BKK Jerlant

25 Mar 2024 14:57:02
10 อย่างที่ต้องทำเมื่อไปเที่ยวกรุงเทพฯ
0
กำลังได้รับความสนใจ
สถานที่น่าสนใจ 10 แห่ง

แผนที่

สยามพารากอน
สยามพารากอน ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่มีร้านบูติกระดับไฮเอนด์และชื่อดัง ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ โบว์ลิ่ง และมัลติเพล็กซ์ สยามพารากอน (Siam Paragon) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมในพื้นที่ย่านสยาม ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร บริหารงานโดย บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ร่วมกับกลุ่มเดอะมอลล์ ในนาม บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และ บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด โครงการประกอบด้วยศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารชุดเพื่อการพักอาศัย โดยเป็นหนึ่งในศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม ถือเป็นศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในย่านสยาม และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย รองจากเซ็นทรัลเวิลด์ ไอคอนสยาม และเซ็นทรัล เวสต์เกต เน้นความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง, กลุ่มนักท่องเที่ยว, กลุ่มลูกค้าต่างชาติ และกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนในศูนย์การค้าเดียว อีกทั้งยังเป็นศูนย์การค้าที่เป็นคู่แข่งกับเซ็นทรัลเวิลด์ในย่านราชประสงค์โดยตรง เนื่องจากอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยมีวัดปทุมวนารามราชวรวิหารคั่นกลาง สยามพารากอนมีลูกค้าชาวไทยประมาณ 60% และชาวต่างชาติ 40%[1] เป็นสถานที่ที่มีผู้แชร์ภาพผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2556[2] และจากข้อมูลในปี พ.ศ. 2560 มีผู้มาเยี่ยมเยือนศูนย์การค้าเฉลี่ย 80,000–200,000 คน/วัน[3] นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนอันดับ 1 คือ จีน รองลงมา คือ ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย และมาเลเซีย ตามลำดับ[4] จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2554 สยามพารากอนใช้ไฟฟ้าราว 123 ล้านหน่วยต่อปี ซึ่งถือว่ามากกว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งมีประชากรราว 2.5 แสนคนและใช้ไฟฟ้า 65 ล้านหน่วย
0
เยาวราช (ไชน่าทาวน์)
เยาวราช (ไชน่าทาวน์) ไชนาทาวน์ในกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในไชนาทาวน์หรือชุมชนจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 ไชนาทาวน์ในกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในไชนาทาวน์หรือชุมชนจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 พร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ชาวจีนอพยพที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวแต้จิ๋ว โดยเมื่อมีการสร้างพระบรมมหาราชวัง พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนที่เดิมอยู่รอบ ๆ ย้ายไปยังสำเพ็ง ก่อให้เกิดเป็นชุมชนจีนเกิดขึ้นที่นี่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการตัดถนนเยาวราชขึ้นในปี พ.ศ. 2435 จึงทำให้ถนนเยาวราชเป็นย่านหลักของชุมชนจีน[1] และกลายเป็นเขตการค้าหลักของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นย่านสีแดงแหล่งค้าฝิ่น โรงละคร ไนต์คลับ และบ่อนการพนัน[2] เดิมบริเวณนี้เป็นกำแพงพระบรมมหาราชวังรอบนอก ซึ่งอยู่เลยอาณาเขตเกาะรัตนโกสินทร์ และกลายเป็นศูนย์กลางการค้าของกรุงเทพมหานครในช่วงปลาย พ.ศ. 2344 ถึงต้น พ.