อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
ที่ตั้ง
มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราชที่ทอดตามแนวยาวเหนือใต้ ต่อเนื่องมาทางใต้ของเทือกเขาหลวง ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางตั้งแต่ 80 เมตร ถึง 1,307 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาเหมน เป็นยอดเขาแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลนาบอน อำเภอนาบอน กับตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงตั้งอยู่บนคาบสมุทร ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมที่พัดผ่านทะเล ทั้งสองด้าน ฝนตกเกือบตลอดทั้งปี ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม มีอากาศค่อนข้างเย็น และฤดูร้อนจะอยู่ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 26 องศาเซลเซียส
พืชพรรณ
จากลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกเกือบตลอดปีและได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ความชื้นและปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงทำให้พืชพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นสังคมพืชป่าดงดิบชื้น (Tropical Rain Forest) และป่าดงดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ที่มีองค์ประกอบดังนี้
1. ป่าดงดิบชื้น (Tropical Rain Forest) หรือ (Tropical Evergreen Forest) เป็นพื้นที่ป่าที่มีสีเขียวตลอดปี สภาพป่ารกทึบทั้งในเรือนยอดของไม้ใหญ่ ไม้ชั้นกลางและชั้นไม้ล่าง ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ ของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป เช่น ยาง (Diterocarpus sp.) หลุมพอ(Intsia palembanica) ตะเคียนทอง (Hopea odorata) ไข่เขียว (Parashorea stellata) ตะเคียนทราย (Shorea gratissima) กระบากดำ (Shorea Ferinosa) กระบากขาว (Anisoptera coatata) เทพทาโร (Cinnanomum porrectum) แดงเขา (Eugenia rhomboidea) เสียดช่อ (Hertiera sumatrana) จำปีป่า (Michelia champaca)ยมป่า (Ailanthus triphysa) สุเหรียญ (Toona tebrifuga) สะตอ (Parkia speciosa) ประ (Elateriospermum tapos) คอแลน (Xerospemum intermedium) สำหรับพันธุ์ไม้พื้นล่างที่พบเช่น เต่าร้าง (Caryota obtusa) รวมทั้งหวายชนิดต่าง ๆ ในสกุล Calamus เช่น หวายหอม (Calamus javenris) หวายไม้เท้า (C. scipionum) หวายกำพวน (C. longisetus) สกุล Korthalsia เช่นหวายแดง (Korthalsia grandis) ไม้พื้นล่างและไม้อิงอาศัยอื่น ๆ ที่พบ เช่น ชายผ้าสีดา (Platycerium eoronarium) เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย (Asplenium nidus) ย่านลิเภาชนิดต่าง ๆ (Lygoduim spp.) นาคราช (Pavallia spp.) ลำเพย (Dimochlaena palustris) และกูดต้น (วงศ์ Cyatheaceae) เป็นต้น
2. ป่าดงดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ตามปกติเป็นพื้นที่ป่าที่ขึ้นอยู่เหนือระดับความสูง จากน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป แต่ที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงจะพบตรงที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 700 เมตร ขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่พบจะมีระดับเรือนยอดค่อนข้างสม่ำเสมอ เป็นชั้นเดียวกันตามลำต้นมีมอสและเฟิร์นเกาะอาศัยอยู่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไม้ในวงศ์ก่อ (Fagaceae) กุหลาบป่า (Ericaceae) ช่อไข่มุก (Vaccinium viscifolium) กำยาน (Styrax betongensis) ก่อเขา (Lithocarpus sp.) มังตาน (Scima wallichii) แดงเขา (Temstroemia wallichiana) ไม้พุ่มที่พบเป็นพวกตาเป็ดตาไก่ (Ardisia spp.) โคลงเคลง (Melastoma malabathricum) เนียม (Chloranthus spicatus) พืชคลุมดินส่วนใหญ่เป็นพวกมอสและเฟิร์น และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น รองเท้านารีพันธุ์คางกบใต้ Paphiopedilum Collosum (Rchb.f.) เป็นต้น
นอกจากนี้ในพื้นที่ที่ธรรมชาติเดิมบริเวณเชิงเขารอบแนวเขตอุทยาแห่งชาติและพื้นที่ที่ อยู่ใกล้เคียงหมุ่บ้านที่ธรรมชาติได้ถูกทำลายลงได้เกิดการฟื้นตัวของป่า เป็นสังคมพืชที่เกิดทดแทนสภาพป่าธรรมชาติเดิมประกอบด้วย พืชเบิกนำ (Pioneer species) ได้แก่ ปอหูช้าง (Macaranga gigantea) กะลอเกลี้ยง (M. denticulata) หล้อ (M. tanarius) พังแหรใหญ่ (Trema orientalis) สอยดาว (Mallotus paniculata) กะลอ (M. barbatus ) และกล้วยป่า (Musa acuminata Colla)
สำหรับทรัพยากรพืชปรากฏว่ามีพันธุ์ไม้หายากหลายชนิดที่ปรากฏพบที่อุทยานแห่งชาติ น้ำตกโยง เช่น
- ทังเก ( Magnolia elegans(Blume)H.Keng ) พบบริเวณป่าดิบชื้นลานหน้าน้ำตกโยงและบริเวณ ป่าดิบชื้นหลังห้องน้ำลานกางเต็นท์
- หงส์เหิน หรือขมิ้นคนธรรณ์ ( Hedychium khaomaenense Picheans. & Mokkamul )พบบริเวณ ยอดเขาเหมนและยอดเขารามโรม
- เปราะหินเขาเหมน (Caulokaempferia khaomaenensis) พบบริเวณยอดเขาเหมน
- รองเท้านารีพันธุ์คางกบใต้( Paphiopedilum sp.) พบบริเวณยอดเขาเหมน
- บัวแฉกใหญ่ ( Dipteris conjucata ) พบบริเวณยอดเขาเหมนและยอดเขารามโรม
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่บริเวณนี้ มีสัตว์ป่าที่สำคัญ เช่น สมเสร็จ เลียงผา หมีขอ อีเก้ง เม่น หมูป่า กระจง อีเห็น ชะมดและลิง เป็นต้น สัตว์จำพวกนก เช่น เหยี่ยวผึ้ง นกหว้า นกปรอด นกขมิ้น นกจาบคา นกบั้งรอก นกกินแมลง นกเปล้าและนกโพระดก เป็นต้น
สำหรับสัตว์ป่าปรากฏว่า มีพันธุ์สัตว์หายากหลายชนิด ที่ปรากฏพบที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง เช่น
- นกกางเขนน้ำหลังแดง (Enicurus ruficapillus Temminck,1823) พบบริเวณน้ำตกโยงน้อย
- ปลาตูหนา (Anguilla marmoratus Quay & Guimard, 1824) พบบริเวณลำธารน้ำตกโยง
- ปลามัด (Clarias batu) พบบริเวณลำธารน้ำตกโยงและบ้านไสโตน
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง อยู่ห่างจากอำเภอทุ่งสง 7.5 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราช 58 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 120 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดตรัง ประมาณ 80 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดพัทลุงประมาณ 78 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดกระบี่ ประมาณ 140 กิโลเมตร
การเดินทางโดยรถยนต์
จากกรุงเทพมหานคร ถึงอำเภอทุ่งสง ระยะทางประมาณ 774 กิโลเมตร จากอำเภอทุ่งสงถึงอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 แยกซ้ายข้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงบริเวณน้ำตกโยง รวมระยะทางประมาณ 8.5 กิโลเมตร
การเดินทางโดยรถไฟ
จากกรุงเทพมหานครถึงอำเภอทุ่งสง ระยะทางประมาณ 775 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ค้นพบโดย
ไปเที่ยวกันมั้ย
0
มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราชที่ทอดตามแนวยาวเหนือใต้ ต่อเนื่องมาทางใต้ของเทือกเขาหลวง ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางตั้งแต่ 80 เมตร ถึง 1,307 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาเหมน เป็นยอดเขาแบ่งเขตการปกครองระหว่างตำบลนาบอน อำเภอนาบอน กับตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงตั้งอยู่บนคาบสมุทร ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมที่พัดผ่านทะเล ทั้งสองด้าน ฝนตกเกือบตลอดทั้งปี ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม มีอากาศค่อนข้างเย็น และฤดูร้อนจะอยู่ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 26 องศาเซลเซียส
พืชพรรณ
จากลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกเกือบตลอดปีและได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ความชื้นและปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงทำให้พืชพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นสังคมพืชป่าดงดิบชื้น (Tropical Rain Forest) และป่าดงดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ที่มีองค์ประกอบดังนี้
1. ป่าดงดิบชื้น (Tropical Rain Forest) หรือ (Tropical Evergreen Forest) เป็นพื้นที่ป่าที่มีสีเขียวตลอดปี สภาพป่ารกทึบทั้งในเรือนยอดของไม้ใหญ่ ไม้ชั้นกลางและชั้นไม้ล่าง ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ ของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป เช่น ยาง (Diterocarpus sp.) หลุมพอ(Intsia palembanica) ตะเคียนทอง (Hopea odorata) ไข่เขียว (Parashorea stellata) ตะเคียนทราย (Shorea gratissima) กระบากดำ (Shorea Ferinosa) กระบากขาว (Anisoptera coatata) เทพทาโร (Cinnanomum porrectum) แดงเขา (Eugenia rhomboidea) เสียดช่อ (Hertiera sumatrana) จำปีป่า (Michelia champaca)ยมป่า (Ailanthus triphysa) สุเหรียญ (Toona tebrifuga) สะตอ (Parkia speciosa) ประ (Elateriospermum tapos) คอแลน (Xerospemum intermedium) สำหรับพันธุ์ไม้พื้นล่างที่พบเช่น เต่าร้าง (Caryota obtusa) รวมทั้งหวายชนิดต่าง ๆ ในสกุล Calamus เช่น หวายหอม (Calamus javenris) หวายไม้เท้า (C. scipionum) หวายกำพวน (C. longisetus) สกุล Korthalsia เช่นหวายแดง (Korthalsia grandis) ไม้พื้นล่างและไม้อิงอาศัยอื่น ๆ ที่พบ เช่น ชายผ้าสีดา (Platycerium eoronarium) เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย (Asplenium nidus) ย่านลิเภาชนิดต่าง ๆ (Lygoduim spp.) นาคราช (Pavallia spp.) ลำเพย (Dimochlaena palustris) และกูดต้น (วงศ์ Cyatheaceae) เป็นต้น
2. ป่าดงดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ตามปกติเป็นพื้นที่ป่าที่ขึ้นอยู่เหนือระดับความสูง จากน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป แต่ที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงจะพบตรงที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 700 เมตร ขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่พบจะมีระดับเรือนยอดค่อนข้างสม่ำเสมอ เป็นชั้นเดียวกันตามลำต้นมีมอสและเฟิร์นเกาะอาศัยอยู่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไม้ในวงศ์ก่อ (Fagaceae) กุหลาบป่า (Ericaceae) ช่อไข่มุก (Vaccinium viscifolium) กำยาน (Styrax betongensis) ก่อเขา (Lithocarpus sp.) มังตาน (Scima wallichii) แดงเขา (Temstroemia wallichiana) ไม้พุ่มที่พบเป็นพวกตาเป็ดตาไก่ (Ardisia spp.) โคลงเคลง (Melastoma malabathricum) เนียม (Chloranthus spicatus) พืชคลุมดินส่วนใหญ่เป็นพวกมอสและเฟิร์น และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น รองเท้านารีพันธุ์คางกบใต้ Paphiopedilum Collosum (Rchb.f.) เป็นต้น
