บางลำพู Guidebook เดินเมือง
0
กำลังได้รับความสนใจ
สถานที่น่าสนใจ 22 แห่ง

แผนที่

ป้อมพระสุเมรุ
ป้อมพระสุเมรุ ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ ป้อมพระสุเมรุซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 มีลักษณะสวยงามและเป็นประโยชน์ใช้สอยมากมาย มีเชิงเทิน ช่องยิงปืน ห้องเก็บกระสุนดินดำ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา จนถึง พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะตามรูปแบบเดิมจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 จนแลดูสง่างามเหมือนเดิม และยังปรับปรุงบริเวณโดยรอบให้เป็นสวนสาธารณะอีกด้วย โดยให้ชื่อว่า "สวนสันติชัยปราการ" มีพลับพลา ชื่อว่า "พระที่นั่งสันติชัยปราการ" ชุมชนโดยรอบป้อมพระสุเมรุ คือชุมชนถนนพระอาทิตย์ มีความเข้มแข็งด้านการมีส่วนร่วมสูงเช่นเดียวกับชุมชนป้อมมหากาฬ แต่มีความหลากหลายสูงกว่า ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2326 มีชาวเขมร 10,000 คน มาขุดคลองเชื่อมระหว่างคลองบางลำภูกับคลองโอ่งอ่าง จนจรดต่อกันเกิดเป็นคลองรอบกรุง[1]
0
สวน 15 นาที เขตพระนคร
สวน 15 นาที เขตพระนคร สวน 15 นาที หนึ่งในนโยบายผู้ว่าฯ กทม. สู่ Samsen Pocket Park สวนเพื่อทุกคน🌳🌳🌳 วันนี้ (1มิ.ย.67) นายโกศล สิงหนาท ผู้อำนวยการเขตพระนคร ได้ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงสวน 15 นาที บริเวณซอยสามเสน 4 ซึ่งสำนักงานเขตพระนคร ร่วมกับ ผู้ประกอบการ และชุมชนในย่าน ช่วยกันลงแรง ลงทุน ในการที่จะพัฒนา ปรับปรุงพื้นที่ สร้างสรรค์ผลงานให้เกิดขึ้น . ทั้งนี้ สวน 15 นาที เป็นนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการเพิ่มจำนวนพื้นที่สวนสาธารณะทั่วกรุง ให้ได้อย่างน้อย 10 ตารางเมตรต่อคน รวมถึงประชาชนสามารถเข้าถึงได้ภายใน 15 นาที หรือประมาณ 800 เมตร โดยมอบหมายให้ทุกสำนักงานเขตมองหาพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นสวน 15 นาที 🌳 และที่นี่ สวน 15 นาที บริเวณซอยสามเสน 4 เขตพระนคร เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของสำนักงานเขตพระนคร ที่พัฒนาขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพระนครได้ระดมความคิด พร้อมเชิญชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แชร์ไอเดีย จนเกิดเป็นสวน 15 นาที ชื่อว่า "Samsen Pocket Park" แห่งนี้ . นอกจากนี้ ในส่วนของภาพสตรีทอาร์ต สวยๆ สำนักงานเขตพระนครได้ประสาน ขอความร่วมมือจากศิลปินทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมไปถึงข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพระนคร อาทิ โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม โรงเรียนวัดราชนัดดา เป็นต้น มาช่วยแต่งแต้มเติมสี ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนสีจาก "สี สเปรย์ HYPE" และเงินสนับสนุนจาก "SAMSEN STREET HOTEL" . สวน 15 นาที "Samsen Pocket Park" เขต🤝ชุมชน ร่วมคิด🫶ร่วมสร้าง เพื่อให้ชุมชนได้มีที่พักผ่อน ออกกำลังกาย เพื่อประโยชน์ของทุกคน ❤️
0
ตึกแถวถนนตะนาว
ตึกแถวถนนตะนาว ตึกแถวถนนตะนาว ตั้งอยู่บริเวณถนนตะนาวตั้งแต่ถนนสิบสามห้าง วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ผ่านสี่แยกคอกวัวถนนราชดำเนิน จนถึงแยกสี่กั๊กเสาชิงช้า ตัดกับถนนบำรุงเมือง เมื่อแรกตัดถนนเฟื่องนครในสมัยรัชกาลที่ 5 มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่กำแพงพระนครทิศใต้ที่มุมวังกรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นถนนขวางผ่านบ้านหม้อและถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมืองไปจบวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถึงกำแพงพระนครด้านทิศเหนือ ซึ่งรวมเอาถนนตะนาวในปัจจุบันด้วย ในรัชกาลนั้นโปรดให้สร้างตึกแถวริมถนนดังกล่าว อุทิศเป็นสมบัติของวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดราชประดิษฐ์ ตึกดังกล่าวเป็นตึกชั้นเดียวถ่ายแบบมาจากตึกของประเทศสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันตึกแถวที่คงอยู่นั้นเป็นตึกแถว 2 ชั้น เข้าใจว่ามาสร้างขึ้นภายหลังรัชกาลที่ 5 โดยดูจากลักษณะสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกที่นิยมอย่างแพร่หลายในรัชกาลที่ 5 ซึ่งก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น การรับอิทธิพลศิลปะตะวันตกมาตกแต่งอาคารหรือรูปทรงมีแต่เฉพาะวังเจ้านาย และบ้านคหบดีเท่านั้น บ้านเรือนคนธรรมดาหรือบ้านแถวที่เกิดขึ้นนั้นเลียนแบบอิทธิพลของศิลปะแบบจีนมากกว่า ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ตึกแถวสองข้างริมถนนตะนาวมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ แต่มีเพียงบางส่วนที่มีการตกแต่งที่แปลกออกไป อาจจะแยกตึกแถวริมถนนตะนาวนี้ออกเป็น 3 บริเวณ คือ ตึกแถวบริเวณบางลำพู บริเวณหน้าวัดมหรรณพาราม บริเวณศาลเจ้าพ่อเสือลงไปทางทิศใต้จนถึงสี่กั๊กพระยาศรี ตึกแถวบริเวณถนนตะนาวช่วงบางลำพู อาคารเป็นตึก 2 ชั้น หลังคามุมกระเบื้องว่าวมีขอบสัน หลังคาอาคารชั้นล่างเปลี่ยนจากสภาพเดิม แต่ข้างหน้ายังคงเป็นบานประตูไม้แบบบานเฟี้ยมและเคยมีชายคาปูคลุมทางเดิน ชั้นบนยังคงสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ละคูหามีบานหน้าต่าง 2 ช่อง เป็นบานไม้แบบลูกฟักกระดานดุน ช่องแสงเหนือขอบบนของหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลาย หน้าต่างแต่ละบานมีกันสาดติดไม้ฉลุลายที่ปลายมีเสาหลอกปูนปั้นทรงสี่เหลี่ยมไม่มีหัวเสา เซาะร่องตามแนวนอนคั่นแต่ละคูหา ตึกแถวริมถนนตะนาวบริเวณวัดมหรรณพาราม อาคารมีลักษณะใกล้เคียงกับตึกแถวบริเวณบางลำพู แตกต่างเป็นบางส่วนคือ ช่องหน้าต่างชั้นบนมีช่องแสงเป็นบานเกล็ดไม้แทนช่องฉลุลายและไม่มีกันสาด ผนังชั้นบนเรียบไม่มีเสาฝาผนัง ส่วนชั้นล่างมีชายคาปูนเป็นกันสาดคลุมทางเท้ายาวไปตลอดแนวอาคาร ตึกแถวบริเวณศาลเจ้าพ่อเสือ ลงไปทางทิศใต้จนถึงสี่กั๊กพระยาศรี ตึกแถวบริเวณนี้ก็คล้ายคลึงกับที่ได้กล่าวมาแล้ว มีเพียงช่องหนึ่งที่มีการประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นแปลกออกไป คือตึกแถวช่องนี้จะอยู่เยื้องกับปากทางเข้าถนนแพร่งภูธร เป็นตึกแถว 2 ชั้น จำนวน 6 คูหา หลังคามุมกระเบื้องว่าว ชั้นล่างเปิดเป็นร้านค้าชั้นบนเป็นช่องหน้าต่างไม้แบบกระทุ้ง ช่องกลางติดกระจกผนังถัดจากช่องแสงเป็นปูนปั้นลายใบไม้ หน้าต่างแต่ละช่องมีเสาหลอกสี่เหลี่ยมไม่มีหัวเสาคั่นเป็นระยะ