ศ. 2443 ตั้งแต่นั้นมา ไชนาทาวน์จึงมีความโดดเด่นขึ้นมา ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมจีนโดยมีร้านค้าจำนวนมากที่ขายสินค้าแบบดั้งเดิม ปัจจุบันไชนาทาวน์ในกรุงเทพมหานครและย่านต่าง ๆ ใกล้เคียง คือ ตลาดน้อย, คลองถม และเวิ้งนาครเกษม ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ ตลอดความยาวของถนนเจริญกรุง ปัจจุบันความเจริญสมัยใหม่ได้เข้ามาสู่ไชนาทาวน์ของกรุงเทพมหานคร จากการเปิดของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งมีสถานีวัดมังกรอยู่บริเวณนั้น เป็นที่น่ากังวลเกี่ยวกับชุมชนเก่าแก่ที่จะได้รับผลกระทบหลังจากความเจริญเหล่านี้เข้ามาแทนที่[3] อาณาบริเวณ ถนนเยาวราช : ถนนสายหลักของไชนาทาวน์ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนโอเดียนแยกกับถนนเจริญกรุง วงเวียนโอเดียน : วงเวียนที่เป็นจุดเริ่มต้นของถนนเยาวราช เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ ปัจจุบันมีซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติซึ่งมีอักษรจารึกทั้งภาษาไทยและภาษาจีนใน 2 ด้าน สร้างเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 สำเพ็ง : หรือในชื่ออย่างเป็นทางการว่า ซอยวานิช 1 ชุมชนดั้งเดิมของไชนาทาวน์ เป็นแหล่งการค้าที่คึกคักทั้งเวลากลางวันและกลางคืน โดยมากจะเป็นเครื่องประดับ ของขวัญ ของจุกจิก หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ชุมชนเจริญไชย : ชุมชนเก่าแก่ในย่านไชนาทาวน์ อยู่ในซอยเจริญกรุง 23 เป็นแหล่งจำหน่ายกระดาษเงินกระดาษทองและเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ รวมถึงชุดแต่งงานในแบบประเพณีจีนดั้งเดิมและเทศกาลไหว้พระจันทร์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านเก่าเล่าเรื่อง พิพิธภัณฑ์ที่เป็นศูนย์ข้อมูลของชาวจีนในประเทศไทย แต่เป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบการสร้างสถานีรถไฟฟ้า[3][4] ตลาดน้อย : ย่านเก่าแก่ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไชนาทาวน์ เป็นที่ตั้งของอาคารประวัติศาสตร์หลายแห่ง เช่น โบสถ์กาลหว่าร์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย เป็นต้น ถนนทรงวาด : ถนนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของท่าเรือบรรทุกสินค้าจำนวนมาก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารเก่าแก่ที่ทรงคุณค่ามากมาย และยังมีศิลปะบนผนัง ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินชาวตะวันตกอีกด้วย
0
คลองบางกอกใหญ่
คลองบางกอกใหญ่ คลองบางกอกใหญ่ หรือชื่อในอดีตว่า คลองบางหลวง เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือแม่น้ำเจ้าพระยาสายหลักตามธรรมชาติมาก่อน กล่าวคือ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาสายปัจจุบันตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบันนั้นในอดีตเคยเป็นแผ่นดิน และแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้างวัดท้ายตลาด ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 - 2089) โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสอง[1] ในบริเวณดังกล่าว เพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อกระแสน้ำส่วนใหญ่เปลี่ยนทิศทางมาไหลผ่านคลองขุดใหม่ คลองลัดนี้ก็ค่อยๆ กว้างใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เริ่มเล็กลงจนกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง และโปรดเกล้าให้บรรดาชาวจีนซึ่งได้เคยช่วยเหลือพระองค์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คนจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" สืบมาถึงในปัจจุบัน[2] รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปากคลองบางกอกใหญ่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ [3] มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร[4] คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้นถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ และด้วยความที่เคยเป็นลำน้ำเจ้าพระยาสายเดิมมาก่อนในอดีตตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี จึงมีสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ตั้งริมสองฝั่งมากมาย ทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างมากจนถึงปัจจุบัน มีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่ง วัดและมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ได้แก่ วัดโมลีโลกยาราม วัดหงส์รัตนาราม วัดโบสถ์อินทรสารเพชร วัดสังข์กระจาย วัดประดิษฐาราม วัดเวฬุราชิณ วัดอินทารามวรวิหาร วัดจันทาราม วัดราชคฤห์ วัดประดู่ฉิมพลี วัดนวลนรดิศ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ วัดคูหาสวรรค์ วัดกัลยาณมิตร วัดวิจิตรการนิมิตร มัสยิดบางหลวง (กุฎีขาว) มัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่) กุฎีเจริญพาศน์ (กุฎีกลาง, กุฎีล่าง)
0
ทัวร์ปั่นจักรยานกลางคืนในกรุงเทพฯ
ทัวร์ปั่นจักรยานกลางคืนในกรุงเทพฯ ออกไปทัวร์ปั่นจักรยานยามเย็นชมกรุงเทพฯ ที่มีชีวิตชีวาและชมชีวิตยามค่ำคืน! เส้นทางของคุณจะครอบคลุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามด้วยการนั่งเรือเฟอร์รี่ท้องถิ่นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะนำคุณไปสู่ถนนสายรองอันเงียบสงบสู่วัดอรุณ เพลิดเพลินกับบรรยากาศอันเงียบสงบของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ก่อนที่จะนั่งรถต่อไปตามทางเดินริมแม่น้ำ ผ่านวัดและโบสถ์ที่มีเสน่ห์หลายแห่ง หลังจากข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้ง คุณจะได้สำรวจตลาดดอกไม้ที่คึกคักซึ่งคึกคักที่สุดในตอนกลางคืน จากนั้น คุณจะได้ปั่นจักรยานไปยังวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นอีกวัดที่ประดับไฟอย่างสวยงาม และชมสถูปฝังพระศพทั้งสี่ของกษัตริย์สี่องค์แรกของอาณาจักรกรุงเทพฯ สุดท้ายขี่ผ่านพระบรมมหาราชวังเพื่อมุ่งหน้าไปยังสวนสาธารณะสนามหลวงเพื่อชมตลาดยามเย็นที่สวยงามก่อนปิดท้ายทัวร์
0
นานา สุขุมวิท
นานา สุขุมวิท นานาเป็นชื่อย่านและทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กับแขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา โดยแยกนานาเป็นสี่แยกที่เป็นจุดตัดกันระหว่างถนนสุขุมวิท กับซอยสุขุมวิท 4 (ซอยนานาใต้) และซอยสุขุมวิท 3 (ซอยนานาเหนือ) ชื่อ "นานา" มาจากนามสกุลของนายเล็ก นานา อดีตนักการเมืองและนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมากในกรุงเทพมหานคร จนได้รับฉายาว่า "ราชาที่ดินกรุงเทพฯ" ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มธุรกิจในย่านนี้ โดยมีสถานที่สำคัญใกล้เคียง คือ สถานีรถไฟฟ้านานา ตั้งอยู่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 7 ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร และนานาพลาซ่า ศูนย์การค้าสำคัญของย่านนี้ ซึ่งอยู่ในซอยสุขุมวิท 4 บริเวณรอบ ๆ แยกนานา รวมถึงในซอยสุขุมวิท 3 และ 4 เป็นแหล่งที่เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของความเป็นย่านโคมแดง เช่นเดียวกับ ย่านพัฒน์พงศ์, ธนิยะ หรือซอยคาวบอย อันเป็นแหล่งรวมสถานบันเทิงยามค่ำคืนจำนวนมาก ทั้ง ผับ, บาร์, ดิสโก้เทค (รวมถึงมีการขายบริการทางเพศด้วย) เป็นที่รู้จักกันดีของชาวต่างประเทศ รวมถึงยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างประเทศจำนวนมาก ในหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา ถือว่าเป็นย่านที่มีการพัฒนาและความเจริญ มีอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่สร้างขึ้นอยู่ข้างเคียง แต่เดิมบริเวณย่านนานาเรียกว่า ทุ่งบางกะปิ ภายหลังมีกลุ่มผู้มีรายได้สูง เจ้านายในพระราชวงศ์ ข้าราชการระดับสูงและคหบดี มาซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เมื่อมีการตัดถนนสุขุมวิทเมื่อ พ.ศ. 2479 เมื่อเริ่มก่อสร้างเป็นถนนหินใส่ฝุ่น การจัดสรรที่ดินในบริเวณนี้เริ่มแรกโดยนายเอ อี นานา ได้ซื้อที่ดินแถบนี้ไว้มาก ได้เริ่มจัดสรรที่ดินของตนเป็นบริษัทแรกเป็นที่ดินซอยนานาแยกเข้าไปทั้งสองฟากของถนนสุขุมวิทในปัจจุบัน ต่อมามีเจ้าของที่ดินอื่น ๆ เริ่มเข้ามาพัฒนาด้วยเช่นกัน ต่อมาเมื่อตัดถนนเพชรบุรีเมื่อ พ.ศ. 2503 ในช่วงปี พ.ศ. 2510 มีการสร้างสะพานข้ามคลองแสนเสบเพื่อเชื่อมถนนเพชรบุรีกับถนนสุขุมวิท ในช่วงสงครามเวียดนามเกิดสถานบริการและสถานบันเทิงระหว่างซอยนานาจนถึงแยกอโศก รวมถึงเกิดโรงแรมเพื่อรองรับชาวต่างชาติ โรงแรมที่มีชื่อเสียงเช่น โรงแรมแลนด์มาร์ก
0

