เสาชิงช้า Guidebook เดินเมือง
0
กำลังได้รับความสนใจ
สถานที่น่าสนใจ 7 แห่ง

แผนที่

 เสาชิงช้า
เสาชิงช้า ศาสนาพราหมณ์มีความเกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มาก เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วจึงมีการสร้างโบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า ในอดีตเสาชิงช้าคือใจกลางเมืองกรุงเทพมหานครหรือเรียกว่า"สะดือเมือง" โดยถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ตั้งของเทวสถานและโบสถ์ ในศาสนาพราหมณ์ รวมทั้งเสาชิงช้าด้วย ทำให้ "เสาชิงช้า" กลายมาเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของกรุงเทพมหานครมาจนถึงปัจจุบัน โดยเสาชิงช้าที่ว่านี้ เป็นเสาไม้ขนาดใหญ่สีแดง ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ มีความสูง 21.15 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทาสีแดงชาด เสาชิงช้าในยุคก่อนใช้เป็นที่ประกอบพิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธี "ตรียัมปวาย ตรีปวาย" ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แต่สำหรับเสาชิงช้าที่ได้เห็นในปัจจุบันนั้นเป็นเสาต้นใหม่ ซึ่งได้จัดพิธีสมโภขน์ไปเมื่อวันที่ 11-13 กันยายน 2550 วัสดุหลักทำจากไม้สักทองจากเมืองแพร่ ปัจจุบันที่นี่กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ส่วนบริเวณใกล้เคียงกับเสาชิงช้า รวมถึงในเขตพระนครส่วนใหญ่ ยังคงสืบทอดสถาปัตยกรรมตามแบบช่วงต้นรัชกาลให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมกันเป็นขวัญตา ขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจาก : https://thai.tourismthailand.org/Attraction/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2
0
ศาลเจ้าพ่อเสือ
ศาลเจ้าพ่อเสือ ศาลเจ้าพ่อเสือ (เสาชิงช้า), ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ศาลเจ้าพ่อเสือ เป็นศาลเจ้าจีนเก่าแก่ซึ่งตั้งอยู่บนถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า "เจ้าพ่อเสือ" (เทพเจ้าใหญ่) โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้, รูปเจ้าพ่อเสือ, รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม ว่ากันว่าศาลเจ้าพ่อเสือตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้ขยายถนนบำรุงเมือง ได้โปรดให้ย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่งถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน
0
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปหล่อลอยตัว ประกอบด้วยรูปเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบ มีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ย ๆ กั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอก ฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมา เป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน[5] โดยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ภายในอนุสาวรีย์ประกอบด้วย:[5][4] ปีก 4 ด้าน สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พานทูนฉบับรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อม กลางตัวอนุสาวรีย์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยนั้น และหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ) ปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ. 2475) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง 4 เน้นถึงเรื่องราวการดำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกันก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระขรรค์ 6 เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร อ่างตรงฐานปีกทั้ง 4 ด้านเป็นรูปงูใหญ่ หมายถึง ปีที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นปีมะโรง หรือ ปีงูใหญ่
0
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ (Rattanakosin Exhibition Hall) "นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่เข้าสู่เขตพระราชธานี เมื่อครั้งในอดีตเปรียบได้กับการเป็นประตูสู่กรุงรัตนโกสินทร์ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จึงพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ภายใต้ชื่อ""นิทรรศน์รัตนโกสินทร์"" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และแหล่งรวบรวมข้อมูลเรื่องประวัติศาสตร์ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ นำเสนอผ่านเทคโนโลยีทันสมัยหลากหลายรูปแบบ "The conceptual idea to express the exhibition of history, art, and culture is the key for visitors to feel and sense of its value. The important target group of visitors is youth, and that is the toughest quest of how to learn all of these effectively. Since the learning of history is the most boring topic for the youth or even others, that is the reason why the need for modern technology in exhibitions is important. A new technology in collecting knowledge for the youth to learn history, art, and culture, will make them interested, ease of understand, and create proud of Thailand for the next generations.
0

Your STAMM Book

มาสะสม STAMM เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวดีๆ ระหว่างทางกัน

