โฮงเจ้าฟองคำ
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
ที่ตั้ง
โฮงเจ้าฟองคำ สร้างจากไม้สักหลังใหญ่สไตล์ล้านนา บ้านเก่าอายุเกือบ200ปี โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านของเจ้าฟองคำ เชื้อสายของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 62 คำว่า “ โฮง ” เป็นคำพื้นเมืองล้านนา หมายถึง คุ้ม หรือที่อยู่อาศัยของเจ้านายล้านนาไท โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านไม้สักยกใต้ถุนสูง รูปแบบล้านนาโบราณ หลังคาทรงจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินขอ ประกอบด้วยเรือน 4 หลัง แบ่งเป็นห้องต่างๆ ทั้งนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยนอกชานและทางเดิน บันไดทางขึ้นบ้านอยู่ด้านหน้ามีหลังคาคลุม สำหรับไม้สักที่ใช้สร้างบ้านนั้น ใช้วิธีการผ่าและซ้อมถากด้วยขวานและมีด การประกอบตัวบ้านจึงไม่ได้ใช้ตะปู แต่จะใช้วิธีเจาะไม้และเข้าไม้โดยใช้สลักไม้ บริเวณหน้าบ้านมีบ่อน้ำ โดยรอบบ้านร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาชนิด
--------------------
เป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจของชาวน่าน ที่มีบ้านโบราณแท้ ๆ ได้รับการอนุรัษ์ไว้ใจกลางเมือง "โฮงเจ้าฟองคำ" หลังนี้มีอายุร้อยกว่าปี เป็นที่อยู่อาศัยของเจ้านายล้านนาไทย มีชื่อว่า "เจ้าศรีตมมา" ผู้สืบเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 11 ลักษณะเป็นเรือนไม้สัก ยกใต้ถุนสูง มีเรือนแฝด 2 หลัง แบ่งเป็นเรือนนอน และเรือนครัว ปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต จากการบอกเล่าของคุณภัทราภรณ์ ปราบริปู บุตรสาวคนที่ 6 ของเจ้าฟองคำว่า "เมื่อมาเยือนบ้านหลังนี้อยากให้มีความรู้สึกย้อนกลับสู่อดีต อยากให้เห็นวิถีความเป็นอยู่อันเรียบง่ายของชาวน่าน และอยากอนุรักษ์งานที่เราทำคือ การทอผ้า ให้ยังคงอยู่ในบ้าน" ที่โฮงเจ้าฟองคำแห่งนี้ นอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตแล้ว ยังมีการสาธิตการทอผ้าที่ใต้ถุนบ้าน ลวดลายที่มีเอกลักษณ์คือ "ลายน้ำไหลหยดน้ำ" ที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอโฮงเจ้าฟองคำได้คิดค้นขึ้นมา เป็นลายผ้าที่ดูมีมิติ ร่วมสมัย และอ่อนช้อย ที่สำคัญคือใช้เวลาทอนานกว่าหนึ่งเดือนจึงจะนำมาทำเป็นผ้าซิ่น ส่วนใหญ่ใครที่ได้มาเยือนโฮงเจ้าฟองคำครั้งแรกมักจะมีครั้งที่สอง ครั้งที่สาม เพราะป้าๆ ยายๆ ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดคุยอย่างสนิทสนม ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันราวกับอยู่บ้านตนเอง
โฮงเจ้าฟองคำ
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
โฮงเจ้าฟองคำ สร้างจากไม้สักหลังใหญ่สไตล์ล้านนา บ้านเก่าอายุเกือบ200ปี โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านของเจ้าฟองคำ เชื้อสายของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 62 คำว่า “ โฮง ” เป็นคำพื้นเมืองล้านนา หมายถึง คุ้ม หรือที่อยู่อาศัยของเจ้านายล้านนาไท โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านไม้สักยกใต้ถุนสูง รูปแบบล้านนาโบราณ หลังคาทรงจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินขอ ประกอบด้วยเรือน 4 หลัง แบ่งเป็นห้องต่างๆ ทั้งนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยนอกชานและทางเดิน บันไดทางขึ้นบ้านอยู่ด้านหน้ามีหลังคาคลุม สำหรับไม้สักที่ใช้สร้างบ้านนั้น ใช้วิธีการผ่าและซ้อมถากด้วยขวานและมีด การประกอบตัวบ้านจึงไม่ได้ใช้ตะปู แต่จะใช้วิธีเจาะไม้และเข้าไม้โดยใช้สลักไม้ บริเวณหน้าบ้านมีบ่อน้ำ โดยรอบบ้านร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาชนิด
--------------------
เป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจของชาวน่าน ที่มีบ้านโบราณแท้ ๆ ได้รับการอนุรัษ์ไว้ใจกลางเมือง "โฮงเจ้าฟองคำ" หลังนี้มีอายุร้อยกว่าปี เป็นที่อยู่อาศัยของเจ้านายล้านนาไทย มีชื่อว่า "เจ้าศรีตมมา" ผู้สืบเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 11 ลักษณะเป็นเรือนไม้สัก ยกใต้ถุนสูง มีเรือนแฝด 2 หลัง แบ่งเป็นเรือนนอน และเรือนครัว ปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต จากการบอกเล่าของคุณภัทราภรณ์ ปราบริปู บุตรสาวคนที่ 6 ของเจ้าฟองคำว่า "เมื่อมาเยือนบ้านหลังนี้อยากให้มีความรู้สึกย้อนกลับสู่อดีต อยากให้เห็นวิถีความเป็นอยู่อันเรียบง่ายของชาวน่าน และอยากอนุรักษ์งานที่เราทำคือ การทอผ้า ให้ยังคงอยู่ในบ้าน" ที่โฮงเจ้าฟองคำแห่งนี้ นอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตแล้ว ยังมีการสาธิตการทอผ้าที่ใต้ถุนบ้าน ลวดลายที่มีเอกลักษณ์คือ "ลายน้ำไหลหยดน้ำ" ที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอโฮงเจ้าฟองคำได้คิดค้นขึ้นมา เป็นลายผ้าที่ดูมีมิติ ร่วมสมัย และอ่อนช้อย ที่สำคัญคือใช้เวลาทอนานกว่าหนึ่งเดือนจึงจะนำมาทำเป็นผ้าซิ่น ส่วนใหญ่ใครที่ได้มาเยือนโฮงเจ้าฟองคำครั้งแรกมักจะมีครั้งที่สอง ครั้งที่สาม เพราะป้าๆ ยายๆ ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดคุยอย่างสนิทสนม ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันราวกับอยู่บ้านตนเอง
กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้
STAMM Book
ไม่พบ STAMM Book
Review
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
โฮงเจ้าฟองคำ