Your STAMM Book

มาสะสม STAMM เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวดีๆ ระหว่างทางกัน

วัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)

สยามพารากอน

ตลาดน้ำคลองลัดมะยม

เยาวราช (ไชน่าทาวน์)

คลองบางกอกใหญ่

ตลาดนัดจตุจักร

ทัวร์ปั่นจักรยานกลางคืนในกรุงเทพฯ

นานา สุขุมวิท

พิพิธภัณฑ์บ้าน จิม ทอมป์สัน

สำหรับคนที่เพิ่งจะมาเที่ยวกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เราขอแนะนำ 10 อย่างที่ต้องทำเมื่อเที่ยวกรุงเทพ เพื่อที่คุณจะได้ประสบการณ์สนุก ๆ และยืดอกเล่าให้ใคร ๆ ฟังได้ว่า คุณถึงกรุงเทพฯ แล้วจริง ๆ

1. ไปชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว

อย่าบอกใครว่าคุณเคยมากรุงเทพฯ แล้ว ถ้ายังไม่ได้ชมความงดงามของพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นสุดยอดของงานศิลปะรัตนโกสินทร์ แนะนำให้ไปแต่เช้าคุณจะได้ไม่ร้อนและไม่ต้องเบียดเสียดกับนักท่องเที่ยวอีกมาก

2. ข้ามไปวัดอรุณราชวราราม

ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้วคุณจะเห็นพระปรางค์วัดอรุณฯ เด่นเป็นสง่า งดงามด้วยองค์พระปรางค์สไตล์ขอม ตกแต่งกระเบื้องเคลือบวิจิตรงดงาม นี่คือแลนด์มาร์คสำคัญของการท่องเที่ยวไทย รวมวัดอรุณฯ เข้ากับทัวร์พระบรมมหาราชวังได้เลย

3. จงช้อปปิ้งที่สยามพารากอน

เพราะนี่คือเมืองหลวงของการช้อปปิ้ง สยามพารากอนจึงต้อนรับคุณด้วยความหรูหราและขนาดของพื้นที่ที่คุณต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งวันถึงจะเดินทั่ว เตรียมพบกับร้านหรูหราของดีไซเนอร์ชื่อดัง โชว์รูมรถซุปเปอร์คาร์ ร้านอาหารและกิจกรรมความบันเทิงสำหรับครอบครัว

สยามพารากอน
สยามพารากอน ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่มีร้านบูติกระดับไฮเอนด์และชื่อดัง ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ โบว์ลิ่ง และมัลติเพล็กซ์ สยามพารากอน (Siam Paragon) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมในพื้นที่ย่านสยาม ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร บริหารงานโดย บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ร่วมกับกลุ่มเดอะมอลล์ ในนาม บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และ บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด โครงการประกอบด้วยศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารชุดเพื่อการพักอาศัย โดยเป็นหนึ่งในศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม ถือเป็นศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในย่านสยาม และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย รองจากเซ็นทรัลเวิลด์ ไอคอนสยาม และเซ็นทรัล เวสต์เกต เน้นความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง, กลุ่มนักท่องเที่ยว, กลุ่มลูกค้าต่างชาติ และกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนในศูนย์การค้าเดียว อีกทั้งยังเป็นศูนย์การค้าที่เป็นคู่แข่งกับเซ็นทรัลเวิลด์ในย่านราชประสงค์โดยตรง เนื่องจากอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยมีวัดปทุมวนารามราชวรวิหารคั่นกลาง สยามพารากอนมีลูกค้าชาวไทยประมาณ 60% และชาวต่างชาติ 40%[1] เป็นสถานที่ที่มีผู้แชร์ภาพผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2556[2] และจากข้อมูลในปี พ.ศ. 2560 มีผู้มาเยี่ยมเยือนศูนย์การค้าเฉลี่ย 80,000–200,000 คน/วัน[3] นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนอันดับ 1 คือ จีน รองลงมา คือ ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย และมาเลเซีย ตามลำดับ[4] จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2554 สยามพารากอนใช้ไฟฟ้าราว 123 ล้านหน่วยต่อปี ซึ่งถือว่ามากกว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งมีประชากรราว 2.5 แสนคนและใช้ไฟฟ้า 65 ล้านหน่วย
0
4. ย้อนเวลาที่ตลาดน้ำ

