แม่น้ำขะนิง แม่น้ำสา นอกจากลำน้ำสองสายแล้วยังมีลำห้วยเล็กๆ อีกหลายสาย ลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็นสามฤดู คือ ฤดูร้อน อากาศจะร้อนพอประมาณ เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝน ฝนจะตกปานกลางถึงหนัก เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว อากาศจะหนาวจัด เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ลักษณะท้องฟ้ามีเมฆมากในฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน และมีเมฆน้อยมากในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประเภทป่าแบ่งออก เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ป่าไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่พบคือ กระบาก ตะเคียน ยาง ประดู่ มะค่าโมง ยมหอม ตะแบก ชิงชัน เหียง พลวงตะเคียนหนู พวกไม้ก่อต่างๆ พลับพลา หมีเหม็น สนสองใบ สนสามใบ เป็นต้น ป่าผลัดใบ ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบคือ สัก แดง ประดู่ ชิงชัน ขะเจ๊าะ สาธร มะค่าโมง ตะแบก ตีนนก โมกหลวง เต็ง รัง เหียง พลวง ตะคร้อ มะม่วงป่า กว้าว รกฟ้า มะกอก ไผ่ชนิดต่างๆ เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่คือ กระทิง วัวแดง กวางป่า หมูป่า หมี เสือโคร่ง เสือดาว ชะนี ลิงลม หมาไน หมาจิ้งจอก กระจง อีเห็น เสือป่า กระต่ายป่า กระแต กระรอก หมาจิ้งจอก นกนานาชนิด ที่สำคัญ คือ นกยูงไทย สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งจะพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติ รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ผ่านนครสวรรค์ พิษณุโลกถึงแพร่ จากแพร่ตามถนนยันตรกิจโกศล ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปถึงอำเภอเวียงสา เลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1026 จากอำเภอ เวียงสาไปอำเภอนาน้อย ระยะทางประมาณ 35 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามถนนสายนาน้อย -ปางไฮ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 ไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงเสาดิน และถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
0
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติขุนสถาน เป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชันทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ มีแนวสันเขาของดอยแปรเมืองเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัดแพร่กับจังหวัดน่าน ความสูงตั้งแต่ 120-1,726 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแม่น้ำน่านเป็นแนวกันระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์กับจังหวัดน่าน มีลำธารและลำห้วยซึ่งเป็นต้นน้ำน่านอยู่หลายสาย เช่น ห้วยน้ำแหง ห้วยน้ำอูน ห้วยน้ำลี เป็นต้น ดอยที่สำคัญ เช่น ดอยจวงปราสาท สูง 1,193 เมตร ดอยแม่จอก สูง 1,469 เมตร ดอยกู่สถาน(ดอยธง) สูง 1,634 เมตร และดอยที่สูงที่สุดคือยอดดอยภูคา มีความสูง 1,726 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติขุนสถาน มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนช่วงสั้นๆ เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ฤดูฝน เริ่มเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จากข้อมูลภูมิอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 - 2551 อุณหภูมิสูงสุด 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 1.5 องศาเซลเซียส อุทยานแห่งชาติขุนสถานสามารถจำแนกสังคมพืชออกได้เป็น ป่าดิบเขา ขึ้นอยู่ตามสันเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เช่น บริเวณดอยขุนห้วยย่าทาย ดอยขุนห้วยหก ดอยขุนสถาน มีพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ก่อ สารภีดอย พะวา จำปีป่า เหมือด กำยาน เฟิน และปรงป่า และทีเฟริ์น ป่าสนเขา ขึ้นกระจายตามยอดเขาที่ความสูงประมาณ 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล เช่น บนดอยจวงปราสาท ดอยแปรเมือง มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก พันธุ์ไม้ที่พบได้แก สนสองใบ สนสมใบ เหียง และพะยอม ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่ทั่วไป สภาพป่ามีความชื้นสูง สภาพป่ารกทึบ มีพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างได้แก่ ยางปาย ยมหิน ม่วงก้อม ชมพูป่า เขืองแข้งม้า และหนามเล็บเหยี่ยว ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 250-1,000 เมตร ชนิดไม้และพืชพื้นล่างที่พบได้แก่ ประดู่ ชิงชัน เก็ดแดง เก็ดดำ รกฟ้า มะเฟืองช้าง ตะแบกเลือด ปู่เจ้า มะกอกเกลื้อน ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่ซาง เห็ดจั่น เห็ดมัน เห็ดซาง และเห็ดขอน ป่าเต็งรัง พบตามสันเขาที่มีความสูงระหว่าง 700-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พะยอม มะม่วงหัวแมงวัน กระโดน ติ้ว กระท่อมหมู ปรง เห็ดไข่ห่านเหลือง และเห็ดขมิ้นใหญ่ เป็นต้น ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่ทั่วไป แต่เป็นบริเวณไม่กว้างนัก พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ตะเคียนทอง ยมหอม เชียด เลือดม้า กระทุ่มบก ลำพูป่า เฟิน ผักกูด กีบแรด บอน เห็ดแดง และเห็ดขมิ้นน้อย และยังพบกล้วยไม้นานาชนิด เช่น สิงโตสยามฯ สัตว์ป่าที่พบในอุทยานแห่งชาติขุนสถาน ได้แก่ เสือโคร่ง หมีควาย กวางป่า เลียงผา หมูป่า ลิง อีเห็น หมูหริ่ง หมาหริ่ง กระต่ายป่า ตุ่น อ้น กระรอก นกขุนทอง นกแก้ว นกขมิ้น นกหัวขวาน นกแซงแซวหางบ่วง นกตะขาบทุ่ง แย้ ตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแกป่า กบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก ฯลฯ สำหรับในบริเวณแหล่งน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำสิริกิตติ์ มีปลาอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาตะเพียนแดง ปลาแรด ปลาชะโด ปลาไน ปลาช่อน ปลาบู่ทอง ปลาสลาก ปลาตะโกก ปลาหมอ และปลาสร้อย เป็นต้น รถยนต์ เส้นทางไปอุทยานแห่งชาติขุนสถาน มี 2 เส้นทาง คือ • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (ถนนยนตรกิจโกศล) เป็นเส้นทางจากตัวจังหวัดแพร่ไปจังหวัดน่าน จากจังหวัดแพร่ ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านห้วยแก๊ต ตำบลไผ่โทนอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวง 1216 ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติขุนสถาน • จากจังหวัดน่าน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ถึงอำเภอเวียงสา เลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 สายอำเภอเวียงสา - อำเภอนาน้อย ระยะทางจากอำเภอเวียงสาถึงอำเภอนาน้อย ประมาณ 35 กิโลเมตร และจากอำเภอนาน้อยเลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1216 ระยะทางประมาณ 31 กิโลเมตร ถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติขุนสถาน
0
วนอุทยานถ้ำผาตูบ
วนอุทยานถ้ำผาตูบ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีพรรณไม้ที่ควรศึกษาและหาดูได้ยาก เช่น ต้นจันทน์ผาและเอื้องผึ้งซึ่งจะผลิดอกประมาณปลายฤดูฝน มีทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทาง คือ เส้นทางเดินเท้าถึงถ้ำบ่อน้ำทิพย์ เส้นทางจากหน้าที่ทำการฯ ถึงจุดชมวิว และเส้นทางเดินรอบที่ทำการฯ ถ้ำพระ เป็นถ้ำใหญ่ ลานพื้นกว้าง เนื้อที่ราว 50 ตารางวา มีปล่องเพดานด้านหนึ่งซึ่งปล่อยให้ลมพัดเข้ามา และให้แสงสว่าง มีหินงอกหินย้อยงดงาม ห่างจากที่ทำการประมาณ 200 เมตร ถ้ำบ่อน้ำทิพย์ ภายในถ้ำเป็นห้องโถงกว้างประมาณ 30 ตารางวา มีปล่องเพดานให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ มีหินย้อยรอบผนังถ้ำด้านหนึ่ง มีซอกเว้าลึกเป็นโพรงมีแอ่งน้ำรูปไข่ น้ำขังตลอดปี ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นสัญลักษณ์ของถ้ำนี้
0

Your STAMM Book

มาสะสม STAMM เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวดีๆ ระหว่างทางกัน

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน

อุทยานแห่งชาตินันทบุรี

อุทยานแห่งชาติแม่จริม

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน

วนอุทยานถ้ำผาตูบ

เที่ยว 7 อุทยานแห่งชาติ และ 1 วนอุทยาน ในจังหวัดน่าน จังหวัดน่าน เมืองในหุบเขา จังหวัดเล็ก ๆ ที่ทอดตัวเรียบเสมอขนาบข้างไปกับขุนเขาสูงใหญ่ สีเขียวของต้นไม้และพืชป่ายังหาชมได้ทั่วทั้งจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ยอดดอย ถ้ำในป่าเขียวชอุ่ม จังหวัดที่มีจำนวนป่าอุทยานที่งดงามให้ไปท่องเที่ยวถึง 8 แห่งประเทศไทย มีที่ไหนกันบ้าง ไปล่าตราประทับอุทยานกันเลย

1. อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

2. อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน

3. อุทยานแห่งชาติขุนน่าน

4. อุทยานแห่งชาตินันทบุรี

5. อุทยานแห่งชาติแม่จริม

6. อุทยานแห่งชาติศรีน่าน

7. อุทยานแห่งชาติขุนสถาน

8. วนอุทยานถ้ำผาตูบ

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีเนื้อที่ประมาณ 1,065,000 ไร่ (1,074 ตร.กม) ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

ดอยภูแว เป็นภูเขาในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา อยู่ในพื้นที่ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน สูงจากระดับน้ำทะเล 1,837 เมตร ลักษณะเป็นทุ่งหญ้าปกคลุม และมีลานหินกระจายอยู่หลายแห่ง เช่น ผาแอ่น ผาผึ้ง ผาขี้นก มีพรรณไม้ที่จัดว่าเป็นกึ่งอัลไพน์ (Subalpine Zone) มีการค้นพบพรรณไม้ที่หายาก เช่น กุหลาบขาวเชียงดาว ปาล์มรักเมฆหรือค้อเชียงดาว

น้ำตกภูฟ้า ตั้งอยู่กลางป่าลึกใกล้ชายแดนลาว เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ในเขตอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน สูงประมาณ 140 เมตร มีทั้งหมด 12 ชั้น น้ำตกภูฟ้าเป็นน้ำตกขนาดใหญ่อยู่ท่ามกลางป่าดิบเขาอันอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำตลอดปี ชั้นล่างสุดของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำใหญ่และลึก มีผาน้ำตกลาดชันขึ้นไปเป็นขั้นบันไดสามารถมองเห็นชั้น 1 ถึงชั้น 3 ได้ชัดเจน รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 100 เมตร ส่วนชั้นอื่นต้องปีนป่ายขึ้นไปทีละชั้นจึงจะสามารถเห็นได้ โดยเฉพาะชั้น 5 และ 6 สายน้ำจะทิ้งตัวลงตามผาหินเป็นสองสาย ชั้น 10 จะเป็นม่านน้ำลดหลั่นเป็นชั้นๆ ตามผาหินกว้าง และชั้น 12 สายน้ำจะทิ้งตัวจากผาสูงใหญ่อลังการ

น้ำตกตาดหลวง ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคาบริเวณหมู่บ้านทุ่งเฮ้า ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ลักษณะเป็นแอ่งน้ำตกที่สวยงาม นักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำท่ามกลางธรรมชาติ สายน้ำไหลลดหลั่นกันลงมาผ่านโขดหินเป็นชั้นๆ บางชั้นก็เป็นโขดหินสูง ชั้นบนสุดมีทางน้ำแคบๆ และกระแสน้ำไหลแรงมาก ในฤดูฝนจะมีน้ำมากกว่าฤดูอื่นๆ นอกจากนี้น้ำตกตาดหลวงยังเป็นแหล่งอนุรักษ์ปลาพลวงอีกด้วย มีห้องน้ำ ห้องสุขาบริการอยู่ด้านนอกก่อนเข้าน้ำตก

แหล่งท่องเที่ยว ชมดอกชมพูภูคา ระหว่างเดอนกุมภาพันธ์-มีนาคม ของทุกปี การเดินทาง พิชิตยอดดอยภูแว เป็นยอดดอยที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,837 เมตร ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นเส้นทาง ล่องแก่งระดับ 3-5 ประมาณ 20 กว่า เป็นสุดยอดแห่งความตื่นเต้นและสนุกสนาน เที่ยวถ้ำ ชมวิว ป่าดึกดำบรรพ์ น้ำตก ชมนก ได้ตลอดทั้งปี

การเดินทางจากจังหวัดน่าน โดยรถยนต์ไปตามทางหลวง 1080 ถึง อำเภอปัว ระยะทาง 60 กิโลเมตร แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว – บ่อเกลือ) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ - ดอยภูคา ระยะทาง 25 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยดงหญ้าหวายเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหินชั้น และหินอัคนี โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำทีอุดมสมบูรณ์ 1. ลักษณะทางธรรมชาติ 1.1 ทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน พื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดใน จังหวัดน่าน โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (กรมแผนที่ทหาร,2531) แต่ปัจจุบันยอดดอยภูคา มีความสูง 1,910 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (กรมแผนที่ทหาร,2542) ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหิน และหินปนทราย โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านและแม่น้ำลำธารสาขาหลายสาย 1.1.1 ธรณีวิทยา จากรายงานการสำรวจทางธรณีวิทยา (A.Hess and K.E. Kock 1975) พบว่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาประกอบไปด้วย หิน 2 ประเภท คือ หินชั้น หรือ หินตะกอน (Sedimentary) เป็นส่วนใหญ่ และมี หินอัคนี (Igneous Rock) บ้างเล็กน้อย หินชั้นที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จำแนกตามอายุของหิน จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) หินที่มีอายุในมหายุคพาลีโอโซอิค (Pareozoic Era) ซึ่งประกอบด้วยหินยุคต่างๆ ดังนี้ - หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส ตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่าง (Upper Carboniferous – Lower Permain Period) มีอายุระหว่าง 345 - 230 ล้านปี ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) หินปูน (Lime Stone) หินกรวดมน (Conglomelate) หินแกรแวด (Greywaeke) และหินเชิร์ท (Chert) จะพบหินดังกล่าวนี้ทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคาฝั่งตะวันตกของลำน้ำว้าเป็นแนวแคบ ๆ ช่วงอำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม - หินยุคเปอร์เมียน (Permian Period) มีอายุระหว่าง 280–230 ล้านปี ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินปูน (Lime Stone) บริเวณดังกล่าวนี้จะพบอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอุทยานแห่งชาติ ช่วงอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ - หินยุคเปอร์เมียน-ไทรแอสสิค (Permian-Triassic Period) มีอายุระหว่าง 250 – 195 ปี ประกอบด้วยหินเช่นเดียวกับหินที่เกิดในยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่าง แต่มีอายุน้อยกว่า พบหินยุคนี้เป็นบริเวณกว้างทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ ทั้งตอนบนและตอนล่างจะพบหินในยุคนี้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม - หินที่มีอายุในยุคไทรแอสสิคตอนบนถึงยุคจูแรสสิค และครีเตเซียส (Upper Triassic-Jurassic and Cretaceous Period) จะพบหินในยุคนี้ประมาณ 195 – 18 ล้านปีประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินคองโกลเมอเรท (Conglomerlate) หินดังกล่าวนี้จะพบเป็นบริเวณกว้างทางด้านตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ตามแนวเหนือ-ใต้ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ช่วงอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอสันติสุข 2) หินที่มีอายุอยู่ในมหายุคนีโอโซอิค (Neozoic Era) ประกอบด้วยหินยุคต่างๆ ดังนี้ - หินยุคเทอเทียรี่ (Tertiary Period) มีอายุระหว่าง 65 ล้านปี ถึง 1 แสนปี หินที่พบในยุคนี้ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินคองโกลเมอเรท (Conglomerlate) จะพบหิน ดังกล่าวนี้เล็กน้อย ทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ - หินยุคควอเตอร์นารี (Quaternary Period) ประกอบไปด้วยตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวมีตั้งแต่ขนาดกรวดจนถึงดินเหนียว เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนร่องน้ำต่าง ๆ - หินอัคนี (Igneous Rocks) ที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติ มีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหินชั้นหรือหินตะกอน หินที่มีอายุมากที่สุดได้แก่หินยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่างประกอบด้วยหินทัฟ ( Tuff ) ที่มีเนื้อหินสีเข้ม นอกจากนี้ยังพบหินอัคนี ที่มีอายุอยู่ในยุคไตรแอสสิค ประกอบด้วยหินแกรนิต (Granite) หินแกรโนไดโอไรท์ (granodiorite) พบบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา 1.1.2 ทรัพยากรดิน พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชุดดินที่ 62 ชุดดินนี้จะพบบริเวณพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 %ในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่าง ๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าดิบชื้นหลายแห่ง มีการทำไร่เลื่อนลอยโดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินจนบางแห่งเหลือแต่หินพื้นโผล่ ได้แก่ชุดดินที่ลาดชันเชิงซ้อน (Sc) กลุ่มดินนี้ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร 1.1.3 ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีลำน้ำซึ่งต้นกำเนิดจากเทือกเขาสูงที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ลำน้ำว้า เกิดจากลำน้ำในเทือกเขาจอมในเขตอำเภอบ่อเกลือ ไหลผ่านอำเภอ แม่จริม แล้วไปบรรจบแม่น้ำน่าน ในเขตตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา 2) ลำน้ำกอน มีต้นน้ำเกิดจากดอยภูคา ไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบกอน อำเภอเชียงกลาง 3) ลำน้ำปัว เกิดจากธารน้ำในเทือกเขาดอยภูคา ทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอปัว แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบปัว อำเภอปัว 4) ลำน้ำยาว มีต้นกำเนิดจากประเทศลาว ไหลผ่านอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มาบรรจบแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าวังผา 5) ลำน้ำย่าง มีต้นกำเนิดจากดอยภูคา ไหลผ่านอำเภอปัว มาบรรจบแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าวังผา 6) ลำน้ำอวน มีต้นกำเนิดจากดอยภูคา ไหลมาบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบยาว กิ่งอำเภอภูเพียง 7) แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาขุนน้ำน่าน มีลำน้ำสาขาไหลมาบรรจบ ในเขตจังหวัดน่าน เป็นจำนวนมาก จากอำเภอทุ่งช้าง อำเภอปัว อำเภอเมือง อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น แล้วไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ ในเขตอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ฤดูฝน : ระหว่างเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม จะมีฝนตกชุก ฤดูหนาว : ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ในเดือนธันวาคม – มกราคม จะมีอากาศหนาวจัด และมีอุณหภูมิต่ำสุด 2.0 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน : ระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 8-10 °C ฤดูร้อนเป็นช่วงสั้นๆ คือ เดือนมีนาคม - เมษายน อากาศจะเย็นสบาย ทรัพยากรป่าไม้ 1. ประเภทป่าไม้/การใช้ที่ดิน - ป่าดิบเขา เนื้อที่ 315,000 ไร่ คิดเป็น 29.6 % - ป่าดิบแล้ง เนื้อที่ 262,500 ไร่ คิดเป็น 24.6 % - ป่าเบญจพรรณ เนื้อที่ 262,500 ไร่ คิดเป็น 24.6 % - ป่าเต็งรัง เนื้อที่ 92,400 ไร่ คิดเป็น 8.6 % - ป่าเสื่อมโทรม (ไร่ร้าง) เนื้อที่ 12,000 ไร่ คิดเป็น 1.2 % - พื้นที่ทำกินของราษฎร เนื้อที่ 108,100 ไร่ คิดเป็น 10.2 % - อื่นๆ เนื้อที่ 12,5001.3 ไร่ คิดเป็น 1.2 % - ที่มา : อุทยานแห่งชาติดอยภูคา,2546 2. ลักษณะของป่าและพืชพันธุ์ไม้ป่า ป่าดอยภูคาแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามสภาพป่า 2.1. ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest) เป็นป่าที่มีความอุสมบูรณ์ มีอยู่ตามหุบเขา ริมน้ำลำธาร ส่วนใหญ่อยู่ตอนใต้ตอนกลาง และตอนเหนือของพื้นที่บางส่วน มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่พรรณไม้ที่สำคัญ คือ ก่อยาง ตะเคียน มะค่าโมง มณฑาป่า จำปีป่า กำลังเสือโคร่ง ไม้พื้นล่าง ประกอบด้วย หวาย ผักกูด มอส เฟริ์น กล้วยไม้ ฯลฯ 2.2. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ตามหุบเขา มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่พันธ์ไม้ที่สำคัญ คือ ยาง ตะเคียน มะค่าโมง จำปีป่า ประดู่ ก่อ ต้นชมพูภูคา เป็นต้น พันธุ์ไม้พื้นล่างประกอบด้วย ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เฟริ์น หวาย เถาวัลย์ชนิดต่างๆ 2.3. ป่าเบญจพรรณ (Deciduous forest) มีอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าดอยภูคา บริเวณที่ราบตามรอบพื้นที่ และบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ยาง มะค่าโมง ประดู่ แดง ตะแบก ไม้พื้นล่างประกอบด้วยไม้ไผ่ชนิดต่างๆ 2.4. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest) เป็นป่าที่มีอยู่บริเวณโดยรอบของพื้นที่ตามลาดเขา และบนภูเขาในพื้นที่บางจุดป่าประเภทนี้มีอยู่น้อยมาก เนื้อที่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะค่า พะยอม รกฟ้า ไม้พื้นล่างประกอบด้วย มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเเพ็ก 2.5. ป่าสนธรรมชาติ ( Pine forest) มีขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ในพื้นที่ตอนใต้ของอุทยานฯใกล้ๆกับดอยภูหวดส่วนใหญ่จะขึ้นผสมกับป่าเต็งรังลักษณะเป็นสน 3 ใบ 3. พันธุ์ไม้ป่าหายากและพรรณไม้เฉพาะถิ่น เนื่องจากอุทยานฯ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูง บางพื้นที่มีลักษณะจำเพาะ พรรณพืชบางชนิดที่พบในพื้นที่อุทยานเป็นพรรณไม้หายาก หรือพรรณไม้เฉพาะถิ่น เนื่องจากมีการกระจายในวงจำกัด ประกอบกับสภาพป่าที่ได้ถูกแปรสภาพหรือถูกรบกวนโดยปัจจัยต่างๆ 4. พืชไม้ล้มลุก เช่น ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน พืชเฉพาะถิ่น ขาวละมุน เทียนดอย พืชหายาก ฯลฯ 5.พืชชนิดไม้เลื้อย เช่น เสี้ยวเครือ (Bauhinia variegata) มะลิภูหลวง พืชหายาก นมตำเลีย พืชเฉพาะถิ่น ฯลฯ (นายปรัชญา ศรีสว่าง.ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่มีท่อลำเลียงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2548 ) ทรัพยากรสัตว์ป่า สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest) ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) ป่าเบญจพรรณ (Evergreen forest, Deciduous forest) ป่าเต็งรัง (Dry diterocarp forest) สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่อย่างชุกชุม ได้แก่ เก้ง (Muntiacus muntjak Zimmermann.) กวางป่า (Cervus unicolor Kerr.) หมูป่า (Sus sorofa Linnaeus.) เลียงผา (Capricornis sumatraensis Bechstein.) ชะนีธรรมดา (Hylobates lar Linnaeus.) อีเห็นธรรมดา (Paradoxurus hormaphroditus Pallas.) หมีควาย (Selenatos thibetanus G. Cuvier.) ซาลาเมนเดอร์หรือจิ้งจกน้ำ เป็นต้น เส้นทางคมนาคม - ระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ถึง อุทยานแห่งชาติ 753 กิโลเมตร - ระยะทางจากจังหวัดน่าน โดยรถยนต์ไปตามทางหลวง 1080 ถึง อำเภอปัว ระยะทาง 60 กิโลเมตร แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว – บ่อเกลือ) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ - ดอยภูคา ระยะทาง 25 กิโลเมตร
0
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน

อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน มีพื้นที่ประมาณ 15,520 ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ยอดดอยจี๋เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,752 เมตร เป็นต้นกำเนิดถึงสามลุ่มน้ำด้วยกัน คือ ลุ่มน้ำยมตอนบน ลุ่มน้ำยาวตอนบน และลุ่มน้ำลาว ซึ่งลุ่มน้ำสามสายนี้ เป็นต้นน้ำสายหลักของประเทศไทย คือ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ประกอบเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่หลากหลาย เช่น ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ เหมาะสำหรับการเดินชมป่าและน้ำตก และเที่ยวดอยในฤดูหนาว

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นการสำรวจของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และสามารถพบเห็นพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ที่ค่อนข้างแปลกตาและหายาก จึงได้ทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติโดยมีเส้นทางเป็นวงกลมมีความยาวประมาณ 1,800 เมตร ตามเส้นทางก็จะประกอบด้วยฐานสื่อความหมายทั้งหมด 9 ฐาน ดังนี้ 1.ห้วยน้ำงิม 2.ฐานเจียวกู่หลาน 3.ช่องลมมหัศจรรย์ 4.ฐานจันทร์ผา 5.ฐานต้นพระเจ้า 5 พระองค์ 6.ฐานตาน้ำ-บ่อปลาคิ้ว 7.ฐานถ้ำทอง 8.ฐานกล้วยป่า 9.บานดินโป่ง

น้ำตกผาธารหรือน้ำตกหงส์เวียงจันทร์ เดิมที่มีชื่อตามลักษณะการไหลของน้ำที่ไหลตกจากหน้าผาเกิดเป็นน้ำตก เรียก ผาธาร ต่อมาเมื่อการสำรวจจัดตั้งพื้นที่เตรียมการก็ให้เกียรติกับผู้บุกเบิกและสำรวจในคราวแรกคือ นายวิทยา หงส์เวียงจันทร์ เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาดอยลี้ มีความสูง 6 ชั้น สูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกกว้างประมาณ 5 เมตร เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำยม

ถ้ำหลวงสะเกิน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน อยู่ในเขต อ.สองแคว ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 120 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 1080-1148 มีพื้นที่ 157,812 ไร่ เป็นพื้นที่กำเนิดของสามลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำยมตอนบน ลุ่มน้ำยาวตอนบน และลุ่มน้ำลาว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน และแม่น้ำยม มียอดเขาสูงที่สุด คือ ดอยจี๋ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,572 ม.

