กลุ่มทอผ้าตีนจกบ้านนำปั้ว
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
ที่ตั้ง
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทอผ้าลายตีนจกน้ำปั้ว ตั้งอยู่เลขที่ 7 หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจที่ มีลักษณะเด่น ในด้านของความสามารถในการแกะลายจากผ้าตีนจกและประยุกเป็นลวดลายสร้างสรรค์ให้กับผ้าทอคำเคิบ เมืองน่าน จึงได้รับการขนานนามเรื่องผ้าทอคำเคิบจากชุมชนน้ำปั้วว่าเป็น พญาซิ่นคำเคิบ
ซิ่นพญาคำเคิบ คือนางพญาผ้าซิ่น ของราชสำนักเมืองน่าน แห่งอาณาจักรล้านนาตะวันออก ตัวซิ่นประกอบด้วย 3 ลายหลัก 1. ลายอุ้งตีนหมี 2.ลายเกล็ดพระญานาค 3.ลายเขาวัวชน คนสมัยโบราณ ถือเป็นสิริมงคล และคุ้มครองภยันอันตราย ต่อผู้สวมใส่ การซิ่นพญาคำเคิบ ทอจากช่างที่มีฝีมือปราณีต ลวดลายละเอียดสวยงาม โดยใช้ฝ้ายสอดดิ้นทองเต็มผืน ในอดีตถือเป็นผ้าซิ่นที่เจ้านายในราชสำนักน่านนิยมใช้
--------------
กลุ่มทอผ้าตีนจก บ้านน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา
กลุ่มทอผ้าหนึ่งเดียวในจังหวัดน่านที่มีการทอผ้าตีนจกส่งเป็นวัตถุดิบให้กับชุมชนอื่น ภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกนี้ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เดิมทีหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านของชาวม่าน (คำว่า ม่าน เป็นคำพูดของคนสมัยก่อนที่ใช้เรียกคนพม่า) ได้อพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว คนส่วนหนึ่งมาตั้งรกรากที่บ้านน้ำปั้วแห่งนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม แต่ยามว่างจากการทำไร่ ทำนา แม่ๆ ยาย ๆ จะมานั่งทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน จนกระทั่งปี 2540 ชาวบ้านรวมตัวจัดตั้งกลุ่มทอผ้าตีนจก ซึ่งแต่ละคนสามารถทอผ้าจกได้อย่างประณีตและงดงาม
สำหรับลวดลายนั้น ทางกลุ่มฯ จะช่วยกันคิดค้นดัดแปลงลายจากผ้าจกโบราณของย่าและยายสมัยก่อน และช่วยกันตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ มีทั้งหมด 12 ลาย เช่น ลายดอกแก้ว ลายตลับนาค ลายสับปะรด ลายขอซ้อนกาบ ลายดาวจรัสแสง เป็นต้น ด้วยความรัก ความสามัคคี และความผูกพันของคนในชุมชน ทำให้กลุ่มฯ มีความเข้มแข็งที่จะอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญานี้ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน นับได้ว่าบ้านน้ำปั้วเป็นแหล่งทอผ้าตีนจกที่ทรงคุณค่าที่ยังคงเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของจังหวัดน่าน
กลุ่มทอผ้าตีนจกบ้านนำปั้ว
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทอผ้าลายตีนจกน้ำปั้ว ตั้งอยู่เลขที่ 7 หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจที่ มีลักษณะเด่น ในด้านของความสามารถในการแกะลายจากผ้าตีนจกและประยุกเป็นลวดลายสร้างสรรค์ให้กับผ้าทอคำเคิบ เมืองน่าน จึงได้รับการขนานนามเรื่องผ้าทอคำเคิบจากชุมชนน้ำปั้วว่าเป็น พญาซิ่นคำเคิบ
ซิ่นพญาคำเคิบ คือนางพญาผ้าซิ่น ของราชสำนักเมืองน่าน แห่งอาณาจักรล้านนาตะวันออก ตัวซิ่นประกอบด้วย 3 ลายหลัก 1. ลายอุ้งตีนหมี 2.ลายเกล็ดพระญานาค 3.ลายเขาวัวชน คนสมัยโบราณ ถือเป็นสิริมงคล และคุ้มครองภยันอันตราย ต่อผู้สวมใส่ การซิ่นพญาคำเคิบ ทอจากช่างที่มีฝีมือปราณีต ลวดลายละเอียดสวยงาม โดยใช้ฝ้ายสอดดิ้นทองเต็มผืน ในอดีตถือเป็นผ้าซิ่นที่เจ้านายในราชสำนักน่านนิยมใช้
--------------
กลุ่มทอผ้าตีนจก บ้านน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา
กลุ่มทอผ้าหนึ่งเดียวในจังหวัดน่านที่มีการทอผ้าตีนจกส่งเป็นวัตถุดิบให้กับชุมชนอื่น ภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกนี้ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เดิมทีหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านของชาวม่าน (คำว่า ม่าน เป็นคำพูดของคนสมัยก่อนที่ใช้เรียกคนพม่า) ได้อพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว คนส่วนหนึ่งมาตั้งรกรากที่บ้านน้ำปั้วแห่งนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม แต่ยามว่างจากการทำไร่ ทำนา แม่ๆ ยาย ๆ จะมานั่งทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน จนกระทั่งปี 2540 ชาวบ้านรวมตัวจัดตั้งกลุ่มทอผ้าตีนจก ซึ่งแต่ละคนสามารถทอผ้าจกได้อย่างประณีตและงดงาม
สำหรับลวดลายนั้น ทางกลุ่มฯ จะช่วยกันคิดค้นดัดแปลงลายจากผ้าจกโบราณของย่าและยายสมัยก่อน และช่วยกันตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ มีทั้งหมด 12 ลาย เช่น ลายดอกแก้ว ลายตลับนาค ลายสับปะรด ลายขอซ้อนกาบ ลายดาวจรัสแสง เป็นต้น ด้วยความรัก ความสามัคคี และความผูกพันของคนในชุมชน ทำให้กลุ่มฯ มีความเข้มแข็งที่จะอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญานี้ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน นับได้ว่าบ้านน้ำปั้วเป็นแหล่งทอผ้าตีนจกที่ทรงคุณค่าที่ยังคงเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของจังหวัดน่าน
กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้
STAMM Book
ไม่พบ STAMM Book
Review
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
กลุ่มทอผ้าตีนจกบ้านนำปั้ว