ย้อนเวลากกลับไปหามนต์เสน่ห์ของตลาดแบบไทย ๆ คุณอาจจะต้องเมื่อยกับการถ่ายภาพและชิมอาหารไทยสักหน่อย เพราะตลาดน้ำมักมีบรรยากาศท้องถิ่นและอาหารอร่อย ๆ สูตรชาวบ้านแท้ ๆ ชิมกันไม่ไหวเลยทีเดียว ใกล้ ๆ แบบไปเช้าเย็นกลับก็ตลาดน้ำคลองลัดมะยมนี่ไง

5. ทัวร์เยาวราช

ย่านไชน่าทาวน์ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุด (นอกจากเมืองจีนแล้วล่ะ) เยาวราชเต็มไปด้วยสีสันและความน่าพิศวง เป็นย่านการค้าที่คึกคัก เวลากลางวันเต็มไปด้วยร้านทอง ตลาดเก่าขายสมุนไพรและของแบบจีน ๆ ทุกชนิด หรือไปตอนกลางคืนถ้าคุณอยากจะเข้าถึงอาหารริมทางแบบจุใจ

เยาวราช (ไชน่าทาวน์)
เยาวราช (ไชน่าทาวน์) ไชนาทาวน์ในกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในไชนาทาวน์หรือชุมชนจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 ไชนาทาวน์ในกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในไชนาทาวน์หรือชุมชนจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 พร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ชาวจีนอพยพที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวแต้จิ๋ว โดยเมื่อมีการสร้างพระบรมมหาราชวัง พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนที่เดิมอยู่รอบ ๆ ย้ายไปยังสำเพ็ง ก่อให้เกิดเป็นชุมชนจีนเกิดขึ้นที่นี่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการตัดถนนเยาวราชขึ้นในปี พ.ศ. 2435 จึงทำให้ถนนเยาวราชเป็นย่านหลักของชุมชนจีน[1] และกลายเป็นเขตการค้าหลักของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นย่านสีแดงแหล่งค้าฝิ่น โรงละคร ไนต์คลับ และบ่อนการพนัน[2] เดิมบริเวณนี้เป็นกำแพงพระบรมมหาราชวังรอบนอก ซึ่งอยู่เลยอาณาเขตเกาะรัตนโกสินทร์ และกลายเป็นศูนย์กลางการค้าของกรุงเทพมหานครในช่วงปลาย พ.ศ. 2344 ถึงต้น พ.ศ. 2443 ตั้งแต่นั้นมา ไชนาทาวน์จึงมีความโดดเด่นขึ้นมา ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมจีนโดยมีร้านค้าจำนวนมากที่ขายสินค้าแบบดั้งเดิม ปัจจุบันไชนาทาวน์ในกรุงเทพมหานครและย่านต่าง ๆ ใกล้เคียง คือ ตลาดน้อย, คลองถม และเวิ้งนาครเกษม ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ ตลอดความยาวของถนนเจริญกรุง ปัจจุบันความเจริญสมัยใหม่ได้เข้ามาสู่ไชนาทาวน์ของกรุงเทพมหานคร จากการเปิดของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งมีสถานีวัดมังกรอยู่บริเวณนั้น เป็นที่น่ากังวลเกี่ยวกับชุมชนเก่าแก่ที่จะได้รับผลกระทบหลังจากความเจริญเหล่านี้เข้ามาแทนที่[3] อาณาบริเวณ ถนนเยาวราช : ถนนสายหลักของไชนาทาวน์ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนโอเดียนแยกกับถนนเจริญกรุง วงเวียนโอเดียน : วงเวียนที่เป็นจุดเริ่มต้นของถนนเยาวราช เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ ปัจจุบันมีซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติซึ่งมีอักษรจารึกทั้งภาษาไทยและภาษาจีนใน 2 ด้าน สร้างเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 สำเพ็ง : หรือในชื่ออย่างเป็นทางการว่า ซอยวานิช 1 ชุมชนดั้งเดิมของไชนาทาวน์ เป็นแหล่งการค้าที่คึกคักทั้งเวลากลางวันและกลางคืน โดยมากจะเป็นเครื่องประดับ ของขวัญ ของจุกจิก หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ชุมชนเจริญไชย : ชุมชนเก่าแก่ในย่านไชนาทาวน์ อยู่ในซอยเจริญกรุง 23 เป็นแหล่งจำหน่ายกระดาษเงินกระดาษทองและเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ รวมถึงชุดแต่งงานในแบบประเพณีจีนดั้งเดิมและเทศกาลไหว้พระจันทร์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านเก่าเล่าเรื่อง พิพิธภัณฑ์ที่เป็นศูนย์ข้อมูลของชาวจีนในประเทศไทย แต่เป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบการสร้างสถานีรถไฟฟ้า[3][4] ตลาดน้อย : ย่านเก่าแก่ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไชนาทาวน์ เป็นที่ตั้งของอาคารประวัติศาสตร์หลายแห่ง เช่น โบสถ์กาลหว่าร์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย เป็นต้น ถนนทรงวาด : ถนนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของท่าเรือบรรทุกสินค้าจำนวนมาก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารเก่าแก่ที่ทรงคุณค่ามากมาย และยังมีศิลปะบนผนัง ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินชาวตะวันตกอีกด้วย
0
6. ล่องเรือชมเจ้าพระยาและคลอง

ด้วยชื่อ เวนิสตะวันออก คุณก็ควรนั่งเรือชมความงามของวัตนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำลำคลองในกรุงเทพฯ ง่ายและถูกเหลือเชื่อเมื่อใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยา ซึ่งมีเรือนำเที่ยว โดยเฉพาะเส้นทางคลองบางหลวง คลองบางกอกใหญ่

คลองบางกอกใหญ่
คลองบางกอกใหญ่ คลองบางกอกใหญ่ หรือชื่อในอดีตว่า คลองบางหลวง เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือแม่น้ำเจ้าพระยาสายหลักตามธรรมชาติมาก่อน กล่าวคือ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาสายปัจจุบันตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบันนั้นในอดีตเคยเป็นแผ่นดิน และแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้างวัดท้ายตลาด ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 - 2089) โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสอง[1] ในบริเวณดังกล่าว เพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อกระแสน้ำส่วนใหญ่เปลี่ยนทิศทางมาไหลผ่านคลองขุดใหม่ คลองลัดนี้ก็ค่อยๆ กว้างใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เริ่มเล็กลงจนกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง และโปรดเกล้าให้บรรดาชาวจีนซึ่งได้เคยช่วยเหลือพระองค์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คนจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" สืบมาถึงในปัจจุบัน[2] รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปากคลองบางกอกใหญ่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ [3] มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร[4] คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้นถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ และด้วยความที่เคยเป็นลำน้ำเจ้าพระยาสายเดิมมาก่อนในอดีตตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี จึงมีสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ตั้งริมสองฝั่งมากมาย ทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างมากจนถึงปัจจุบัน มีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่ง วัดและมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ได้แก่ วัดโมลีโลกยาราม วัดหงส์รัตนาราม วัดโบสถ์อินทรสารเพชร วัดสังข์กระจาย วัดประดิษฐาราม วัดเวฬุราชิณ วัดอินทารามวรวิหาร วัดจันทาราม วัดราชคฤห์ วัดประดู่ฉิมพลี วัดนวลนรดิศ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ วัดคูหาสวรรค์ วัดกัลยาณมิตร วัดวิจิตรการนิมิตร มัสยิดบางหลวง (กุฎีขาว) มัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่) กุฎีเจริญพาศน์ (กุฎีกลาง, กุฎีล่าง)
0
7. ตามล่าของถูกที่ตลาดสวนจตุจักร

ช้อปจนหมดแรง (หรือจนกว่าคุณจะหลง) ที่ตลาดนัดวันอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จตุจักรเป็นสวรรค์ของคนชอบของเก่า งานศิลป์ ของแต่งบ้าน จัดสวนและสัตว์เลี้ยง (และของมือสอง) และยังมีอาหารอร่อย ๆ อีกเป็นร้อยร้าน เตรียมใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ และรองเท้าที่ทำให้คุณเดินได้ทั้งวันมาด้วยล่ะ

8. ปั่นจักรยานเที่ยว

ปั่นเจ้าสองล้อเที่ยวกรุงเทพฯ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น แต่ทำให้คุณได้เห็นสิ่งที่ต่างจากนักท่องเที่ยวคนอื่น ๆ เล่ามา ทั้งซอยที่เล็กที่สุดในพระนครหรือออกไปนอกเมืองอย่างบางกระเจ้า แล้วหยุดพักทานอาหารที่ร้านแบบคนพื้นที่เค้าทานกัน ทั้งนี้ลองติดต่อผู้จัดทัวร์จักรยานมืออาชีพดู คุณจะได้ทั้งความสนุก สาระและความปลอดภัยตลอดทริป

ทัวร์ปั่นจักรยานกลางคืนในกรุงเทพฯ
ทัวร์ปั่นจักรยานกลางคืนในกรุงเทพฯ ออกไปทัวร์ปั่นจักรยานยามเย็นชมกรุงเทพฯ ที่มีชีวิตชีวาและชมชีวิตยามค่ำคืน! เส้นทางของคุณจะครอบคลุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามด้วยการนั่งเรือเฟอร์รี่ท้องถิ่นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะนำคุณไปสู่ถนนสายรองอันเงียบสงบสู่วัดอรุณ เพลิดเพลินกับบรรยากาศอันเงียบสงบของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ก่อนที่จะนั่งรถต่อไปตามทางเดินริมแม่น้ำ ผ่านวัดและโบสถ์ที่มีเสน่ห์หลายแห่ง หลังจากข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้ง คุณจะได้สำรวจตลาดดอกไม้ที่คึกคักซึ่งคึกคักที่สุดในตอนกลางคืน จากนั้น คุณจะได้ปั่นจักรยานไปยังวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นอีกวัดที่ประดับไฟอย่างสวยงาม และชมสถูปฝังพระศพทั้งสี่ของกษัตริย์สี่องค์แรกของอาณาจักรกรุงเทพฯ สุดท้ายขี่ผ่านพระบรมมหาราชวังเพื่อมุ่งหน้าไปยังสวนสาธารณะสนามหลวงเพื่อชมตลาดยามเย็นที่สวยงามก่อนปิดท้ายทัวร์
0
9. แฮงเอาท์ที่สุขุมวิท

ถนนสุขุมวิทอยู่ถัดจากโรงแรมไปไม่กี่ก้าวเดิน เต็มไปด้วยความบันเทิงยามค่ำคืน ผับ เบียร์การ์เด้น บาร์และสปอร์ตบาร์จะกระจุกกันอยู่แถว ๆ ซอย 4 ถึง ซอย 11 ในขณที่ร้านนั่งชิลล์ คลับแดนซ์ และแหล่งแฮงค์เอาท์หลังเลิกงานจะอยู่แถว ๆ ซอยทองหล่อและเอกมัย