การเดินทางจากตัวเมืองน่านใช้เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1080 สายน่าน-ทุ่งช้าง เมื่อถึงอำเภอท่าวังผา ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แล้วให้แยกไปทางซ้ายมือตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1148 สายท่าวังผา-สองแคว ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอสองแควแล้วให้แยกไปตามทางซ้ายมือตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1148 สายสองแคว-เชียงคำ ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้านสะเกิน ตำบลยอด อำเภอสองแคว แล้วให้แยกเข้าหมู่บ้านเลี้ยวไปทางขวามือผ่านหมู่บ้านไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน

อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนวเหนือใต้ คล้ายรูปตัว T ตัวเขียนใหญ่ในภาษาอังกฤษ ระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 300 - 1,752 เมตร จากระดับน้ำทะเล มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดดอยจี๋ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,752 เมตร เป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของลุ่มน้ำถึงสามลุ่มน้ำด้วยกัน คือ ลุ่มน้ำยมตอนบน ลุ่มน้ำยาวตอนบน และลุ่มน้ำลาว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำสายหลักของประเทศ คือ ลำน้ำยม และ ลำน้ำน่าน อันเป็นแม่น้ำสำคัญสายหลักในการประกอบอาชีพเกษตรของราษฎรริมสองลำน้ำ เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดต่อปีประมาณ 8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดต่อปีประมาณ 41 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,211 มิลลิเมตร สภาพป่าประกอบด้วย ป่าดิบเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ก่อชนิดต่าง ๆ พญาไม้ พญาเสือโคร่ง มะขามป้อมดง สนสามพันปี อบเชย กฤษณา ไม้พื้นล่างได้แก่ มอส เฟินชนิดต่างๆ ป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง กระบาก สมพง ลำพูป่า กระทุ่ม พืชพื้นล่างได้แก่ กูดต้น กูดพร้าว เอื้องกุหลาบพวง เป็นต้น ป่าดิบแล้ง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางแดง ยางขาว ตะเคียน ตะแบก มะม่วงป่า พืชพื้นล่างได้แก่ ไผ่ หวาย เฟิน ปาล์ม ต๋าว เป็นต้น ป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าโมง สมอภิเพก ตะคร้อ เสี้ยว ดอกขาว พืชพื้นล่างได้แก่ หญ้าแฝก หญ้าคมบาง และพืชในวงศ์ ขิง ข่า เป็นต้น จากการสำรวจพบว่าสัตว์ป่าส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมีตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดเล็ก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก ได้แก่ เสือ เลียงผา เก้ง หมูป่า กระรอก กระแต หมาไน เหยี่ยว นกขุนทอง และนกเขา รถยนต์ เดินทางจากตัวเมืองน่านใช้เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1080 สายน่าน-ทุ่งช้าง เมื่อถึงอำเภอท่าวังผา ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แล้วให้แยกไปทางซ้ายมือตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1148 สายท่าวังผา-สองแคว ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอสองแควแล้วให้แยกไปตามทางซ้ายมือตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1097 สายสองแคว-เชียงคำ ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้านสะเกิน ตำบลยอด อำเภอสองแคว แล้วให้แยกเข้าหมู่บ้านเลี้ยวไปทางขวามือผ่านหมู่บ้านไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน
0
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคาและป่าผาแดง ในท้องที่ตำบลภูฟ้า ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน มีพื้นที่ประมาณ 155,375 ไร่ หรือ 248.6 ตารางกิโลเมตร มียอดดอยผีปันน้ำในเทือกเขาผีปันน้ำ ในท้องที่ตำบลดงพญา เป็นดอยที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย เทือกเขาที่สำคัญในพื้นที่ได้แก่ เทือกเขาภูฟ้า เทือกเขาขุนน้ำว้าน้อย เทือกเขาน้ำว้ากลาง และเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 111 ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 โดยตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน อุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมายถึง ""ขุนเขา ลำน้ำ อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน"" อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคาและป่าผาแดง บริเวณท้องที่ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

การเดินทาง

- เส้นทางแรก จากจังหวัดน่าน ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1080 น่าน - ท่าวังผา - ปัว 60 กม. แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว – บ่อเกลือ) ระยะทาง 48 กิโลเมตร ถึงบ่อเกลือ เลี้ยวซ้ายมือใช้เส้นทาง 1081 บ่อเกลือ - เฉลิมพระเกียรติ ประมาณ 6 กิโลเมตร ทางเข้าอุทยานตั้งอยู่ขวามือ เลี้ยวขวาเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ประมาณ 700 เมตร

- เส้นทางที่สอง จากอำเภอเมืองน่าน - ภูเพียง - สันติสุข เส้นทาง 1169 ระยะทาง 32 กม. ถึงอำเภอสันติสุขเลี้ยวซ้ายมือ ใช้เส้นทาง สันติสุข - น้ำยาว 10 กม. ถึงทางแยกตำบลอวน เลี้ยวขวามือใช้เส้นทางสันติสุข - หลักลาย - #อำเภอบ่อเกลือ ระยะทาง 51 กม. ถึงบ่อเกลือ ตรงไปตามเส้นทาง 1081 บ่อเกลือ - เฉลิมพระเกียรติ ประมาณ 6 กิโลเมตร ทางเข้าอุทยานตั้งอยู่ขวามือ เลี้ยวขวาเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ประมาณ 700 เมตร

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน สภาพภูมิประเทศทั่วไปของพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่านเป็นพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 เอ ลักษณะพื้นที่เขาสูงชันสลับซับซ้อน ติดต่อกันเป็นเทือกเต็มพื้นที่ มีระดับความสูงตั้งแต่ 600-1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง โดยมียอดดอยผีปันน้ำในเทือกเขาผีปันน้ำ ในท้องที่ตำบลดงพญา เป็นดอยที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1,745 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย เทือกเขาที่สำคัญในพื้นที่ได้แก่ เทือกเขาภูฟ้า เทือกเขาขุนน้ำว้าน้อย เทือกเขาน้ำว้ากลาง และเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นต้น ไม่มีพื้นที่ที่เป็นที่ราบบนภูเขาที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่เกษตรกรรมอย่างถาวรได้ มีลำน้ำว้า อันเป็นลำน้ำสายใหญ่และสำคัญ ไหลผ่านกลางพื้นที่ในแนวทิศเหนือไหลลงทิศใต้ มีระยะทางการไหลผ่านพื้นที่ประมาณ 25.5 กิโลเมตร ต้นกำเนิดของลำน้ำว้าเกิดจากเทือกผีปันน้ำบริเวณบ้านน้ำว้าในตำบลบ่อเกลือเหนือ นอกเขตพื้นที่ที่จะประกาศเป็น อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ที่บ้านสะปัน ตำบลดงพญา ผ่านกลางพื้นที่ไปออกพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ขุนน่าน ที่บ้านผาสุข ตำบลภูฟ้า ลำห้วยสำคัญที่ไหลลงน้ำว้า ได้แก่ น้ำปาด น้ำปัน ห้วยตี๋ ห้วยห้า และน้ำแปด เนื่องจากพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ตั้งอยู่ในภาคเหนือพื้นที่อยู่ระหว่าง เส้นรุ้ง ที่ 02-32.5 องศาเหนือ ระหว่างเส้นแวง ที่ 27.2-48.4 องศาตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณเกือบเหนือสุดของประเทศ สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นที่สูง โดยอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่จะอยู่ที่ ประมาณระหว่าง 1-7 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูหนาว และประมาณ ระหว่าง 28-33 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อน และโดยที่พื้นที่นี้มีป่าไม้และภูเขารอบด้านห่างไกลจากชุมชนเมืองใหญ่อากาศบนพื้นที่นี้มีป่าไม้และภูเขารอบด้านห่างไกลจากชุมชนเมืองใหญ่อากาศพื้นที่จึงมีความบริสุทธิ์ แจ่มใส สดชื่น เกือบตลอดทั้งปี ดังนั้น พื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติขุนน่าน จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยเป็นสถานที่ตากอากาศ รับอากาศสดชื่น ที่ปราศจากมลพิษในอากาศเป็นเวลานานๆ สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติขุนน่านประมาณร้อยละ 90 ปกคลุมด้วยป่าดิบเขา ส่วนที่เหลือเป็นป่าดิบชื้นและทุ่งหญ้า ชนิดพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบในป่าดิบเขา ได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อน้ำ ก่อตาหมู ก่อนก กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า จำปีป่า หว้า ผักกูด มอส และกล้วยไม้ดิน สำหรับป่าดิบชื้นซึ่งจะพบบริเวณริมน้ำ ริมห้วย และตามร่องเขาที่มีความชื้น พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบได้แก่ ยาง กระบาก มะหาด มะยมป่า ไผ่บง ไผ่ฮก หวาย ตาว และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนน่านได้แก่ เก้ง เลียงผา หมูป่า ชะมด หมี เม่น กระรอก กระแต ไกป่า เป็นต้น รถยนต์ จากอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1081 (บ่อเกลือ-เฉลิมพระเกียรติ) ประมาณ 4 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติขุนน่าน
0
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี

อุทยานแห่งชาตินันทบุรี อำเภอท่าวังผา ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองน่านและอำเภอบ้านหลวง รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาว-น้ำสวก และป่าสงวนแห่งชาติถ้ำพุเตย เป็นป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา มีไม้สัก ประดู่ ตะแบก ฯลฯ และในเขตอุทยานฯ ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่ามลาบรี หรือผีตองเหลือง

สถานที่ที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่ - ดอยผาจิ เป็นดอยที่มีความสวยงาม มีธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ ทั้งน้ำตก ต้นไม้นานาพันธุ์ ดอยผาจิเคยเป็นพื้นที่ตั้งฐานกำลังของฝ่าย ผกค. ปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ท่อประปา อยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมีหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้งและเย้าตั้งอยู่ - ดอยผาช้าง ตั้งอยู่บนสันดอยติ้ว บริเวณเดียวกับที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม ยามเย็นจะมองเห็นดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าท่ามกลางขุนเขาสลับซับซ้อน และยามเช้าในช่วงฤดูหนาวจะปรากฏทะเลหมอกปกคลุมไปทั่วบริเวณ - ดอยวาว อยู่ในการดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำค้าง เป็นจุดชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม เดิมเป็นป่าเสื่อมโทรมมาก ปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูโดยทางหน่วยจัดการต้นน้ำฯ ได้ปลูกพันธุ์ไม้เดิม เช่น แอปเปิลป่า เมเปิล สนสามใบ ก่อนถึงดอยวาวจะผ่านหมู่บ้านม้งที่บ้านดอยติ้วและบ้านสบขุ่น - ดอยวาวอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 4 กิโลเมตร สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ไปถึงหน่วยจัดการต้นน้ำฯ แล้วเดินเท้าขึ้นสู่ยอดดอย ตลอดเส้นทางเป็นป่าดิบเขาที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นถิ่นอาศัยของนกบนที่สูงนานาชนิด ได้แก่ นกมุ่นรกตาแดง นกหางรำหางยาว นกติ๊ดแก้มเหลือง นกเสือแมลงปีกแดง นกระวังไพรปากแดงยาว ฯลฯ และในฤดูหนาวจะมีนกอพยพมาอาศัยอยู่ชั่วคราว

การเดินทางด้วยรถยนต์ จากตัวเมืองน่าน ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1080 สายน่าน-ทุ่งช้าง ไปยังอำเภอท่าวังผาแล้วเลี้ยวไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1148 สายท่าวังผา-สองแคว ประมาณ 1.5 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายแยกไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1082 สายนาหนุน-สบขุ่น ถึงหลักกิโลเมตรที่ 27 แยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาตินันทบุรี

อุทยานแห่งชาตินันทบุรี
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี อุทยานแห่งชาตินันทบุรีมีอาณาเขตติดต่อทิศเหนือจดเขตอำเภอสองแคว จังหวัดน่านและเขตอำเภอปง จังหวัดพะเยา ทิศใต้จดเขตอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ทิศตะวันออก จดทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1080 ( น่าน-ทุ่งช้าง) ทิศตะวันตก จดเขตอำเภอเชียงม่วง จังหวัด พะเยา เขตพื้นที่สำรวจจัดตั้ง อุทยานแห่งชาติ ดอยภูนาง และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง จังหวัดพะเยา ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนวเหนือใต้ อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดน่าน จนไปจดประเทศลาว ระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 300-1,710 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความลาดชันของพื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ “ยอดดอยวาว” ความสูง 1,710 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะของหิน ส่วนใหญ่เป็นหินที่เกิดในมหายุค Mesozoic Paleozoic และ Neozoic ซึ่งส่วนใหญ่คือ หินตะกอน มีอายุอยู่ในหลายช่วงอายุด้วยกัน นอกจากนี้เป็นหินภูเขาไฟ และหินก่อนหินภูเขาไฟบ้างประปรายกระจายในพื้นที่ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยหลายสายซึ่งเป็นลำห้วยที่คอยหล่อเลี้ยงลำน้ำน่านและลำน้ำยม ได้แก่ ลำน้ำสมุน ลำน้ำสะเนียน ลำน้ำวาว ลำน้ำยาว ลำน้ำพี้ ลำน้ำตึม ลำน้ำสีพัน ลำน้ำไสล ลำน้ำระพี และลำน้ำคาง เป็นต้น เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูฝนและมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีต่ำสุดประมาณ 9 องศาเซสเซียล สูงสุดประมาณ 26 องศาเซสเซียล ประมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,198 มิลลิเมตร ลักษณะทั่วไปของพื้นที่ปกคลุมด้วยป่าเบญจพรรณทางด้านตะวันตก และป่าดิบแล้งทางด้านตะวันตกและเหนือ มีป่าดิบเขาอยู่บ้างตามยอดเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 900 เมตร นอกจากนั้นยังมีป่าเต็งรัง ป่าเขาหินปูน และทุ่งหญ้า ชนิดพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบในแต่ละชนิดป่าได้แก่ ป่าเบญจพรรณ เช่น สัก มะค่าโมง ซ้อ สมอพิเภก ตะเคียนหนู ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ไร่ และไผ่ข้าวหลาม ป่าดิบแล้ง เช่น ยางแดง ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง คอแลน มะม่วงป่า เก็ดดำ จอแจ หมามุ่ย หวายขม และเครือออน ป่าดิบเขา เช่น ทะโล้ พญาไม้ กำลังเสือโคร่ง ก่อแดง กฤษณา กุหลาบขาว เมี่ยงหลวง โคลงเคลงขน กุหลาบหิน และกระชาย ป่าเต็งรัง เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง ไผ่เพ็ก เป้ง เปราะป่า และส้มกั้ง บริเวณ ทุ่งหญ้า พบประดู่ สีเสียดเหนือ มะสัง หญ้าคา และหญ้าปากควาย ในบริเวณที่เป็น แหล่งน้ำ พบแพงพวยน้ำ สาหร่ายหางกระรอก หญ้าแห้วหมู จอกหูหนู และไข่น้ำ เป็นต้น ชนิดของสัตว์ป่าที่พบในอุทยานแห่งชาตินันทบุรี ได้แก่ เก้ง หมาไม้ ลิงกัง ลิงวอก อีเห็นข้างหลาย อ้นเล็ก ลิ่น บ่าง กระต่ายป่า กระรอกปลายหางดำ ค้างคาวลูกหนูถ้ำ หนูผีนา เหยี่ยวนกเขาหงอน นกเปล้าหน้าเหลือง นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า นกปรอดเหลืองหัวจุก นกแซงแซวหงอนขน นกขุนทอง เต่าเหลือง เต่าปูลู ตะกวด แย้ งูหลาม งูสิง จิ้งเหลนหางยาว กิ้งก่าบินคอแดง ปาดแคระขาเขียว อึ่งปากขวด กบทูด เขียดจะนา คางคกหัวราบ ผีเสื้อสะพายฟ้า ผีเสื้อถุงทองป่าสูง และผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู เป็นต้น สำหรับในบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำพบสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาซิวหนวดยาว ปลาตะเพียนขาว ปลาไหลนา ปลาดุกอุย ปลาหมอตาล หอยกาบน้ำจืด หอยขม หอยโข่ง และกุ้งฝอยใน เป็นต้น รถยนต์ การเดินทางจากตัวเมืองน่าน ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1080 สายน่าน-ทุ่งช้าง ไปยังอำเภอท่าวังผาแล้วไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1148 สายท่าวังผา-สองแคว ประมาณ 1.5 กิโลเมตร แยกไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1082 สายนาหนุน-สบขุ่น ถึงหลักกิโลเมตรที่ 27 แยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ แนะนำ ระยะทาง 3 กิโลเมตร ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ในช่วงหน้าฝน นักท่องเที่ยวควรใช้รถโฟวิลในการเดินทาง และต้องมีทักษะในการขับรถ
0
อุทยานแห่งชาติแม่จริม

อุทยานแห่งชาติแม่จริม บ้านห้วยทรายมูล ต.น้ำปาย อ. แม่จริม จ. น่าน อยู่ในเขตอำเภอแม่จริม ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 60 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 และ 1243 มีพื้นที่ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำที่ไหลไปลงแม่น้ำน่านที่อำเภอเวียงสา สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีสัตว์ป่าหลายชนิด อุทยานแห่งชาติแม่จริม ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอแม่จริมและอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 106 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่โดดเด่น คือ การล่องแก่งลำน้ำว้าโดยใช้แพยาง

การเดินทาง

- เส้นทางแรก จากจังหวัดแพร่ ผ่านอำเภอเวียงสา ตามเส้นทางบ้านไหล่น่าน บ้านบุญเรือง บ้านนาสา เลี้ยวขวาตามถนนไปบ้านท่าข้าม บ้านปากุง บ้านห้วยสอน เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปอำเภอแม่จริมถึงบ้านห้วยทรายมูลและเลี้ยวขวาเข้าอุทยานแห่งชาติแม่จริม จากปากทางบ้านห้วยทรายมูล ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอเวียงสาถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริมประมาณ 31 กิโลเมตร

- เส้นทางที่สอง จากจังหวัดน่าน ข้ามสะพานแม่น้ำน่านไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 เลี้ยวซ้ายผ่านวัดพระธาตุแช่แห้งไปตามทางหลวงสายน่าน-แม่จริม ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร จากอำเภอแม่จริมไปตามทางหลวงหมายเลข 1243 (บ้านนาเซีย-บ้านน้ำมวน) ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยทรายมูลเลี้ยวซ้ายเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม ระยะทาง 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดน่านถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริม 57 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติแม่จริม
อุทยานแห่งชาติแม่จริม ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติแม่จริม มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ทอดตัวจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาหลวงพระบางซึ่งทอดตัวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ เป็นเขตแนวเขตกั้นระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-1,652 เมตร ความสูงของเทือกเขาจะค่อยลดหลั่นไปทางทิศตะวันตก ยอดดอยที่มีความสูงมากที่สุดคือ ดอยขุนลาน (1,652 เมตร) อยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ รองลงมาคือ ดอยแดนดิน (1,558 เมตร) ดอยขุนน้ำปูน (1,530 เมตร) ดอยขุนคูณ (1,307 เมตร) มีแม่น้ำว้าซึ่งไหลมาจากเทือกเขาหลวงพระบางไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่ เป็นระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร มีลำธาร และลำห้วยที่เป็นต้นน้ำน่านอยู่หลายสาย เช่น ห้วยทรายมูล ห้วยสาสี่ ห้วยบ่ายน้อย ห้วยบ่ายหลวง ห้วยน้ำพาง ลำน้ำแปง และแต่ละสายล้วนเป็นอู่น้ำของราษฎรรอบพื้นที่ ลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือฤดูร้อนซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูร้อนที่พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ฝั่งทะเลอันดามัน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน เริ่มเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาเอาความหนาวเย็นจากแถบขั้วโลกเหนือมายังประเทศไทย เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ สภาพป่าอุทยานแห่งชาติแม่จริมประกอบด้วย ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง สัตว์ป่าที่ เด่น ได้แก่ เสือ เลียงผา หมี และนกยูง รถยนต์ สามารถเดินทางไปอุทยานแห่งชาติได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรก จากจังหวัดแพร่ ผ่านอำเภอเวียงสา ตามเส้นทางบ้านไหล่น่าน บ้านบุญเรือง บ้านนาสา เลี้ยวขวาตามถนนไปบ้านท่าข้าม บ้านปากุง บ้านห้วยสอน เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปอำเภอแม่จริมถึงบ้านห้วยทรายมูลและเลี้ยวขวาเข้าอุทยานแห่งชาติแม่จริม จากปากทางบ้านห้วยทรายมูล ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอเวียงสาถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริมประมาณ 31 กิโลเมตร เส้นทางที่สอง จากจังหวัดน่าน ข้ามสะพานแม่น้ำน่านไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 เลี้ยวซ้ายผ่านวัดพระธาตุแช่แห้งไปตามทางหลวงสายน่าน-แม่จริม ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร จากอำเภอแม่จริมไปตามทางหลวงหมายเลข 1243 (บ้านนาเซีย-บ้านน้ำมวน) ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยทรายมูลเลี้ยวซ้ายเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม ระยะทาง 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดน่านถึงอุทยานแห่งชาติแม่จริม 57
0
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน อำเภอนาน้อย อุทยานแห่งชาติศรีน่านมีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ สภาพป่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของประชาชนในจังหวัดน่าน มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหลายอย่าง และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีจุดเด่นทางธรรมชาติ ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงามได้แก่ เสาดินและคอกเสือ ปากนาย แก่งหลวง จุดชมทิวทัศน์ดอยผาชู้ ทิวทัศน์ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าน จุดชมวิวดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์ มีเนื้อที่ประมาณ 640,237.50 ไร่ หรือ 1,024.38 ตารางกิโลเมตรต่อมาปี 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ และป่าห้วยงวงและป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลขึ่ง ตำบลส้าน ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา ตำบลศรีษะเกษ ตำบลเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย และตำบลบ่อแก้ว ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 25 ก ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 104 ของประเทศ

เสาดินนาน้อย และคอกเสือเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่สวยงามที่เกิดจากการทับถมของดินและเกิดน้ำกัดเซาะจนกลายเป็นริ้วรายที่แปลกตา คอกเสือปรากฎการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม เป็นหุบผาเหมือนฉากม่านขนาดใหญ่ มีริ้วลายเป็นร่องยาว รวมถึงมีแท่งดินรูปร่างต่างๆ กระจัดกระจายอยู่ภายใน ชาวบ้านเล่าว่า ในอดีตบริเวณนี้มีเสือมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก อยู่ที่ตำบลเชียงของอำเภอนาน้อย มีลักษณะเป็นเนินดิน ซึ่งถูกกัดเซาะ จนสึกกร่อนเป็นรูปร่างต่าง ๆ แปลกตาซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่ธรรมชาติสร้างขึ้นอย่างหนึ่ง คอกเสือมีลักษณะคล้ายเสาดิน สูงถึง 20-30 ม.อยู่ห่างจากเสาดินประมาณ 1 กม.

ดอยเสมอดาว ช่วงเวลาประมาณ 4 โมงเย็น ค่อนข้างร้อนจัดจนเหงื่อไหลไคลย้อย แต่ทันทีที่ท้องฟ้าเปลี่ยนสี อมส้มส้ม และเหลืองทองจางๆ อุณหภูมิรอบตัวก็กลับลดลงอย่างรวดเร็ว เหลืองเพียงสายลมเย็นๆ พัดผ่านผิวกายให้กลุ่มนักเดินทางผู้เคยหมกตัวในห้องแอร์ต้อง เป่าปากกันเป็นแถว หลังจากรวมตัวทานอาหารเย็นที่เตรียมเอาไว้ เพียงไม่นาน พระอาทิตย์ก็เคลื่อนลอยต่ำลงไปอย่างรวดเร็ว จนเกือบจะเก็บภาพประทับใจไว้ไม่ทัน ขณะที่หลายคนหามุมสวย เพื่อถ่ายภาพแสงสุดท้ายของวัน ลมหนาวก็เริ่มพัดแรงขึ้นแม้ว่านี้จะเข้าใกล้ฤดูร้อน กดชัตเตอร์ยังไม่ทันสะใจ แสงอาทิตย์ก็ลับไปกับขอบฟ้า แล้วความมืดมิดของรัตติกาลก็เดินทางมา พร้อมกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลงเหลือประมาณ 18 องศา เมื่อมองไปบนฟากฟ้า ภาพที่เห็นคือ ม่านดวงดาวส่องแสงสว่างไสวทั่วทั้งฟ้า มันช่างสวยจับจิตจนแสงสีของเมืองกรุงที่ว่าแน่ยังต้องแพ้ราบคราบ มวลหมู่ดาวที่พร่างพรายบนท้องฟ้า ช่วยไขข้อข้องใจว่าเหตุใด ชื่อดอยแห่งนี้จึงมีชื่อ เสมอดาว ความรู้สึกอยากใช้มือไขว่ความดาวมาเก็บไว้ในกระเป๋า เป็นสิ่งที่เราเห็นได้จากอาการของนักเดินทางหลายคนที่ เหม่อมองฟ้าแล้วใช้มือโบกไปมา