นอกจากนี้ในพื้นที่ที่ธรรมชาติเดิมบริเวณเชิงเขารอบแนวเขตอุทยาแห่งชาติและพื้นที่ที่ อยู่ใกล้เคียงหมุ่บ้านที่ธรรมชาติได้ถูกทำลายลงได้เกิดการฟื้นตัวของป่า เป็นสังคมพืชที่เกิดทดแทนสภาพป่าธรรมชาติเดิมประกอบด้วย พืชเบิกนำ (Pioneer species) ได้แก่ ปอหูช้าง (Macaranga gigantea) กะลอเกลี้ยง (M. denticulata) หล้อ (M. tanarius) พังแหรใหญ่ (Trema orientalis) สอยดาว (Mallotus paniculata) กะลอ (M. barbatus ) และกล้วยป่า (Musa acuminata Colla)
สำหรับทรัพยากรพืชปรากฏว่ามีพันธุ์ไม้หายากหลายชนิดที่ปรากฏพบที่อุทยานแห่งชาติ น้ำตกโยง เช่น
- ทังเก ( Magnolia elegans(Blume)H.Keng ) พบบริเวณป่าดิบชื้นลานหน้าน้ำตกโยงและบริเวณ ป่าดิบชื้นหลังห้องน้ำลานกางเต็นท์
- หงส์เหิน หรือขมิ้นคนธรรณ์ ( Hedychium khaomaenense Picheans. & Mokkamul )พบบริเวณ ยอดเขาเหมนและยอดเขารามโรม
- เปราะหินเขาเหมน (Caulokaempferia khaomaenensis) พบบริเวณยอดเขาเหมน
- รองเท้านารีพันธุ์คางกบใต้( Paphiopedilum sp.) พบบริเวณยอดเขาเหมน
- บัวแฉกใหญ่ ( Dipteris conjucata ) พบบริเวณยอดเขาเหมนและยอดเขารามโรม
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่บริเวณนี้ มีสัตว์ป่าที่สำคัญ เช่น สมเสร็จ เลียงผา หมีขอ อีเก้ง เม่น หมูป่า กระจง อีเห็น ชะมดและลิง เป็นต้น สัตว์จำพวกนก เช่น เหยี่ยวผึ้ง นกหว้า นกปรอด นกขมิ้น นกจาบคา นกบั้งรอก นกกินแมลง นกเปล้าและนกโพระดก เป็นต้น
สำหรับสัตว์ป่าปรากฏว่า มีพันธุ์สัตว์หายากหลายชนิด ที่ปรากฏพบที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง เช่น
- นกกางเขนน้ำหลังแดง (Enicurus ruficapillus Temminck,1823) พบบริเวณน้ำตกโยงน้อย
- ปลาตูหนา (Anguilla marmoratus Quay & Guimard, 1824) พบบริเวณลำธารน้ำตกโยง
- ปลามัด (Clarias batu) พบบริเวณลำธารน้ำตกโยงและบ้านไสโตน
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง อยู่ห่างจากอำเภอทุ่งสง 7.5 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราช 58 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 120 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดตรัง ประมาณ 80 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดพัทลุงประมาณ 78 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดกระบี่ ประมาณ 140 กิโลเมตร
การเดินทางโดยรถยนต์
จากกรุงเทพมหานคร ถึงอำเภอทุ่งสง ระยะทางประมาณ 774 กิโลเมตร จากอำเภอทุ่งสงถึงอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 แยกซ้ายข้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงบริเวณน้ำตกโยง รวมระยะทางประมาณ 8.5 กิโลเมตร
การเดินทางโดยรถไฟ
จากกรุงเทพมหานครถึงอำเภอทุ่งสง ระยะทางประมาณ 775 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร
กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้
STAMM Book
ไม่พบ STAMM Book
Review
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง จังหวัดนครศรีธรรมราช