0
หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร
หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร “หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร” เป็น ๑ ใน ๙ พันธกิจ ของกรุงเทพมหานครที่ได้รับการคัดเลือกจาก องค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็น “เมืองหนังสือโลก ประจำปี ๒๕๕๖” (Bangkok World Book Capital 2013) โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดและนโยบายของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่จะผลักดันให้เมืองหลวงของประเทศไทย เป็น “มหานครแห่งการเรียนรู้” และเพื่อเพิ่มแหล่งการเรียนรู้แห่งใหม่ที่รวบรวมองค์ความรู้อันทรงคุณค่า และแหล่งภูมิปัญญา ด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่ทันสมัยครบวงจร โดยหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Library) จะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมไปถึงความเป็นมาของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
0
วังบางขุนพรหม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
วังบางขุนพรหม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุลบริพัตร และ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดา วังบางขุนพรหมอยู่ในเนื้อที่ 33 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศใต้ของวังเทวะเวสม์ วังบางขุนพรหม มีตำหนักรวม 2 ตำหนัก ได้แก่ ตำหนักใหญ่ และตำหนักสมเด็จ โดยตำหนักใหญ่ ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยการออกแบบของคาร์ล ซันเดรสกี สถาปนิกชาวเยอรมัน แต่ไม่แล้วเสร็จ จึงได้มารีโอ ตามัญโญ สถาปนิกที่มีชื่อเสียงชาวอิตาลี มาดำเนินการออกแบบจนแล้วเสร็จ ส่วนตำหนักสมเด็จ เป็นตำหนักที่เพิ่มเติมติดกับตำหนักใหญ่ ได้รับการออกแบบโดยคาร์ล เดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2454 ภายหลังสร้างแล้วเสร็จได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี จนถึงปี พ.ศ. 2470 จนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 วังแห่งนี้ได้ตกเป็นของรัฐบาล กลายเป็นสถานที่ราชการต่างๆ ทั้ง กรมยุวชนทหารบก สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และตั้งแต่ พ.ศ. 2488 จนถึงปัจจุบัน วังบางขุนพรหม เป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย[3] ภายในวังบางขุนพรหมมี ห้องสีชมพู และห้องสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นห้องที่ได้รับการตกแต่งอย่างหรูหรา วิจิตร และมีชื่อเสียงที่สุด เดิมเป็นห้องรับแขกสำคัญ และบำเพ็ญพระกุศลของวังบางขุนพรหม ปัจจุบันจัดแสดง ภาพเขียน ภาพถ่ายเจ้านายในราชสกุลบริพัตร สิ่งของ เครื่องใช้ในวังบางขุนพรหม เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต[4] ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมตามแบบตะวันตกทั้ง นีโอ-บารอก โรโกโก อาร์นูโว และ อาร์ตเดโค ทำให้วังบางขุนพรหม ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในวังที่สวยที่สุดเมืองไทย[5] และเป็นวังที่สถาปัตยกรรมบารอกและโรโคโค ที่สมบูรณ์ที่สุด
0
วัดสังเวชวิศยาราม
วัดสังเวชวิศยาราม "วัดสังเวชวิศยาราม” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไปว่า "วัดสังเวชฯ” เป็นวัดเก่าสำคัญแห่งหนึ่งของย่านบางลำพูที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของชุมชนในย่านนี้และประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสร้างกรุงเทพฯ เดิมเรียกว่า "วัดสามจีน” หรือ "วัดบางลำพู” ตั้งอยู่ริมคลองบางลำพู หรือคูพระนครเดิม ปัจจุบันได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ภายในวัดมีอาคารและสิ่งก่อสร้างสำคัญหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมในพุทธศาสนา เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ หอระฆัง หอไตร เป็นต้น และเป็นสถาปัตยกรรมที่พบได้ทั่วไปในพุทธสถานของไทย ซึ่งเจดีย์ที่พบในวัดแห่งนี้ มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ซึ่งสามารถพบเจดีย์ในลักษณะนี้แห่งเดียวในย่านบางลำพู แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับลักษณะรูปแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงนับว่าเป็นศาสนสถานที่ทรงคุณค่าและควรค่าแก่การดูแลรักษาให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยอีกแห่งหนึ่งของชุมชนในย่านบางลำพู
0
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (อังกฤษ: The National Gallery) หรือ หอศิลป์เจ้าฟ้า เป็นหอศิลป์และเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของประเทศไทย ตั้งอยู่ข้างสะพานพระปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารที่เดิมเคยเป็นโรงกษาปณ์ ออกแบบโดยนายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) สถาปนิกชาวอิตาลี วัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวม และจัดแสดงผลงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ ตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับศิลปะไทยประเพณีและร่วมสมัย ภายในจัดแสดงภาพศิลปะไทยจนถึงการถ่ายภาพบุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รวมถึงผลงานร่วมสมัย ศิลปะจัดแสดงที่สำคัญ ได้แก่ พระบฏวัดดอกเงิน รูปแบบศิลปะสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 พบในกรุเจดีย์วัดดอกเงิน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จากการขุดสำรวจแหล่งโบราณคดีพื้นที่น้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนภูมิพลเมื่อ พ.ศ. 2502 พบครั้งแรกในสภาพถูกม้วนกลมใส่ในหม้อดินร่วมกัยพระพุทธรูปและของมีค่าต่าง ๆ[1] ภายในพิพิธภัณฑ์ยังมีแบบร่างปฐมบรมราชานุสรณ์ ผลงานของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี
0