เสาชิงช้า

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดเทพมณเฑียร

ศาลเจ้าพ่อเสือ

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

ตรอกหม้อ

เดินเปิดโลกย่านเสาชิงช้า ย่านที่คิดถึงเรื่องของร้านอาหารก็มีเต็มตลอดข้างทาง แต่ละร้านคือมีความคลาสสิคหน่อยๆ เพราะเปิดมานาน ตกแต่งร้านฟิลลิ่งเหมือนย่านเมืองกรุงสมัยก่อน ส่วนรอบ ๆ วงเวียนเสาชิงช้าก็มีทั้งวัดพุทธ วัดแขกที่เป็นจุดไฮไลท์ที่เรียกได้เลยว่า นักท่องเที่ยวชอบมากที่สุด หรือจะเดินทะลุไปฝั่งศาลเจ้าก็มีร้านอาหารดัง ๆ แถมมีร้านของหวานที่คนเยอะที่สุด และรอนานที่สุด อย่าลืมที่จะออกไปหาของกินอร่อย ๆ กันนะ แอบกระซิบเลยว่าถ้ามาช่วงเย็นถึงค่ำไฟตลอด2ข้างทาง สวยมาก

เสาชิงช้า

เสาชิงช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร

แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี

 เสาชิงช้า
เสาชิงช้า ศาสนาพราหมณ์มีความเกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มาก เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วจึงมีการสร้างโบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า ในอดีตเสาชิงช้าคือใจกลางเมืองกรุงเทพมหานครหรือเรียกว่า"สะดือเมือง" โดยถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ตั้งของเทวสถานและโบสถ์ ในศาสนาพราหมณ์ รวมทั้งเสาชิงช้าด้วย ทำให้ "เสาชิงช้า" กลายมาเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของกรุงเทพมหานครมาจนถึงปัจจุบัน โดยเสาชิงช้าที่ว่านี้ เป็นเสาไม้ขนาดใหญ่สีแดง ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ มีความสูง 21.15 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทาสีแดงชาด เสาชิงช้าในยุคก่อนใช้เป็นที่ประกอบพิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธี "ตรียัมปวาย ตรีปวาย" ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แต่สำหรับเสาชิงช้าที่ได้เห็นในปัจจุบันนั้นเป็นเสาต้นใหม่ ซึ่งได้จัดพิธีสมโภขน์ไปเมื่อวันที่ 11-13 กันยายน 2550 วัสดุหลักทำจากไม้สักทองจากเมืองแพร่ ปัจจุบันที่นี่กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ส่วนบริเวณใกล้เคียงกับเสาชิงช้า รวมถึงในเขตพระนครส่วนใหญ่ ยังคงสืบทอดสถาปัตยกรรมตามแบบช่วงต้นรัชกาลให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมกันเป็นขวัญตา ขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจาก : https://thai.tourismthailand.org/Attraction/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2
0
วัดสุทัศนเทพวราราม

วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวัด

วัดเทพมณเฑียร

วัดเทพมณเฑียร ศูนย์รวมจิตใจของชาวฮินดูในเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่มีเทพ-เทพีศักดิ์สิทธิ์ของฮินดูหลากหลายองค์ โดยผู้คนต่างยกย่องศรัทธา นิยมไปกราบไหว้สร้างกำลังใจให้ตัวเอง และอธิษฐานขอพรให้ชีวิตมีความสุขสมดังหวัง โดยเฉพาะเรื่อง ความรัก และเนื้อคู่ kapook

ศาลเจ้าพ่อเสือ

ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า มีอีกชื่อเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อเสือพระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนตะนาว แต่เดิมอยู่ที่ถนนบำรุงเมือง มีประวัติความเป็นมาว่าสร้างตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนบำรุงเมือง ก็ย้ายศาลเจ้าพ่อเสือมาที่ทางสามแพร่งถนนตะนาวนี้ด้วย ที่นี่เป็นศาลเจ้าจีนแต้จิ๋วที่มีอายุเก่าแก่นับร้อยปี และเป็นสถานที่ขอพรแก้ปีชงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ โดยผู้ที่เกิดปีขาล (ปีเสือ) จะมาไหว้เพื่อเสริมดวง เสริมบารมี และยังเป็นที่สำหรับสะเดาะเคราะห์แก้ปีชงสำหรับผู้ที่เกิดปีวอก (ปีลิง) อีกด้วย kapook