นานา สุขุมวิท
นานา สุขุมวิท นานาเป็นชื่อย่านและทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กับแขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา โดยแยกนานาเป็นสี่แยกที่เป็นจุดตัดกันระหว่างถนนสุขุมวิท กับซอยสุขุมวิท 4 (ซอยนานาใต้) และซอยสุขุมวิท 3 (ซอยนานาเหนือ) ชื่อ "นานา" มาจากนามสกุลของนายเล็ก นานา อดีตนักการเมืองและนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมากในกรุงเทพมหานคร จนได้รับฉายาว่า "ราชาที่ดินกรุงเทพฯ" ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มธุรกิจในย่านนี้ โดยมีสถานที่สำคัญใกล้เคียง คือ สถานีรถไฟฟ้านานา ตั้งอยู่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 7 ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร และนานาพลาซ่า ศูนย์การค้าสำคัญของย่านนี้ ซึ่งอยู่ในซอยสุขุมวิท 4 บริเวณรอบ ๆ แยกนานา รวมถึงในซอยสุขุมวิท 3 และ 4 เป็นแหล่งที่เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของความเป็นย่านโคมแดง เช่นเดียวกับ ย่านพัฒน์พงศ์, ธนิยะ หรือซอยคาวบอย อันเป็นแหล่งรวมสถานบันเทิงยามค่ำคืนจำนวนมาก ทั้ง ผับ, บาร์, ดิสโก้เทค (รวมถึงมีการขายบริการทางเพศด้วย) เป็นที่รู้จักกันดีของชาวต่างประเทศ รวมถึงยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างประเทศจำนวนมาก ในหลากหลายเชื้อชาติและศาสนา ถือว่าเป็นย่านที่มีการพัฒนาและความเจริญ มีอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่สร้างขึ้นอยู่ข้างเคียง แต่เดิมบริเวณย่านนานาเรียกว่า ทุ่งบางกะปิ ภายหลังมีกลุ่มผู้มีรายได้สูง เจ้านายในพระราชวงศ์ ข้าราชการระดับสูงและคหบดี มาซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เมื่อมีการตัดถนนสุขุมวิทเมื่อ พ.ศ. 2479 เมื่อเริ่มก่อสร้างเป็นถนนหินใส่ฝุ่น การจัดสรรที่ดินในบริเวณนี้เริ่มแรกโดยนายเอ อี นานา ได้ซื้อที่ดินแถบนี้ไว้มาก ได้เริ่มจัดสรรที่ดินของตนเป็นบริษัทแรกเป็นที่ดินซอยนานาแยกเข้าไปทั้งสองฟากของถนนสุขุมวิทในปัจจุบัน ต่อมามีเจ้าของที่ดินอื่น ๆ เริ่มเข้ามาพัฒนาด้วยเช่นกัน ต่อมาเมื่อตัดถนนเพชรบุรีเมื่อ พ.ศ. 2503 ในช่วงปี พ.ศ. 2510 มีการสร้างสะพานข้ามคลองแสนเสบเพื่อเชื่อมถนนเพชรบุรีกับถนนสุขุมวิท ในช่วงสงครามเวียดนามเกิดสถานบริการและสถานบันเทิงระหว่างซอยนานาจนถึงแยกอโศก รวมถึงเกิดโรงแรมเพื่อรองรับชาวต่างชาติ โรงแรมที่มีชื่อเสียงเช่น โรงแรมแลนด์มาร์ก
0
10. เปิดตำนานที่บ้านไทย จิม ทอมป์สัน

ชมเรื่องราวชีวิตของจิม ทอมป์สัน ชาวอเมริกันผู้พลิกตำนานไหมไทยให้กลับมีชีวิตอีกครั้ง ผ่านบ้านพักส่วนตัวและคอลเล็คชั่นงานศิลปะสะสมจำนวนมากของเขา บ้านไทยจิม ทอมป์สันนี้เป็นเรือนไทยแท้รายล้อมด้วยสวนเมืองร้อนที่งดงาม ที่สำคัญอยู่กลางใจเมือง ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาตินี่เอง

ขอบคุณข้อมูลจาก www.novotelbangkokploenchit.com

พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

BKK Jerlant

25 Mar 2024 14:57:02

10 อย่างที่ต้องทำเมื่อไปเที่ยวกรุงเทพฯ

สำหรับคนที่เพิ่งจะมาเที่ยวกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เราขอแนะนำ 10 อย่างที่ต้องทำเมื่อเที่ยวกรุงเทพ เพื่อที่คุณจะได้ประสบการณ์สนุก ๆ และยืดอกเล่าให้ใคร ๆ ฟังได้ว่า คุณถึงกรุงเทพฯ แล้วจริง ๆ