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ผ่านนครสวรรค์ พิษณุโลกถึงแพร่ จากแพร่ตามถนนยันตรกิจโกศล ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปถึงอำเภอเวียงสา เลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1026 จากอำเภอ เวียงสาไปอำเภอนาน้อย ระยะทางประมาณ 35 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามถนนสายนาน้อย -ปางไฮ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 ไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงเสาดิน และอีก 15 กม. มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 1 กม.ถึงลานกางเต้น์บนดอยเสมอดาว ผาหัวสิงห์จุดชมทะเลหมอกยามเช้าบยดอยเสมอดาว กลับออกมาขับเข้าไปอีกประมาณ 3 กม. ก็จะพบผาชู้และที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ใต้เทือกเขาที่สำคัญคือ ดอยแปรเมือง ดอยขุนห้วยฮึก ขุนห้วยหญ้าไทร และดอยหลวง มียอดเขาขุนห้วยฮึก ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่สูงที่สุด มีความสูง 1,234 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำน่านทั้งสิ้น ส่วนใหญ่ไหลจากทิศเหนือไปสู่ทิศใต้ แหล่งน้ำที่พบเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ มีลำห้วยลำธารที่สำคัญคือ แม่น้ำขะนิง แม่น้ำสา นอกจากลำน้ำสองสายแล้วยังมีลำห้วยเล็กๆ อีกหลายสาย ลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็นสามฤดู คือ ฤดูร้อน อากาศจะร้อนพอประมาณ เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝน ฝนจะตกปานกลางถึงหนัก เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว อากาศจะหนาวจัด เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ลักษณะท้องฟ้ามีเมฆมากในฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน และมีเมฆน้อยมากในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประเภทป่าแบ่งออก เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ป่าไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่พบคือ กระบาก ตะเคียน ยาง ประดู่ มะค่าโมง ยมหอม ตะแบก ชิงชัน เหียง พลวงตะเคียนหนู พวกไม้ก่อต่างๆ พลับพลา หมีเหม็น สนสองใบ สนสามใบ เป็นต้น ป่าผลัดใบ ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบคือ สัก แดง ประดู่ ชิงชัน ขะเจ๊าะ สาธร มะค่าโมง ตะแบก ตีนนก โมกหลวง เต็ง รัง เหียง พลวง ตะคร้อ มะม่วงป่า กว้าว รกฟ้า มะกอก ไผ่ชนิดต่างๆ เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่คือ กระทิง วัวแดง กวางป่า หมูป่า หมี เสือโคร่ง เสือดาว ชะนี ลิงลม หมาไน หมาจิ้งจอก กระจง อีเห็น เสือป่า กระต่ายป่า กระแต กระรอก หมาจิ้งจอก นกนานาชนิด ที่สำคัญ คือ นกยูงไทย สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งจะพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติ รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ผ่านนครสวรรค์ พิษณุโลกถึงแพร่ จากแพร่ตามถนนยันตรกิจโกศล ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปถึงอำเภอเวียงสา เลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1026 จากอำเภอ เวียงสาไปอำเภอนาน้อย ระยะทางประมาณ 35 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามถนนสายนาน้อย -ปางไฮ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 ไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงเสาดิน และถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
0
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ก่อให้เกิดทัศนียภาพสองข้าง ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1216 ระหว่างบ้านขุนสถานถึงบ้านส้าน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ครอบคลุมพื้นที่ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง นอกจากนี้ยังมีต้นนางพญาเสือโคร่งในสถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถานซึ่งจะบานสะพรั่งในช่วงฤดูหนาวของทุกปี

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน เป็นพื้นที่ที่ได้สำรวจจากป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่ อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน พื้นที่ 285,826 ไร่ ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้ชนิดต่างๆ คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง สัตว์ที่พบเห็นได้แก่สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ นก ปลา แมลงชนิดต่างๆ

แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงดอยกู่สถาน เป็นดอยที่มีความสูงถึง 1,630 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศหนาวเย็นตลอดปี

กิจกรรม : ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ เดินป่าระยะไกล ดูดาว ดูผีเสื้อ

ดอยแม่จอก เป็นยอดดอยที่มีความสูง 1,424 เมตรจากระดับน้ำทะเล อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี เป็นสถานที่ตากอากาศและจุดชมทิวทัศน์ มีวิวทิวทัศน์ของเทือกเขาที่เรียงรายสลับซับซ้อน สามารถมองเห็นความงดงามของดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าและทะเลหมอกที่เป็นผืนขนาดใหญ่กว้างไกลสุดสายตา ชมไร่องุ่นไร้เม็ด โฮมสเตย์ ปลูกสตอร์เบอรี่ พริกหวาน กระหล่ำปลี และชมดอกนางพญาเสือโคร่ง ในช่วงฤดูหนาว

การเดินทาง

- เส้นทางแรก จากแพร่ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (ถนนยนตรกิจโกศล) แพร่-น่าน ประมาณ 50 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยแก๊ต ต.ไผ่โทน อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวง 1216 ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติขุนสถาน

- เส้นทางที่สอง จาก จ.น่าน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ถึงอำเภอเวียงสา เลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 สายอำเภอเวียงสา - อำเภอนาน้อย ระยะทางจากอำเภอเวียงสาถึงอำเภอนาน้อย ประมาณ 35 กิโลเมตร และจากอำเภอนาน้อยเลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1216 ระยะทางประมาณ 31 กิโลเมตร ถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติขุนสถาน

อุทยานแห่งชาติขุนสถาน
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติขุนสถาน เป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชันทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ มีแนวสันเขาของดอยแปรเมืองเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัดแพร่กับจังหวัดน่าน ความสูงตั้งแต่ 120-1,726 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแม่น้ำน่านเป็นแนวกันระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์กับจังหวัดน่าน มีลำธารและลำห้วยซึ่งเป็นต้นน้ำน่านอยู่หลายสาย เช่น ห้วยน้ำแหง ห้วยน้ำอูน ห้วยน้ำลี เป็นต้น ดอยที่สำคัญ เช่น ดอยจวงปราสาท สูง 1,193 เมตร ดอยแม่จอก สูง 1,469 เมตร ดอยกู่สถาน(ดอยธง) สูง 1,634 เมตร และดอยที่สูงที่สุดคือยอดดอยภูคา มีความสูง 1,726 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติขุนสถาน มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนช่วงสั้นๆ เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ฤดูฝน เริ่มเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จากข้อมูลภูมิอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 - 2551 อุณหภูมิสูงสุด 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 1.5 องศาเซลเซียส อุทยานแห่งชาติขุนสถานสามารถจำแนกสังคมพืชออกได้เป็น ป่าดิบเขา ขึ้นอยู่ตามสันเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เช่น บริเวณดอยขุนห้วยย่าทาย ดอยขุนห้วยหก ดอยขุนสถาน มีพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ก่อ สารภีดอย พะวา จำปีป่า เหมือด กำยาน เฟิน และปรงป่า และทีเฟริ์น ป่าสนเขา ขึ้นกระจายตามยอดเขาที่ความสูงประมาณ 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล เช่น บนดอยจวงปราสาท ดอยแปรเมือง มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก พันธุ์ไม้ที่พบได้แก สนสองใบ สนสมใบ เหียง และพะยอม ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่ทั่วไป สภาพป่ามีความชื้นสูง สภาพป่ารกทึบ มีพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างได้แก่ ยางปาย ยมหิน ม่วงก้อม ชมพูป่า เขืองแข้งม้า และหนามเล็บเหยี่ยว ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 250-1,000 เมตร ชนิดไม้และพืชพื้นล่างที่พบได้แก่ ประดู่ ชิงชัน เก็ดแดง เก็ดดำ รกฟ้า มะเฟืองช้าง ตะแบกเลือด ปู่เจ้า มะกอกเกลื้อน ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่ซาง เห็ดจั่น เห็ดมัน เห็ดซาง และเห็ดขอน ป่าเต็งรัง พบตามสันเขาที่มีความสูงระหว่าง 700-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พะยอม มะม่วงหัวแมงวัน กระโดน ติ้ว กระท่อมหมู ปรง เห็ดไข่ห่านเหลือง และเห็ดขมิ้นใหญ่ เป็นต้น ป่าดิบแล้ง พบกระจายอยู่ทั่วไป แต่เป็นบริเวณไม่กว้างนัก พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ตะเคียนทอง ยมหอม เชียด เลือดม้า กระทุ่มบก ลำพูป่า เฟิน ผักกูด กีบแรด บอน เห็ดแดง และเห็ดขมิ้นน้อย และยังพบกล้วยไม้นานาชนิด เช่น สิงโตสยามฯ สัตว์ป่าที่พบในอุทยานแห่งชาติขุนสถาน ได้แก่ เสือโคร่ง หมีควาย กวางป่า เลียงผา หมูป่า ลิง อีเห็น หมูหริ่ง หมาหริ่ง กระต่ายป่า ตุ่น อ้น กระรอก นกขุนทอง นกแก้ว นกขมิ้น นกหัวขวาน นกแซงแซวหางบ่วง นกตะขาบทุ่ง แย้ ตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแกป่า กบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก ฯลฯ สำหรับในบริเวณแหล่งน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำสิริกิตติ์ มีปลาอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาตะเพียนแดง ปลาแรด ปลาชะโด ปลาไน ปลาช่อน ปลาบู่ทอง ปลาสลาก ปลาตะโกก ปลาหมอ และปลาสร้อย เป็นต้น รถยนต์ เส้นทางไปอุทยานแห่งชาติขุนสถาน มี 2 เส้นทาง คือ • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (ถนนยนตรกิจโกศล) เป็นเส้นทางจากตัวจังหวัดแพร่ไปจังหวัดน่าน จากจังหวัดแพร่ ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านห้วยแก๊ต ตำบลไผ่โทนอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวง 1216 ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติขุนสถาน • จากจังหวัดน่าน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ถึงอำเภอเวียงสา เลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 สายอำเภอเวียงสา - อำเภอนาน้อย ระยะทางจากอำเภอเวียงสาถึงอำเภอนาน้อย ประมาณ 35 กิโลเมตร และจากอำเภอนาน้อยเลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1216 ระยะทางประมาณ 31 กิโลเมตร ถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติขุนสถาน
0
วนอุทยานถ้ำผาตูบ

วนอุทยานถ้ำผาตูบ ตั้งอยู่ที่บ้านผาตูบ ตำบลผาสิงห์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 528 ไร่ มีสถานที่น่าสนใจ ดังนี้ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีพรรณไม้ที่ควรศึกษาและหาดูได้ยาก เช่น ต้นจันทน์ผาและเอื้องผึ้งซึ่งจะผลิดอกประมาณปลายฤดูฝน มีทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทาง คือ เส้นทางเดินเท้าถึงถ้ำบ่อน้ำทิพย์ เส้นทางจากหน้าที่ทำการฯ ถึงจุดชมวิว และเส้นทางเดินรอบที่ทำการฯ ถ้ำพระ เป็นถ้ำใหญ่ ลานพื้นกว้าง เนื้อที่ราว 50 ตารางวา มีปล่องเพดานด้านหนึ่งซึ่งปล่อยให้ลมพัดเข้ามา และให้แสงสว่าง มีหินงอกหินย้อยงดงาม ห่างจากที่ทำการประมาณ 200 เมตร ถ้ำบ่อน้ำทิพย์ ภายในถ้ำเป็นห้องโถงกว้างประมาณ 30 ตารางวา มีปล่องเพดานให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ มีหินย้อยรอบผนังถ้ำด้านหนึ่ง มีซอกเว้าลึกเป็นโพรงมีแอ่งน้ำรูปไข่ น้ำขังตลอดปี ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นสัญลักษณ์ของถ้ำนี้ ทางขึ้นถ้ำบ่อน้ำทิพย์ต้องปีนตามหน้าผาหิน อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 1,200 เมตร หน้าฝนมีน้ำในถ้ำ ทำให้เข้าไม่ได้ ถ้ำขอน เป็นถ้ำที่มีรูปลักษณะยาวคล้ายกับท่อนซุง ด้านในมีหินงอกหินย้อยงดงาม และด้านหน้าบริเวณปากทางขึ้นถ้ำมีหน้าผาเหมาะสำหรับพักผ่อน และมองเห็นทิวทัศน์บริเวณหนองน่าน ถ้ำเจดีย์แก้ว เป็นถ้ำขนาดเล็ก ด้านหน้าของถ้ำจะมีหินรูปร่างคล้ายเจดีย์ตั้งอยู่ จุดชมวิว ตั้งอยู่บนป่าซางติดกับเขาบ่อน้ำทิพย์ ทางด้านทิศใต้สามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบ ๆ และมองเห็นอำเภอเมืองน่านได้ถนัด อยู่ห่างจากที่ทำการวนอุทยานฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินไป-กลับ ประมาณ 2 ชั่วโมง ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 (เหนือ) ราษฎรชาวบ้านผาตูบจัดงานประเพณีปิดทองพระเขาถ้ำพระ เรียกงานนี้ว่า "งานถ้ำผาตูบ" ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตร กลางวันมีดนตรี และการแสดงของนักเรียนโรงเรียนบ้านผาตูบ มีการจัดงานขึ้นที่ถ้ำผาตูบเป็นประจำทุกปี

ภายในวนอุทยานถ่ำผาตูบเป็นภูเขาค่อนข้างเป็นหินรายรอบติดต่อกัน นับจากทางด้านเหนือลงมา มีถ้ำผาตูบ เขาถ้ำพระเขาป่าซาง เขาบ่อน้ำทิพย์ เขาผาผักเฮือก เขาม่อนมะฝางและเขาหน้าต่ำ เป็นต้น ซึ่งเขาเหล่านี้มีอาณาเขตติดต่อเป็นเทือกเขาเดียวกัน ตั้งแต่ถ้ำผาตูบลงมาทางทิศใต้จนถึงเขาผาผักเฮือก แล้ววกกลับที่เขาม่อนมะฝางติดต่อไปยังเขาหน้าผาต่ำและอื่นๆ ตามที่มีเขาต่างๆติดต่อกันและวนกลับเช่นนี้ จึงเป็นเหตุให้มีป่าเกิดขึ้นอยู่ในบริเวณล้อมรอบของเขาดังกล่าวที่ชาวบ้านเรียกว่า “ หนองน่าน “

สภาพป่าเป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก พะยูง ตะแบก แดง ตีนเป็ด รกฟ้า ยอป่า เป็นต้น และยังมีสมุนไพรและเถาวัลย์ชนิดต่างๆเป็นไม้พื้นล่างขึ้นอยู่หนาแน่น

สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา หมูป่า เก้ง กระจง ไก่ป่า กระรอก อีเห็น งู หมี และนกชนิดต่างๆ

การเดินทางไปวนอุทยานถ้ำผาตูบสะดวกมากโดยออกเดินทางจากจังหวัดน่าน ไปตามทางหลวงหมายเลข 1080 ไปอำเภอเชียงม่วน ประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือข้างสถานีอนามัยตำบลผาสิงห์เข้าไปอีกประมาณ 300 เมตร ก็จะถึงวนอุทยานถ้ำผาตูบ มีรถยนต์โดยสารผ่านตลอดวัน ค่าโดยสารจากจังหวัดน่านไปประมาณ 5 บาท

วนอุทยานถ้ำผาตูบ
วนอุทยานถ้ำผาตูบ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีพรรณไม้ที่ควรศึกษาและหาดูได้ยาก เช่น ต้นจันทน์ผาและเอื้องผึ้งซึ่งจะผลิดอกประมาณปลายฤดูฝน มีทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทาง คือ เส้นทางเดินเท้าถึงถ้ำบ่อน้ำทิพย์ เส้นทางจากหน้าที่ทำการฯ ถึงจุดชมวิว และเส้นทางเดินรอบที่ทำการฯ ถ้ำพระ เป็นถ้ำใหญ่ ลานพื้นกว้าง เนื้อที่ราว 50 ตารางวา มีปล่องเพดานด้านหนึ่งซึ่งปล่อยให้ลมพัดเข้ามา และให้แสงสว่าง มีหินงอกหินย้อยงดงาม ห่างจากที่ทำการประมาณ 200 เมตร ถ้ำบ่อน้ำทิพย์ ภายในถ้ำเป็นห้องโถงกว้างประมาณ 30 ตารางวา มีปล่องเพดานให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ มีหินย้อยรอบผนังถ้ำด้านหนึ่ง มีซอกเว้าลึกเป็นโพรงมีแอ่งน้ำรูปไข่ น้ำขังตลอดปี ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นสัญลักษณ์ของถ้ำนี้
0

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

เที่ยวใจฟู อุทยานแห่งชาติ สะสมตราประทับ บันทึกความประทับใจในป่าอุทยาน 8 แห่งที่น่าน

เที่ยว 7 อุทยานแห่งชาติ และ 1 วนอุทยาน ในจังหวัดน่าน จังหวัดน่าน เมืองในหุบเขา จังหวัดเล็ก ๆ ที่ทอดตัวเรียบเสมอขนาบข้างไปกับขุนเขาสูงใหญ่ สีเขียวของต้นไม้และพืชป่ายังหาชมได้ทั่วทั้งจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ยอดดอย ถ้ำในป่าเขียวชอุ่ม จังหวัดที่มีจำนวนป่าอุทยานที่งดงามให้ไปท่องเที่ยวถึง 8 แห่งประเทศไทย มีที่ไหนกันบ้าง ไปล่าตราประทับอุทยานกันเลย

1. อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

2. อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน

3. อุทยานแห่งชาติขุนน่าน

4. อุทยานแห่งชาตินันทบุรี

5. อุทยานแห่งชาติแม่จริม

6. อุทยานแห่งชาติศรีน่าน

7. อุทยานแห่งชาติขุนสถาน

8. วนอุทยานถ้ำผาตูบ