‘G-Green’ หรือโครงการส่งเสริมการผลิต การบริการ และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดำเนินงานโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มุ่งเน้นส่งเสริมสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม โรงแรม ภัตตาคาร/ร้านอาหาร อุทยานแห่งชาติ สำนักงาน และผู้บริโภค ให้เห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมและให้การรับรอง
ซึ่งหน่วยงานที่ผ่านการประเมินจะได้รับโล่ตราสัญลักษณ์ G-Green มีอายุการรับรอง 3 ปี แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
- ระดับดีเยี่ยม (G ทอง)
- ระดับดีมาก (G เงิน)
- ระดับดี (G ทองแดง)
สามารถติดตามดูผู้ที่ได้รับตราสัญลักษณ์ปีล่าสุดที่นี่เลย www.deqp.go.th
มุ่งเน้นหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy โดยสร้างความตระหนักรู้ในการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการบริโภคอย่างพอเพียง ลดการบริโภคที่สิ้นเปลือง ส่งผลให้ลดปริมาณของเสียตั้งแต่ต้นทาง ลดการทิ้งของเสียสู่สิ่งแวดล้อม และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
เราสามารถแบ่งแยก G-Green ออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มผู้ผลิต
Green Production โครงการผลิตภัณฑ์สีเขียว / วิสาหกิจชุมชน / OTOP เน้นการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
กลุ่มผู้บริการ
Green Hotel ส่งเสริมให้โรงแรม / รีสอร์ท มีมาตรการการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดการใช้พลังงาน การกำจัดขยะ รวมถึงลดการปล่อยของเสียและลดการสร้างมลภาวะ
กลุ่มผู้บริการ
Green Restaurant เน้นให้ผู้ประกอบการร้านอาหารเลือกใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดขยะอาหารในทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดหา การจัดเก็บ การปรุง และการกำจัดขยะอาหารอย่างถูกวิธี
กลุ่มผู้บริการ
Green National Park อุทยานแห่งชาติสีเขียว ที่ตอบโจทย์ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ มีการบริการ และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล
กลุ่มผู้บริการ
Green Airport ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อพัฒนาเป็นสนามบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้บริโภค
Green Office มาตรฐานขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รณรงค์และกระตุ้นพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มผู้บริโภค
Green Card Application เป็นแหล่งรวมข้อมูลสินค้าและบริการที่ได้รับการรับรองฉลากด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
BCG Model แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
B - Bio Economy เป็นการสร้างความเติบโตโดยอาศัยฐานทรัพยากรของธรรมชาติด้านชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ครอบคลุมไปถึงการใช้วัฒนธรรมเป็นฐาน หรือวัฒนธรรมสร้างชีวิต
C - Circular Economy เป็นแนวทางการยืดอายุการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ยาวนานที่สุด เช่น การรีไซเคิล, การนำเศษวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ต่อโดยไม่ทิ้งเป็นขยะ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
G - Green Economy เป็นการพัฒนาที่เน้นความสมดุลระหว่างการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการ ‘G-Green’ ผ่านช่องทางต่างๆ ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เว็บไซต์ www.deqp.go.th หรือช่องทางสื่อออนไลน์ เช่น Facebook DEQP, YouTube, Instragram
สามารถกดดูข้อมูลสถานที่ที่ได้รับมาตรฐาน G Green ได้ที่นี่ https://www.jertam.com/mcs/g-green/g-place
อ้างอิง : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม : www.deqp.go.th
เพจ Green Office : https://www.facebook.com/Greenoffice-สำนักงานสีเขียว-308452949773830/
สวทช : โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG - NSTDA
เครดิตภาพ
www.tei.or.th/en/area_project_detail.php?area_id=3&project_id=113
https://www.facebook.com/GreenhotelKhonkaen/?ref=page_internal
https://www.facebook.com/GreenNationalPark/
https://www.tot.co.th/blogs/ดิจิทัลทิปส์/digital-updates/ดิจิทัลทิปส์/2019/10/28/3-เเอปพลิเคชัน-เอาใจคนรักษ์โลก
https://www.trisacademy.com/application/files/4715/7007/2280/TAC_Issue24_Sep2019.pdf