ศาลเจ้าพ่อเสือ
ศาลเจ้าพ่อเสือ ศาลเจ้าพ่อเสือ (เสาชิงช้า), ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ศาลเจ้าพ่อเสือ เป็นศาลเจ้าจีนเก่าแก่ซึ่งตั้งอยู่บนถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า "เจ้าพ่อเสือ" (เทพเจ้าใหญ่) โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้, รูปเจ้าพ่อเสือ, รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม ว่ากันว่าศาลเจ้าพ่อเสือตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้ขยายถนนบำรุงเมือง ได้โปรดให้ย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่งถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน
0
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นหลักกิโลเมตรศูนย์ ที่ซึ่งเป็นอ้างอิงในการวัดระยะทางจากกรุงเทพมหานคร

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปหล่อลอยตัว ประกอบด้วยรูปเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบ มีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ย ๆ กั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอก ฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมา เป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน[5] โดยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ภายในอนุสาวรีย์ประกอบด้วย:[5][4] ปีก 4 ด้าน สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พานทูนฉบับรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อม กลางตัวอนุสาวรีย์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยนั้น และหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ) ปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ. 2475) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง 4 เน้นถึงเรื่องราวการดำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกันก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระขรรค์ 6 เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร อ่างตรงฐานปีกทั้ง 4 ด้านเป็นรูปงูใหญ่ หมายถึง ปีที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นปีมะโรง หรือ ปีงูใหญ่
0
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เป็นอาคาร 4 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับวัดราชนัดดาราม จัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ได้นำเสนอเรื่องราวด้านต่างๆ แห่งยุครัตนโกสินทร์ ผ่านห้องจัดแสดง ซึ่งตั้งชื่อไว้อย่างคล้องจองกัน

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ (Rattanakosin Exhibition Hall) "นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่เข้าสู่เขตพระราชธานี เมื่อครั้งในอดีตเปรียบได้กับการเป็นประตูสู่กรุงรัตนโกสินทร์ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จึงพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ภายใต้ชื่อ""นิทรรศน์รัตนโกสินทร์"" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และแหล่งรวบรวมข้อมูลเรื่องประวัติศาสตร์ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ นำเสนอผ่านเทคโนโลยีทันสมัยหลากหลายรูปแบบ "The conceptual idea to express the exhibition of history, art, and culture is the key for visitors to feel and sense of its value. The important target group of visitors is youth, and that is the toughest quest of how to learn all of these effectively. Since the learning of history is the most boring topic for the youth or even others, that is the reason why the need for modern technology in exhibitions is important. A new technology in collecting knowledge for the youth to learn history, art, and culture, will make them interested, ease of understand, and create proud of Thailand for the next generations.
0
ตลาดตรอกหม้อ

ตลาดตรอกหม้อ หรือ ตลาดเทศา มีชื่อทางการว่า ชุมชนราชบพิธพัฒนา เป็นชุมชนและตลาดสดในกรุงเทพ ถือเป็นหนึ่งในตลาดที่คึกคักและเก่าแก่ที่สุด ตั้งอยู่ในแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร หรือเกาะรัตนโกสินทร์ ย่านเมืองเก่าของกรุงเทพ ตลาดนี้ถือเป็นหนึ่งในตลาดสดในกรุงเทพส่วนในร่วมกับปากคลองตลาดและตลาดท่าเตียน ตลาดนี้ตั้งอยู่ริมซอยเทศา ติดกับถนนราชบพิธ ใกล้วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และเชื่อมกับถนนบำรุงเมืองในพื้นที่ใกล้เสาชิงช้าและวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารกับศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

เสาชิงช้า Guidebook เดินเมือง

เดินเปิดโลกย่านเสาชิงช้า ย่านที่คิดถึงเรื่องของร้านอาหารก็มีเต็มตลอดข้างทาง แต่ละร้านคือมีความคลาสสิคหน่อยๆ เพราะเปิดมานาน ตกแต่งร้านฟิลลิ่งเหมือนย่านเมืองกรุงสมัยก่อน ส่วนรอบ ๆ วงเวียนเสาชิงช้าก็มีทั้งวัดพุทธ วัดแขกที่เป็นจุดไฮไลท์ที่เรียกได้เลยว่า นักท่องเที่ยวชอบมากที่สุด หรือจะเดินทะลุไปฝั่งศาลเจ้าก็มีร้านอาหารดัง ๆ แถมมีร้านของหวานที่คนเยอะที่สุด และรอนานที่สุด อย่าลืมที่จะออกไปหาของกินอร่อย ๆ กันนะ แอบกระซิบเลยว่าถ้ามาช่วงเย็นถึงค่ำไฟตลอด2ข้างทาง สวยมาก