Your STAMM Book

มาสะสม STAMM เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวดีๆ ระหว่างทางกัน

ตลาดบางลำพู

วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

พิพิธบางลำพู

ป้อมพระสุเมรุ

ถนนข้าวสาร

สวน 15 นาที เขตพระนคร

ตึกแถวถนนตะนาว

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

วัดสามพระยาวรวิหาร

เดอะสามเสนสตรีท

วังบางขุนพรหม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

วัดสังเวชวิศยาราม

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์

PTT Art Gallery ณ บ้านเจ้าพระยา

สวนสันติชัยปราการ

กำแพงพระนคร

ปาท่องโก๋คาเฟ่

Bite Me Softly

บ้านขนมปังขิง เสาชิงช้า (The Gingerbread House)

Freddie Ricecurry เฟรดดี้ ข้าวแกงกะหรี่ สาขาป้อมพระสุเมรุ

Konnichipan Bakery

เดินท่องบางลำพู ย่านที่มีเสน่ห์ทั้งแหล่งการค้า และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เรียนรู้อดีตจากสถานที่ที่มีความเพลิดเพลินเดินเข้าตามตรอก ออกตามซอยไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ บางลำพูยังโดดเด่นในเรื่องอาหารการกิน ทั้งสตรีทฟู้ดเดินกิน หรือตลาดเก่าที่มีของกินอร่อยมากมาย ทานอาหารขึ้นชื่อคลายร้อนแล้ว ยังมีเวิร์กชอปงานฝีมือท้องถิ่นให้แวะชมแวะทำกันด้วย ไปดูกันเลยว่าย่านนี้มีอะไรบ้าง

ตลาดบางลำพู

เดินเล่น ตลาดยอด บางลำพู ตลาดเช้าในย่านเมืองเก่า ถ้ามาย่านบางลำพูตอนเช้าๆ เดินมาในซอยที่เป็นตึกจอดรถ ก็จะพบกับตลาดเก่าอย่าง #ตลาดยอด ซึ่งในอดีตเคยเป็นตลาดที่คึกคักมาก มีของสด ผักผลไม้ต่างๆ และของกินวางขายมากมาย ปัจจุบันอาจจะมีร้านไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังมีหลายร้านค้าให้ได้เลือกจับจ่ายใช้สอย มีทั้งผักผลไม้สด เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ของกินก็มีเยอะ ทั้งร้านโจ๊ก ร้านข้าวแกง ร้านกาแฟ หมูปิ้ง สตรีทฟู้ดมาเพียบ ในช่วงบ่ายก็จะมีร้านอาหารและร้านขายเสื้อผ้ามาตั้งเรียงรายยาวไปจนสุดถนน


ขอบคุณข้อมูลจาก : Maeban - แม่บ้าน

วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหารราชวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และเป็นวัดประจำ 2 รัชกาลของกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่ระหว่าง ถนนตะนาว และ ถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อ วัดใหม่ ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดรังษีสุทธาวาส แต่แล้วก็ได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกันโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ใน รัชกาลที่ 3 และมีการทำนุบำรุง บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมาจนถึงสมัย สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงมาประทับ และก่อตั้ง คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ขึ้น รวมถึงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างเสริมถาวรวัตถุไว้มากมาย


Facebook : วัดบวรนิเวศวิหาร

ขอบคุณข้อมูลจาก : travel.trueid

พิพิธบางลำพู

พิพิธบางลำพู เป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชน โดยกรมธนารักษ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๘


