พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
ที่ตั้ง
"เรือนคำเที่ยง" เป็นเรือนเครื่องสับแบบล้านนาไทยดั้งเดิม ที่เรียกกันทั่วไปว่า "เรือนกาแล" ในอดีตเรือนหลังนี้ได้สร้างขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2391 ผู้สร้าง คือ นางแซ้ด เป็นลูกหลานสืบเชื้อสายธิดาเจ้าเมืองแช่ ชาวไทลื้อจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ซึ่งได้ถูกกวาดต้อนมาอยู่เชียงใหม่ในยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง สมัยพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่
ลูกหลานของนางแซ้ดได้อาศัยเรือนหลังนี้เรื่อยมา จนกระทั่ง พ.ศ.2506 นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์ ผู้เป็นเจ้าของเรือนในขณะนั้นได้มองเห็นวามสำคัญและคุณค่าของศิลปะล้านนาไทยที่นับวันจะสูญสลายไปตามกาลเวลา จึงมอบเรือนเก่าแก่ของตระกูลหลังนี้ให้แก่สยามสมาคมฯ จัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา
ชื่อ "เรือนคำเที่ยง" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่มารดานางกิมฮ้อ คือ นางคำเที่ยง อนุสารสุนทร
เรือนคำเที่ยง มีลักษณะของเรือนล้านนาโดยยกใต้ถุนสูง มีพื้นที่ประกอบด้วย ห้องนอน เติ๋น(พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับนั่งเล่น รับรองแขก รับประทานอาหาร เป็นต้น) ชาน ครัว ฮ้านน้ำ ยุ้งข้าว ภายในแต่ละห้องจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น
ส่วนจัดแสดงเครื่องเซ่นไหว้ผีปู่ย่า
แผ่นไม้แกะสลัก
ผ้ายันต์
เครื่องทองโบราณ
เครื่องครัว
ใต้ถุนเรือนจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องมือในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การทอผ้า
พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
"เรือนคำเที่ยง" เป็นเรือนเครื่องสับแบบล้านนาไทยดั้งเดิม ที่เรียกกันทั่วไปว่า "เรือนกาแล" ในอดีตเรือนหลังนี้ได้สร้างขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2391 ผู้สร้าง คือ นางแซ้ด เป็นลูกหลานสืบเชื้อสายธิดาเจ้าเมืองแช่ ชาวไทลื้อจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ซึ่งได้ถูกกวาดต้อนมาอยู่เชียงใหม่ในยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง สมัยพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่
ลูกหลานของนางแซ้ดได้อาศัยเรือนหลังนี้เรื่อยมา จนกระทั่ง พ.ศ.2506 นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์ ผู้เป็นเจ้าของเรือนในขณะนั้นได้มองเห็นวามสำคัญและคุณค่าของศิลปะล้านนาไทยที่นับวันจะสูญสลายไปตามกาลเวลา จึงมอบเรือนเก่าแก่ของตระกูลหลังนี้ให้แก่สยามสมาคมฯ จัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา
ชื่อ "เรือนคำเที่ยง" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่มารดานางกิมฮ้อ คือ นางคำเที่ยง อนุสารสุนทร
เรือนคำเที่ยง มีลักษณะของเรือนล้านนาโดยยกใต้ถุนสูง มีพื้นที่ประกอบด้วย ห้องนอน เติ๋น(พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับนั่งเล่น รับรองแขก รับประทานอาหาร เป็นต้น) ชาน ครัว ฮ้านน้ำ ยุ้งข้าว ภายในแต่ละห้องจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น
ส่วนจัดแสดงเครื่องเซ่นไหว้ผีปู่ย่า
แผ่นไม้แกะสลัก
ผ้ายันต์
เครื่องทองโบราณ
เครื่องครัว
ใต้ถุนเรือนจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องมือในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การทอผ้า
กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้
STAMM Book
ไม่พบ STAMM Book
Review
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง