ป้าหลอม กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านเก็ต

ค้นพบโดย

ไปเที่ยวกันมั้ย

0

ที่ตั้ง

กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านเก็ต โดย ป้าหลอม นาง ศดานันท์ เนตรทิพย์ ประธานกลุ่ม จากอดีต ได้รับหน้าที่ทำตุง ศิลปะของจังหวัดน่าน ถวายเพื่อใช้ประกอบในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อปี 2551 จนทำให้กลุ่มทอผ้าเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา . การทอผ้า อีกหนึ่งอัตลักษ์ของชาวไทลื้อจากรุ่นสู่รุ่น มายาวนาน จนได้รับคัดเลือกให้เป็น OTOP ๕ ดาว ด้วยการทอผ้าในแบบโบราณต่างๆ ทุกลวดลาย เช่น ผ้าลายน้ำไหล ผ้าลายขิด ผ้าลายมัดก่าน ตุง . โดย มีผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมืองน่าน เช่น ผ้าขาวม้า, ถุงย่าม, ผ้าห่ม (ผ้าตาแสงหรือผ้าตาโก้ง), ผ้าลายคาดก่านแบบน่าน และซิ่นที่มีลวดลายแบบโบราณ และลวดลายประยุกต์ขึ้นใหม่ . เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ สาธิตขั้นตอนต่างๆ จากฝ้าย สู่เส้นด้าย เป็นผ้าทอ ตลอดจนการย้อมฝ้าย ด้วยสีจากธรรมชาติ โดยอาศัยวัตถุดิบในท้องถิ่น . มาน่าน เที่ยวอำเภอปัว แวะวัดภูเก็ต ชมชุมชนชาวไทลื้อ อุดหนุนสินค้า ของที่ระลึกด้านล่างวัดกันได้ --------------------------- กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านเก็ต (ป้าหลอม) น้ำเสียงที่อ่อนโยน กับสายตาที่ห่วงใย ของป้าหลอม หรือ คุณศดานันฑ์ เนตรทิพย์ ค่อย ๆ บรรจงถ่ายทอดเรื่องราวและลวดลายผ้าทอไทลื้อแต่ละผืนอย่างมีความสุข ป้าหลอม เกิดในครอบครัวชาวไทลื้อและได้ฝึกหัดการทอผ้าจากคุณยายและคุณแม่มาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ทำให้เกิดความรัก ความผูกพ้น สืบทอดมาถึงปัจจุบัน และได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติครูช่างหัตถศิลป์ พ.ศ. 2555 ของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ อีกหนึ่งผลงานที่น่าภาคภูมิใจคือ ได้รับเกียรติให้เป็น 1 ใน 3 หมู่บ้านที่ได้รับมอบหมายการทอตุงไชยลายปราสาท 5 ชั้น เพื่อตกแต่งในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทั้งหมดนี้ เป็นเพราะป้าหลอมและชาวไทลื้อในชุมชนต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาล้ำค่าไว้ มีการรวมตัวช่วยกันสืบค้น แกะลายจากผ้าโบราณ เช่น ผ้าปูที่นอนเก่า ๆ มาเป็นผ้าปูที่นอนแบบใหม่ ผ้าปูเสื่อเก่า ๆ มาเป็นผ้าปูโต๊ะ รวมไปถึงแปรรูปผ้าทอไทลื้อเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผ้ารองจาน ผ้าคลุ่มไหล่ หมองอิง ป้าหลอมมีความฝันว่า "ป้าอยากให้ลูกหลานได้มาหัดทอผ้า มาเรียนรู้ ป้าพยายามจะถ่ายทอดให้เป็นวิทยาทานแก่ลูกหลานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้" นั่นคือความห่วงใยในมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทลื้อที่คุณป้าอยากให้คงอยู่ตลอดไป
ป้าหลอม กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านเก็ต

ค้นพบโดย

ไปเที่ยวกันมั้ย

0
กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านเก็ต โดย ป้าหลอม นาง ศดานันท์ เนตรทิพย์ ประธานกลุ่ม จากอดีต ได้รับหน้าที่ทำตุง ศิลปะของจังหวัดน่าน ถวายเพื่อใช้ประกอบในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อปี 2551 จนทำให้กลุ่มทอผ้าเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา . การทอผ้า อีกหนึ่งอัตลักษ์ของชาวไทลื้อจากรุ่นสู่รุ่น มายาวนาน จนได้รับคัดเลือกให้เป็น OTOP ๕ ดาว ด้วยการทอผ้าในแบบโบราณต่างๆ ทุกลวดลาย เช่น ผ้าลายน้ำไหล ผ้าลายขิด ผ้าลายมัดก่าน ตุง . โดย มีผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมืองน่าน เช่น ผ้าขาวม้า, ถุงย่าม, ผ้าห่ม (ผ้าตาแสงหรือผ้าตาโก้ง), ผ้าลายคาดก่านแบบน่าน และซิ่นที่มีลวดลายแบบโบราณ และลวดลายประยุกต์ขึ้นใหม่ . เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ สาธิตขั้นตอนต่างๆ จากฝ้าย สู่เส้นด้าย เป็นผ้าทอ ตลอดจนการย้อมฝ้าย ด้วยสีจากธรรมชาติ โดยอาศัยวัตถุดิบในท้องถิ่น . มาน่าน เที่ยวอำเภอปัว แวะวัดภูเก็ต ชมชุมชนชาวไทลื้อ อุดหนุนสินค้า ของที่ระลึกด้านล่างวัดกันได้ --------------------------- กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านเก็ต (ป้าหลอม) น้ำเสียงที่อ่อนโยน กับสายตาที่ห่วงใย ของป้าหลอม หรือ คุณศดานันฑ์ เนตรทิพย์ ค่อย ๆ บรรจงถ่ายทอดเรื่องราวและลวดลายผ้าทอไทลื้อแต่ละผืนอย่างมีความสุข ป้าหลอม เกิดในครอบครัวชาวไทลื้อและได้ฝึกหัดการทอผ้าจากคุณยายและคุณแม่มาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ทำให้เกิดความรัก ความผูกพ้น สืบทอดมาถึงปัจจุบัน และได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติครูช่างหัตถศิลป์ พ.ศ. 2555 ของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ อีกหนึ่งผลงานที่น่าภาคภูมิใจคือ ได้รับเกียรติให้เป็น 1 ใน 3 หมู่บ้านที่ได้รับมอบหมายการทอตุงไชยลายปราสาท 5 ชั้น เพื่อตกแต่งในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทั้งหมดนี้ เป็นเพราะป้าหลอมและชาวไทลื้อในชุมชนต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาล้ำค่าไว้ มีการรวมตัวช่วยกันสืบค้น แกะลายจากผ้าโบราณ เช่น ผ้าปูที่นอนเก่า ๆ มาเป็นผ้าปูที่นอนแบบใหม่ ผ้าปูเสื่อเก่า ๆ มาเป็นผ้าปูโต๊ะ รวมไปถึงแปรรูปผ้าทอไทลื้อเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผ้ารองจาน ผ้าคลุ่มไหล่ หมองอิง ป้าหลอมมีความฝันว่า "ป้าอยากให้ลูกหลานได้มาหัดทอผ้า มาเรียนรู้ ป้าพยายามจะถ่ายทอดให้เป็นวิทยาทานแก่ลูกหลานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้" นั่นคือความห่วงใยในมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทลื้อที่คุณป้าอยากให้คงอยู่ตลอดไป

กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้

STAMM Book

ไม่พบ STAMM Book

Review

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

ป้าหลอม กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านเก็ต