Facebook : พิพิธบางลำพู

ขอบคุณข้อมูลจาก : museumthailand

ป้อมพระสุเมรุ

ป้อมพระสุเมรุ ตั้งอยู่บน ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยเป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยของรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ซึ่งเป็นหนึ่งใน14 ป้อมปราการ ที่สร้างพร้อมกับกำแพงพระนคร มีความสำคัญในการเป็นแนวปราการป้องกันพระนคร และเป็นหนึ่งในสองป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบันนั่นเองค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : travel.trueid

ป้อมพระสุเมรุ
ป้อมพระสุเมรุ ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ ป้อมพระสุเมรุซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 มีลักษณะสวยงามและเป็นประโยชน์ใช้สอยมากมาย มีเชิงเทิน ช่องยิงปืน ห้องเก็บกระสุนดินดำ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา จนถึง พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะตามรูปแบบเดิมจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 จนแลดูสง่างามเหมือนเดิม และยังปรับปรุงบริเวณโดยรอบให้เป็นสวนสาธารณะอีกด้วย โดยให้ชื่อว่า "สวนสันติชัยปราการ" มีพลับพลา ชื่อว่า "พระที่นั่งสันติชัยปราการ" ชุมชนโดยรอบป้อมพระสุเมรุ คือชุมชนถนนพระอาทิตย์ มีความเข้มแข็งด้านการมีส่วนร่วมสูงเช่นเดียวกับชุมชนป้อมมหากาฬ แต่มีความหลากหลายสูงกว่า ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2326 มีชาวเขมร 10,000 คน มาขุดคลองเชื่อมระหว่างคลองบางลำภูกับคลองโอ่งอ่าง จนจรดต่อกันเกิดเป็นคลองรอบกรุง[1]
0
ถนนข้าวสาร

ถนนข้าวสาร นั้นคึกคักตลอดทั้งวันและทั้งคืน โดยเฉพาะช่วงกลางคืนที่ถนนทั้งสายจะปะดับประดาไปด้วยแสงไฟจากป้ายของร้านรวงต่างๆ นอกจากนี้ยังมีเสียงดนตรีจากผับบาร์คอยบรรเลงสร้างสีสันให้ผู้คนที่มาเที่ยวอยู่ตลอด สถานบันเทิงส่วนใหญ่ในถนนข้าวสารก็มีทั้งผับ บาร์ และร้านอาหารทั่วไป แต่ละร้านก็มีสไตล์ที่แตกต่างกันทั้งดนตรี อาหาร และเครื่องดื่ม


ขอบคุณข้อมูลจาก : agoda

สวน 15 นาที เขตพระนคร

วันนี้ (1มิ.ย.67) นายโกศล สิงหนาท ผู้อำนวยการเขตพระนคร ได้ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงสวน 15 นาที บริเวณซอยสามเสน 4 ซึ่งสำนักงานเขตพระนคร ร่วมกับ ผู้ประกอบการ และชุมชนในย่าน ช่วยกันลงแรง ลงทุน ในการที่จะพัฒนา ปรับปรุงพื้นที่ สร้างสรรค์ผลงานให้เกิดขึ้น


ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานเขตพระนคร

สวน 15 นาที เขตพระนคร
สวน 15 นาที เขตพระนคร สวน 15 นาที หนึ่งในนโยบายผู้ว่าฯ กทม. สู่ Samsen Pocket Park สวนเพื่อทุกคน🌳🌳🌳 วันนี้ (1มิ.ย.67) นายโกศล สิงหนาท ผู้อำนวยการเขตพระนคร ได้ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงสวน 15 นาที บริเวณซอยสามเสน 4 ซึ่งสำนักงานเขตพระนคร ร่วมกับ ผู้ประกอบการ และชุมชนในย่าน ช่วยกันลงแรง ลงทุน ในการที่จะพัฒนา ปรับปรุงพื้นที่ สร้างสรรค์ผลงานให้เกิดขึ้น . ทั้งนี้ สวน 15 นาที เป็นนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการเพิ่มจำนวนพื้นที่สวนสาธารณะทั่วกรุง ให้ได้อย่างน้อย 10 ตารางเมตรต่อคน รวมถึงประชาชนสามารถเข้าถึงได้ภายใน 15 นาที หรือประมาณ 800 เมตร โดยมอบหมายให้ทุกสำนักงานเขตมองหาพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นสวน 15 นาที 🌳 และที่นี่ สวน 15 นาที บริเวณซอยสามเสน 4 เขตพระนคร เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของสำนักงานเขตพระนคร ที่พัฒนาขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพระนครได้ระดมความคิด พร้อมเชิญชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แชร์ไอเดีย จนเกิดเป็นสวน 15 นาที ชื่อว่า "Samsen Pocket Park" แห่งนี้ . นอกจากนี้ ในส่วนของภาพสตรีทอาร์ต สวยๆ สำนักงานเขตพระนครได้ประสาน ขอความร่วมมือจากศิลปินทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมไปถึงข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพระนคร อาทิ โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม โรงเรียนวัดราชนัดดา เป็นต้น มาช่วยแต่งแต้มเติมสี ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนสีจาก "สี สเปรย์ HYPE" และเงินสนับสนุนจาก "SAMSEN STREET HOTEL" . สวน 15 นาที "Samsen Pocket Park" เขต🤝ชุมชน ร่วมคิด🫶ร่วมสร้าง เพื่อให้ชุมชนได้มีที่พักผ่อน ออกกำลังกาย เพื่อประโยชน์ของทุกคน ❤️
0
ตึกแถวถนนตะนาว

ถนนตะนาวในภาพจำของหลายคนจะเป็น ‘ศาลเจ้าพ่อเสือ’ สัญลักษณ์คู่ย่าน ที่มีผู้คนจากทั่วถิ่นเดินทางมาไหว้กันคึกคัก พิสูจน์ได้จากจำนวนคนและควันธูปที่คลุ้งไปทั่วบริเวณศาลทุกเทศกาลทั้งตรุษ สารท หรือหากย้อนไปให้ไกลกว่านี้ วัดมหรรณพารามวรวิหาร และโรงเรียนวัดมหรรณพ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนประถมแห่งแรกของประเทศ’ ก็น่าจะเป็นอีกหมุดหมายสำคัญที่คนเก่าคนแก่นึกถึง


ขอบคุณข้อมูลจาก : urbancreature

ตึกแถวถนนตะนาว
ตึกแถวถนนตะนาว ตึกแถวถนนตะนาว ตั้งอยู่บริเวณถนนตะนาวตั้งแต่ถนนสิบสามห้าง วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ผ่านสี่แยกคอกวัวถนนราชดำเนิน จนถึงแยกสี่กั๊กเสาชิงช้า ตัดกับถนนบำรุงเมือง เมื่อแรกตัดถนนเฟื่องนครในสมัยรัชกาลที่ 5 มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่กำแพงพระนครทิศใต้ที่มุมวังกรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นถนนขวางผ่านบ้านหม้อและถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมืองไปจบวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถึงกำแพงพระนครด้านทิศเหนือ ซึ่งรวมเอาถนนตะนาวในปัจจุบันด้วย ในรัชกาลนั้นโปรดให้สร้างตึกแถวริมถนนดังกล่าว อุทิศเป็นสมบัติของวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดราชประดิษฐ์ ตึกดังกล่าวเป็นตึกชั้นเดียวถ่ายแบบมาจากตึกของประเทศสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันตึกแถวที่คงอยู่นั้นเป็นตึกแถว 2 ชั้น เข้าใจว่ามาสร้างขึ้นภายหลังรัชกาลที่ 5 โดยดูจากลักษณะสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกที่นิยมอย่างแพร่หลายในรัชกาลที่ 5 ซึ่งก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น การรับอิทธิพลศิลปะตะวันตกมาตกแต่งอาคารหรือรูปทรงมีแต่เฉพาะวังเจ้านาย และบ้านคหบดีเท่านั้น บ้านเรือนคนธรรมดาหรือบ้านแถวที่เกิดขึ้นนั้นเลียนแบบอิทธิพลของศิลปะแบบจีนมากกว่า ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ตึกแถวสองข้างริมถนนตะนาวมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ แต่มีเพียงบางส่วนที่มีการตกแต่งที่แปลกออกไป อาจจะแยกตึกแถวริมถนนตะนาวนี้ออกเป็น 3 บริเวณ คือ ตึกแถวบริเวณบางลำพู บริเวณหน้าวัดมหรรณพาราม บริเวณศาลเจ้าพ่อเสือลงไปทางทิศใต้จนถึงสี่กั๊กพระยาศรี ตึกแถวบริเวณถนนตะนาวช่วงบางลำพู อาคารเป็นตึก 2 ชั้น หลังคามุมกระเบื้องว่าวมีขอบสัน หลังคาอาคารชั้นล่างเปลี่ยนจากสภาพเดิม แต่ข้างหน้ายังคงเป็นบานประตูไม้แบบบานเฟี้ยมและเคยมีชายคาปูคลุมทางเดิน ชั้นบนยังคงสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ละคูหามีบานหน้าต่าง 2 ช่อง เป็นบานไม้แบบลูกฟักกระดานดุน ช่องแสงเหนือขอบบนของหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลาย หน้าต่างแต่ละบานมีกันสาดติดไม้ฉลุลายที่ปลายมีเสาหลอกปูนปั้นทรงสี่เหลี่ยมไม่มีหัวเสา เซาะร่องตามแนวนอนคั่นแต่ละคูหา ตึกแถวริมถนนตะนาวบริเวณวัดมหรรณพาราม อาคารมีลักษณะใกล้เคียงกับตึกแถวบริเวณบางลำพู แตกต่างเป็นบางส่วนคือ ช่องหน้าต่างชั้นบนมีช่องแสงเป็นบานเกล็ดไม้แทนช่องฉลุลายและไม่มีกันสาด ผนังชั้นบนเรียบไม่มีเสาฝาผนัง ส่วนชั้นล่างมีชายคาปูนเป็นกันสาดคลุมทางเท้ายาวไปตลอดแนวอาคาร ตึกแถวบริเวณศาลเจ้าพ่อเสือ ลงไปทางทิศใต้จนถึงสี่กั๊กพระยาศรี ตึกแถวบริเวณนี้ก็คล้ายคลึงกับที่ได้กล่าวมาแล้ว มีเพียงช่องหนึ่งที่มีการประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นแปลกออกไป คือตึกแถวช่องนี้จะอยู่เยื้องกับปากทางเข้าถนนแพร่งภูธร เป็นตึกแถว 2 ชั้น จำนวน 6 คูหา หลังคามุมกระเบื้องว่าว ชั้นล่างเปิดเป็นร้านค้าชั้นบนเป็นช่องหน้าต่างไม้แบบกระทุ้ง ช่องกลางติดกระจกผนังถัดจากช่องแสงเป็นปูนปั้นลายใบไม้ หน้าต่างแต่ละช่องมีเสาหลอกสี่เหลี่ยมไม่มีหัวเสาคั่นเป็นระยะ
0
หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

สืบเนื่องจากการที่กรุงเทพมหานครได้รับเลือกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นเมืองหนังสือโลกประจำปี ๒๕๕๖ (World Book Capital 2013) ซึ่งโครงการจัดตั้งหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Library) เป็นหนึ่งใน ๙ พันธกิจที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ตามแผนงานส่งเสริมการอ่านที่ได้เสนอต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) กรุงเทพมหานครจึงมีนโยบายสำคัญที่จะสร้างกรุงเทพมหานครให้เป็น “มหานครแห่งการเรียนรู้” เพื่อเพิ่มแหล่งการเรียนรู้แห่งใหม่ที่รวบรวมองค์ความรู้อันทรงคุณค่า และแหล่งภูมิปัญญา ด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่ทันสมัยครบวงจร ซึ่งเป็นการสร้างวัฒนธรรมการอ่านอย่างยั่งยืนในระยะยาวให้กรุงเทพมหานคร เป็น “มหานครแห่งการเรียนรู้” อย่างแท้จริง


ขอบคุณข้อมูลจาก : thelivinginsight

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร
หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร “หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร” เป็น ๑ ใน ๙ พันธกิจ ของกรุงเทพมหานครที่ได้รับการคัดเลือกจาก องค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็น “เมืองหนังสือโลก ประจำปี ๒๕๕๖” (Bangkok World Book Capital 2013) โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดและนโยบายของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่จะผลักดันให้เมืองหลวงของประเทศไทย เป็น “มหานครแห่งการเรียนรู้” และเพื่อเพิ่มแหล่งการเรียนรู้แห่งใหม่ที่รวบรวมองค์ความรู้อันทรงคุณค่า และแหล่งภูมิปัญญา ด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่ทันสมัยครบวงจร โดยหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Library) จะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมไปถึงความเป็นมาของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
0
วัดสามพระยาวรวิหาร

วัดแห่งนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โดยหลวงวิสุทธิโยธามาตย์ (ตรุษ) ซึ่งในสมัยนั้นเป็นขุนนาง พร้อมกันนี้หลวงวิสุทธิโยธามาตย์ยังอุทิศที่ดินและบ้านเรือนของขุนพรหม (สารท) ผู้เป็นน้องชายให้กับวัดแห่งนี้ด้วย จึงได้มีการตั้งชื่อวัดว่าวัดบางขุนพรหมต่อมาในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ตัววัดมีการชำรุด จึงได้มีการซ่อมแซมบูรณะอีกครั้ง โดยพระยาราชสุภาวดี (ขุนทอง) พระยาราชนิกุล (ทองคำ) และพระยาเทพวรชุน (ทองห่อ) ซึ่งเป็นบุตรของนางพวา น้องสาวคนสุดท้องของหลวงวิสุทธิโยธามาตย์ (ตรุษ) และขุนพรหม (สารท) จากนั้นจึงน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงพระราชทานนามว่าวัดสามพระยา


ขอบคุณข้อมูลจาก : kapook

เดอะสามเสนสตรีท

การพักผ่อนที่สมบูรณ์แบบของคุณรออยู่

พิกัด

เพียง 7-8 นาทีจากถนนข้าวสาร

ไม่กี่นาทีจากบางลําภพ หนึ่งในชุมชนที่เก่าแก่ที่สุดภายในเกาะรัตนโกสินทร์

7-8 นาทีจากถนนพระอาทิตย์ เรียงรายด้วยร้านอาหาร คาเฟ่สุดชิค และคอลเลกชันร้านที่มีเสน่ห์

ไม่กี่นาทีถึงสนามมวยราชดําเนิน

ไม่กี่นาทีถึง China Town


ขอบคุณข้อมูลจาก : Samsen Street Hotel

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เดิมเป็นอาคารโรงพิมพ์ธนบัตรแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาด้วยความสามารถของคนไทย และยังเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความมุ่งมั่นด้านการพัฒนาวิทยาการของประเทศ ภายในโรงพิมพ์ธนบัตรมี ห้องมั่นคง เดิมเก็บรักษาธนบัตรของประเทศ ซึ่งเป็นเขตหวงห้ามเฉพาะ อาคารแห่งนี้จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีอายุกว่า 50 ปี แต่โครงสร้างอาคารยังมีความแข็งแรงและความงดงามทางสถาปัตยกรรม ซึ่งมีความโดดเด่นที่หลังคาคอนกรีตทรงโค้ง ซึ่งเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย


ขอบคุณข้อมูลจาก : museumthailand

วังบางขุนพรหม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
วังบางขุนพรหม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุลบริพัตร และ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดา วังบางขุนพรหมอยู่ในเนื้อที่ 33 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศใต้ของวังเทวะเวสม์ วังบางขุนพรหม มีตำหนักรวม 2 ตำหนัก ได้แก่ ตำหนักใหญ่ และตำหนักสมเด็จ โดยตำหนักใหญ่ ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยการออกแบบของคาร์ล ซันเดรสกี สถาปนิกชาวเยอรมัน แต่ไม่แล้วเสร็จ จึงได้มารีโอ ตามัญโญ สถาปนิกที่มีชื่อเสียงชาวอิตาลี มาดำเนินการออกแบบจนแล้วเสร็จ ส่วนตำหนักสมเด็จ เป็นตำหนักที่เพิ่มเติมติดกับตำหนักใหญ่ ได้รับการออกแบบโดยคาร์ล เดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2454 ภายหลังสร้างแล้วเสร็จได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี จนถึงปี พ.ศ. 2470 จนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 วังแห่งนี้ได้ตกเป็นของรัฐบาล กลายเป็นสถานที่ราชการต่างๆ ทั้ง กรมยุวชนทหารบก สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และตั้งแต่ พ.ศ. 2488 จนถึงปัจจุบัน วังบางขุนพรหม เป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย[3] ภายในวังบางขุนพรหมมี ห้องสีชมพู และห้องสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นห้องที่ได้รับการตกแต่งอย่างหรูหรา วิจิตร และมีชื่อเสียงที่สุด เดิมเป็นห้องรับแขกสำคัญ และบำเพ็ญพระกุศลของวังบางขุนพรหม ปัจจุบันจัดแสดง ภาพเขียน ภาพถ่ายเจ้านายในราชสกุลบริพัตร สิ่งของ เครื่องใช้ในวังบางขุนพรหม เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต[4] ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมตามแบบตะวันตกทั้ง นีโอ-บารอก โรโกโก อาร์นูโว และ อาร์ตเดโค ทำให้วังบางขุนพรหม ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในวังที่สวยที่สุดเมืองไทย[5] และเป็นวังที่สถาปัตยกรรมบารอกและโรโคโค ที่สมบูรณ์ที่สุด
0
วัดสังเวชวิศยาราม

วัดสังเวชวิศยาราม” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไปว่า "วัดสังเวชฯ” เป็นวัดเก่าสำคัญแห่งหนึ่งของย่านบางลำพูที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของชุมชนในย่านนี้และประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสร้างกรุงเทพฯ เดิมเรียกว่า "วัดสามจีน” หรือ "วัดบางลำพู” ตั้งอยู่ริมคลองบางลำพู หรือคูพระนครเดิม ปัจจุบันได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ภายในวัดมีอาคารและสิ่งก่อสร้างสำคัญหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมในพุทธศาสนา เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ หอระฆัง หอไตร เป็นต้น และเป็นสถาปัตยกรรมที่พบได้ทั่วไปในพุทธสถานของไทย ซึ่งเจดีย์ที่พบในวัดแห่งนี้ มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ซึ่งสามารถพบเจดีย์ในลักษณะนี้แห่งเดียวในย่านบางลำพู แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับลักษณะรูปแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงนับว่าเป็นศาสนสถานที่ทรงคุณค่าและควรค่าแก่การดูแลรักษาให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยอีกแห่งหนึ่งของชุมชนในย่านบางลำพู


ขอบคุณข้อมูลจาก : treasury

วัดสังเวชวิศยาราม
วัดสังเวชวิศยาราม "วัดสังเวชวิศยาราม” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไปว่า "วัดสังเวชฯ” เป็นวัดเก่าสำคัญแห่งหนึ่งของย่านบางลำพูที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของชุมชนในย่านนี้และประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสร้างกรุงเทพฯ เดิมเรียกว่า "วัดสามจีน” หรือ "วัดบางลำพู” ตั้งอยู่ริมคลองบางลำพู หรือคูพระนครเดิม ปัจจุบันได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ภายในวัดมีอาคารและสิ่งก่อสร้างสำคัญหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมในพุทธศาสนา เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ หอระฆัง หอไตร เป็นต้น และเป็นสถาปัตยกรรมที่พบได้ทั่วไปในพุทธสถานของไทย ซึ่งเจดีย์ที่พบในวัดแห่งนี้ มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ซึ่งสามารถพบเจดีย์ในลักษณะนี้แห่งเดียวในย่านบางลำพู แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับลักษณะรูปแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงนับว่าเป็นศาสนสถานที่ทรงคุณค่าและควรค่าแก่การดูแลรักษาให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยอีกแห่งหนึ่งของชุมชนในย่านบางลำพู
0
ัวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนจักรพงษ์ ใกล้กับถนนข้าวสาร บางลำพู ที่ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยเป็นวัดเก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อก่อนนั้นจะมีชื่อว่า วัดกลางนา เพราะมีทุ่งนาล้อมรอบนั่นเอง ซึ่งในช่วงสมัยที่มีศึกสงครามนั้น มีการให้ชาวมอญมาตั้งถิ่นฐานใกล้บริเวณวัดกลางนา และให้พระสงฆ์มอญมาอยู่จำพรรษาที่วัดนี้นั่นเองค่ะ ชาวบ้านเลยเรียกวัดนี้เป็นภาษามอญว่า วัดตองปุ ซึ่งหมายถึง วัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ


ขอบคุณข้อมูลจาก : trueid

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์

กรมศิลปากร ได้ริเริ่มโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน ประเภทศิลปะสมัยใหม่ขึ้น ในวาระครบรอบ 100 ปี การพิพิธภัณฑ์ไทย และได้รับมอบอาคารโรงกษาปณ์ จากกรมธนารักษ์ ในปี พ.ศ.2517 เพื่่อจัดตั้งเป็น "หอศิลปแห่งชาติ" มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงผลงานศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์ ของศิลปินผู้ที่มีชื่อเสียงทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมทั้งแบบไทยประเพณีและร่วมสมัย


Facebook : The National Gallery of Thailand

ขอบคุณข้อมูลจาก : museum

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (อังกฤษ: The National Gallery) หรือ หอศิลป์เจ้าฟ้า เป็นหอศิลป์และเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของประเทศไทย ตั้งอยู่ข้างสะพานพระปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารที่เดิมเคยเป็นโรงกษาปณ์ ออกแบบโดยนายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) สถาปนิกชาวอิตาลี วัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวม และจัดแสดงผลงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ ตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับศิลปะไทยประเพณีและร่วมสมัย ภายในจัดแสดงภาพศิลปะไทยจนถึงการถ่ายภาพบุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รวมถึงผลงานร่วมสมัย ศิลปะจัดแสดงที่สำคัญ ได้แก่ พระบฏวัดดอกเงิน รูปแบบศิลปะสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 พบในกรุเจดีย์วัดดอกเงิน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จากการขุดสำรวจแหล่งโบราณคดีพื้นที่น้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนภูมิพลเมื่อ พ.ศ. 2502 พบครั้งแรกในสภาพถูกม้วนกลมใส่ในหม้อดินร่วมกัยพระพุทธรูปและของมีค่าต่าง ๆ[1] ภายในพิพิธภัณฑ์ยังมีแบบร่างปฐมบรมราชานุสรณ์ ผลงานของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี
0
หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา

บ้านเจ้าพระยา อาคารทรงปั้นหยาตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับสวนสันติชัยปราการและป้อพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ ในอดีตเป็นตำหนักในวังของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตธำรงสวัสดิ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว


Facebook : หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา Arts Gallery at Ban Chao Phraya

ขอบคุณข้อมูลจาก : museum

สวนสันติชัยปราการ

สวนสันติชัยปราการ ตั้งอยู่บน ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยเป็นสวนสาธารณะขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ แต่มีวิวอันสวยงดงาม และมีไฮไลท์อยู่ตรงที่มี ป้อมพระสุเมรุ ที่อยู่ในบริเวณสวนนั่นเองค่ะ อีกทั้งยังร่มรื่นมีบรรยากาศแบบอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาเลย ทำให้ที่นี่กลายมาเป็นแหล่งพักผ่อนของชาวพระนครนั่นเอง


ขอบคุณข้อมูลจาก : trueid

กำแพงพระนคร

กำแพงและประตูเมืองหน้าวัดบวรนิเวศวิหารนี้ เป็นส่วนที่เหลืออยู่ของแนวกำแพงเมืองชั้นนอกซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แต่เดิมนั้นแนวกำแพงเมืองชั้นนอกนั้นเริ่มจากปากคลองบางลำพูยาวจรดปากคลองโอ่งอ่าง อันเป็นแนวคูเมืองชั้นกลาง กำแพงและประตูเมืองหน้าวัดบวรนี้มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นกำแพงเมืองเก่าซึ่งเหลืออยู่เป็นอนุสรณ์ของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น


ขอบคุณข้อมูลจาก : rattanakosin

ปาท่องโก๋คาเฟ่

เฮียตั๊ก หรือ คุณฐิติกร โชคะสุต" เจ้าของร้าน "PATONGGO CAFE ปาท่องโก๋เสวย" บางลำพูรุ่นที่ 2 เปิดมานานกว่า 70 ปี ร้านนี้ขึ้นชื่อการนำ ปาท่องโก๋ มามิกซ์เป็นเมนูต่างๆ ที่ไม่คิดว่าจะเข้ากัน แต่ทานแล้วเข้ากันอย่างเหลือเชื่อ


ขอบคุณข้อมูลจาก : sanook

Bite Me Softly

Bite Me Softly เป็นร้านเบเกอรี่และคาเฟ่ชื่อดังในกรุงเทพที่เปิดให้บริการมากว่า 7 ปี โดยในตอนแรกเปิดเป็นร้านขายขนมทางออนไลน์และต่อมาจึงได้เปิดหน้าร้านในตรอกไก่แจ้ บนถนนพระสุเมรุ ก่อนหน้านั้น Bite Me Softly เป็นซัพพลายเออร์อบขนมส่งร้านคาเฟ่และร้านอาหารมากมายในพื้นที่ นอกจากขนมจะรสชาติอร่อยแล้ว ลูกค้ายังประทับใจในความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละเมนูที่ “เชฟเช้า” เจ้าของร้านได้รังสรรค์ขึ้น โดยเชฟเช้าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการทำอาหารและอาหารหวาน เธอมีความตั้งใจที่จะทำเมนูให้อร่อยและมีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร โดยได้แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมอาหารไทยและต่างชาติผสมผสานกัน ส่วนหนึ่งของเมนูพิเศษเฉพาะที่ร้าน Bite Me Softly ได้แก่ หมูกรอบผัดซอสหม่าล่า สตูว์เนื้อใส่เครื่องเทศหม่าล่า และข้าวผัดอเมริกันไชน่าทาวน์ ร้านคาเฟ่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ความพิถีพิถัน และความคิดสร้างสรรค์


Facebook : Bite Me Softly

ขอบคุณข้อมูลจาก : aussiebeefandlamb

คาเฟ่บ้านขนมปังขิง

สัมผัสเสน่ห์เรือนไทย ที่ บ้านขนมปังขิง เสาชิงช้าบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อนเมนูขนมไทยโบราณ หน้าตาสวยงามรสชาติอร่อยถูกใจทั้งสายกินสายถ่ายรูป และสายชิลล์


Facebook : บ้านขนมปังขิง เสาชิงช้า

Freddie Ricecurry เฟรดดี้ ข้าวแกงกะหรี่ สาขาป้อมพระสุเมรุ

Freddie Ricecurry สาขาป้อมพระสุเมรุ จุดเด่นที่นี่คือการเอาข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่นมาผสมผสานกับท็อปปิ้งไทยๆ ของเรา โดยมีความเผ็ดเลือกได้ 5 ระดับ รับประกันความฟินของคนรักรสจัดจ้าน คนรักหมูทอดทงคัตสึขอแนะนำเมนู "ข้าวแกงกะหรี่หมูทงคัตสึ 149 บาทใครชอบเผ็ดมากเผ็ดน้อยสามารถเลือกระดับความเผ็ด 0-5 ได้ตามความชอบใจ


ขอบคุณข้อมูลจาก : ryoiireview

Konnichipan Bakery

Konnichipan Bakery เป็นร้านเล็กๆาคาไม่แพง เจ้าของเค้าเป็นคนญีปุ่่นมีเมนูหลากหลาย คุ้มค่าเกินราคามากๆ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Konnichipan Bakery

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

บางลำพู Guidebook เดินเมือง

เดินท่องบางลำพู ย่านที่มีเสน่ห์ทั้งแหล่งการค้า และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เรียนรู้อดีตจากสถานที่ที่มีความเพลิดเพลินเดินเข้าตามตรอก ออกตามซอยไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ บางลำพูยังโดดเด่นในเรื่องอาหารการกิน ทั้งสตรีทฟู้ดเดินกิน หรือตลาดเก่าที่มีของกินอร่อยมากมาย ทานอาหารขึ้นชื่อคลายร้อนแล้ว ยังมีเวิร์กชอปงานฝีมือท้องถิ่นให้แวะชมแวะทำกันด้วย ไปดูกันเลยว่าย่านนี้มีอะไรบ้าง